กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ความเครียด อีกสาเหตุของโรคภูมิแพ้ที่หลายคนไม่ทราบ

รู้หรือไม่ เครียดเกินไปก็ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 16 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความเครียด อีกสาเหตุของโรคภูมิแพ้ที่หลายคนไม่ทราบ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การหมกมุ่นและไม่สามารถปล่อยวางจากความเครียดได้คือ ตัวการสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่องจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ 
  • ความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้สารฮีสทามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในร่างกายเพิ่มปริมาณมากขึ้นในกระแสเลือด จนทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นได้
  • การแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมระหว่างเวลางานกับเวลาพักผ่อนคือ หัวใจหลักที่จะช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี
  • การไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีคลายเครียดและระบายความกดดันที่เกิดขึ้นในใจ สามารถช่วยให้สภาวะจิตใจดีขึ้น ความเครียด ความกดดันลดน้อยลง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะเครียด

เมื่อพูดถึงโรคภูมิแพ้ สาเหตุที่หลายคนนึกถึงก็คงไม่พ้นฝุ่น ละอองสารเคมีขนาดจิ๋วที่ตาเรามองไม่เห็น นม อาหารทะเล ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ ฯลฯ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน 

พฤติกรรมจากความเครียดที่นำไปสู่การเกิดโรคภูมิแพ้

ด้วยยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การแข่งขัน การแสวงหาความสำเร็จ และความสะดวกสบายให้กับชีวิต ทำให้หลายๆ คนมีวิถีการดำเนินชีวิตในแบบที่ผิดๆ และสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ดื่มสุรา และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ อยู่เป็นประจำ
  • สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • ทำงานดึกดื่น หรือโต้รุ่ง จนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด หรือเต็มไปด้วยสารก่อภูมิแพ้ เช่น ในชุมชนแออัด ไซต์งานก่อสร้าง โดยสารรถเมล์หรือพาหนะที่ต้องเบียดเสียดกับผู้คนจนเสี่ยงติดเชื้อโรค
  • ไม่ดูแลความสะอาดของร่างกายให้ดีพอรวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว
  • ไม่มีเวลาทำความสะอาดที่พักอาศัย สถานที่ศึกษา สถานที่ทำงาน 
  • วิตกกังวลกับงานมากเกินไป ไม่ยอมปล่อยวางความเครียด
  • ไม่แบ่งเวลาคลายเครียด หรือเวลาพักผ่อนให้กับตนเองบ้าง
  • ปลีกตัว ไม่เข้าสังคม และไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจนอาจเกิดภาวะซึมเศร้า
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารฟาสต์ฟู๊ด หรือรับประทานอาหารเมนูเดิมซ้ำๆ 
  • ติดรสหวาน ชอบรับประทานอาหาร เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากๆ

กลไกจากความเครียดที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

คุณอาจยังสงสัยว่า แล้วความเครียดส่งผลทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้อย่างไร เพราะจากพฤติกรรมด้านบน ผลกระทบที่ตามมาควรจะเป็นการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆมากกว่า เช่น โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน โรคไข้หวัด โรคมะเร็งตับ โรคซึมเศร้า 

แต่ความจริงแล้ว ภายในร่างกายของเรา มีสารและฮอร์โมนบางอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกันกับความเครียด และนำไปสู่การเกิดโรคภูมิแพ้ได้

เมื่อคนเราเกิดอาการเครียดขึ้น ร่างกายจะหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น โดยสารดังกล่าวจะมีปริมาณมากขึ้นอยู่ในกระแสเลือดของเราและทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้หากคุณมีความเครียดสะสมมากกว่าหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดหลักของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติและแกนของระบบสมองไฮโปธาลามิก-ต่อมใต้สมอง-ต่อมหมวกไต

ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะส่งผลกระทบต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดT-helper2 ซึ่งทำหน้าที่ดูแลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานไม่สมบูรณ์ 

หลังจากนั้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกายก็จะไม่ได้ถูกกำจัดออกอย่างที่ควรจะเป็น และเริ่มแพร่กระจายไปสู่เซลล์อื่นๆ ในร่างกาย จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย รวมถึงทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีรักษา และป้องกันโรคภูมิแพ้ที่มีสาเหตุมาจากความเครียด

ถึงแม้โรคภูมิแพ้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้นั้นมาจากความเครียด การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและความคิดบางอย่าง จะสามารถบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้นได้ เช่น

1. หาต้นตอสาเหตุของความเครียดให้เจอ 

ลองมองย้อนกลับไปว่า "อะไรคือ สาเหตุที่ทำให้คุณเกิดความเครียดมากที่สุด" คุณอาจต้องเขียนทุกอย่างที่นึกออกใส่กระดาษเพื่อไล่ลำดับสาเหตุที่เกิดขึ้น หากความเครียดมาจากเรื่องงาน ให้ลองลำดับความสำคัญของงานที่ทำและแบ่งเวลาทำอย่างเหมาะสม 

2. พักผ่อนให้เพียงพอ 

วิธีนี้ถือเป็นทางรักษาที่สำคัญที่สุด เพราะหากพักผ่อนเพียงพอ ร่างกายก็จะสามารถปรับสมดุลต่างๆ ให้กลับมาปกติ ฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะแข็งแรงยิ่งขึ้น

3. แบ่งเวลาอย่างเหมาะสม 

ลองหากิจกรรมที่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้โดยอาจเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือสามารถทำร่วมกับเพื่อนๆ คนรัก คนในครอบครัวของคุณได้ 

คุณอาจแบ่งเงินเก็บไว้ส่วนหนึ่งสำหรับซื้อที่ต้องเพื่อเป็นรางวัลให้ตนเองด้วย จิตใจที่ผ่อนคลาย มีความสุข และไม่ตึงเครียดจนเกินไปคือ อีกวิธีสำคัญที่จะช่วยป้องกันคุณจากโรคภูมิแพ้ได้

4. หาเวลาออกกำลังกาย 

หลายคนเมื่อเผชิญกับความเครียดแล้วก็ไม่อยากจะทำกิจกรรมอย่างอื่น แต่คุณควรลองแบ่งเวลาออกกำลังกายสั้นๆ ดูบ้างบางครั้งในช่วงเวลานั้นๆ คุณอาจได้มีเวลาลืมเลือนสิ่งที่ทำให้เครียดได้ชั่วขณะหนึ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายหลั่งสารสื่อประสาทอีพิเนฟริน (Epinephrine) หรือสารอะดรีนาลีน (Adrenaline) เพิ่มมากขึ้นด้วย 

สารสื่อประสาทตัวนี้จะทำให้หายใจสะดวกดียิ่งขึ้น หัวใจเต้นแข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจได้

5. นั่งสมาธิ

ลองใช้เวลาประมาณ 10-20 นาทีในการนั่งสมาธิ คุณอาจลองเริ่มจากสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก่อน การได้อยู่กับสมาธิ และความสงบจะทำให้ผ่อนคลายจากความเครียดได้

6. ไปพบแพทย์ หรือจิตแพทย์

นอกจากความเครียดจะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้แล้ว ยังอาจนำพาให้คุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลตามมาได้ ซึ่งโรคทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำให้มีสภาวะจิตใจที่ย่ำแย่มากกว่าเดิมอีก

นอกจากนี้การไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้ทราบวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง และได้รับการจ่ายยารักษาที่เหมาะสมด้วย เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines)

จะเห็นได้ว่า สภาวะจิตใจที่ย่ำแย่นั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่าที่คิด ดังนั้นการดูแลตนเองที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญแต่ไม่ใช่เพียงดูแลร่างกายให้แข็งแรงเท่านั้น ยังต้องใส่ใจสุขภาพจิตของตนเองด้วย 

หากคุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี แล้ว ไม่ว่าโรค หรือภาวะความผิดใดๆ ก็ยากที่จะเข้ามารบกวน หรือทำร้ายร่างกายให้อ่อนแอลงได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะเครียด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thomsen SF (2014). "Atopic dermatitis: natural history, diagnosis, and treatment". ISRN Allergy. 2014: 354250. doi:10.1155/2014/354250. PMC 4004110. PMID 25006501.
Wheatley LM, Togias A (January 2015). "Clinical practice. Allergic rhinitis". The New England Journal of Medicine. 372 (5): 456–63. doi:10.1056/NEJMcp1412282. PMC 4324099. PMID 25629743.
รศ. นพ.ปารยะ อาศนะเสน, โรคภูมิแพ้ และยาต้านฮิสทามีน (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1175), 22 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)