การฝึกความแข็งแรงสำหรับมือใหม่ – วิธีการเริ่มต้น

6 สัปดาห์แรกของการเริ่มต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การฝึกความแข็งแรงสำหรับมือใหม่ – วิธีการเริ่มต้น

ถึงแม้ว่าคุณอาจจะพร้อมสำหรับการเข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก แต่ร่างกายของคุณอาจจะยังไม่พร้อม แน่นอนว่าคุณต้องการผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป แต่มันก็มักจะไม่ค่อยได้ผลโดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งที่พบบ่อยก็คือผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายหรือเพิ่งกลับมาออกกำลังกายใหม่นั้น ทำทุกอย่างเร็วเกินไป หากคุณเคยทำเช่นนั้นมาก่อน คุณอาจจะเคยผ่านสัปดาห์ที่ยากลำบากในการพยายามเคลื่อนที่โดยไม่ใช้กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่ง คุณสามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดนี้ได้ง่าย ๆ โดยการออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป เรียนรู้วิธีการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการฝึกความแข็งแรงและความก้าวหน้าหลังจากออกกำลังกายไปแล้ว 6 สัปดาห์

ให้คิดว่า 6 สัปดาห์แรกของคุณนั้นเป็นช่วงเวลาเตรียมความพร้อม ซึ่งคุณควรเน้นที่การเรียนรู้เทคนิคและรูปแบบที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่เลือกนั้นต้องใช้กล้ามเนื้ออย่างไร และต้องใช้น้ำหนักมากเท่าไหร่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จำไว้ว่าร่างกายของคุณต้องการการปรับตัว ดังนั้นอย่าเพิ่งกังวลเกี่ยวกับการลดน้ำหนักหรือการสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่ เมื่อมาถึงจุดนี้คุณอาจจะไม่พบกับความเปลี่ยนแปลงอะไรเลยก็ได้ เรื่องนี้ต้องใช้เวลา ดังนั้นควรเน้นเรื่องวิธีการที่ถูกต้องและให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการออกกำลังกายในช่วง 6 สัปดาห์แรกที่จะไม่ทำให้คุณบาดเจ็บไปเสียก่อน นี่เป็นแค่ตัวอย่างทั่วไปเท่านั้น แต่น่าจะช่วยให้คุณเห็นภาพโปรแกรมพื้นฐานของการเริ่มฝึก

สัปดาห์ที่ 1 ของการออกกำลังกาย

  • เริ่มจากการออกกำลังกายแบบพื้นฐานโดยใช้ทั้งร่างกาย
  • เลือกออกกำลังกาย 1 รูปแบบต่อแต่ละส่วนของร่างกาย
  • ออกกำลังกายเป็นเซ็ต เซ็ตละ 10-16 ครั้งสำหรับการออกกำลังกายที่ไม่ใช้น้ำหนักหรือใช้น้ำหนักเบา
  • คุณอาจจะมีอาการปวดได้ในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นควรรับประทานยาแก้อักเสบ แช่น้ำร้อน และ/หรือไปนวด
  • หากคุณปวดและเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย ให้หยุดพักเพิ่มและลดปริมาณการออกกำลังกายในครั้งต่อไป เนื่องจากคุณอาจจะออกกำลังกายหนักเกินไป
  • หยุดพัก 1-2 วันก่อนออกกำลังกายอีกครั้ง
  • ออกกำลังกายให้ครบทุกส่วนของร่างกาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

สัปดาห์ที่ 2 ของการออกกำลังกาย

  • ฝึกการออกกำลังกายที่เลือกไว้ต่อเนื่อง คราวนี้ให้ทำ 1-2 เซ็ตต่อท่า
  • เพิ่มน้ำหนัก (3-5 ปอนด์) ลงในกิจกรรมจนกว่าคุณจะสามารถทำท่าดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ (มักอยู่ที่ 10-16 ครั้ง)
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ครั้งและมีวันพักอย่างน้อย 1 วันระหว่างนั้น

สัปดาห์ที่ 3-6 ของการออกกำลังกาย

  • ออกกำลังกายแต่ละท่าเพิ่มขึ้นอีกท่าละ 1 เซ็ต เมื่อคุณสามารถทำได้ครบ 16 ครั้งแล้วให้เพิ่มน้ำหนัก (3-5 ปอนด์ สำหรับร่างกายส่วนบนและ 10 ปอนด์สำหรับร่างกายส่วนล่าง) และลดเหลือท่าละ 10 ครั้ง ทำเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสามารถทำได้ครบ 16 ครั้ง
  • ในสัปดาห์ที่ 3 ให้เพิ่มการออกกำลังกายในแต่ละท่าอีก 1 เซ็ต ซึ่งหมายความว่าคุณออกกำลังกายรวม 2 เซ็ต
  • ในสัปดาห์ที่ 4 เพิ่มการออกกำลังกายขึ้นเป็น 3 วัน (โดยมีวันหยุดอยู่ระหว่างวันที่ออกกำลังกายอย่างน้อย 1 วัน)
  • ในสัปดาห์ที่ 6 เพิ่มการออกกำลังกายในแต่ละท่าอีก 1 เซ็ต รวมเป็น 3 เซ็ต

คุณจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ใน 6 สัปดาห์ถัดไป แต่สำหรับตอนนี้คุณก็ได้ทราบแนวคิดทั่วไปของการเริ่มต้นออกกำลังกายแล้ว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 tips for a safe and successful strength-training program. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/exercise-and-fitness/7-tips-for-a-safe-and-successful-strength-training-program)
Beginner's Strength Training: How to Get Started. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/complete-beginners-guide-to-strength-training-1229585)
Fitness 101: The Absolute Beginner's Guide to Exercise. WebMD. (https://www.webmd.com/fitness-exercise/features/fitness-beginners-guide)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง

ไอเดียอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับนักเดินทาง

อ่านเพิ่ม