กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจ STD หรือ ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ STD หรือตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตรวจ STD หรือ ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือติดต่อทางช่องทางอื่นๆ เช่น การสัมผัสกับสารคัดหลั่ง และการติดต่อทางเลือด 
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น โรคหนองใน โรคแผลริมอ่อน โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี
  • โรคทางเพศสัมพันธ์นั้นมีทั้งแบบไม่แสดงอาการ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี  และแบบแสดงอาการ เช่น โรคซิฟิลิส ซึ่งโรคบางโรคกว่าจะแสดงอาการให้รับรู้ก็นานนับปีและก็อาจอยู่ในระยะรุนแรงจนรักษายากแล้ว
  • การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD จะช่วยให้รู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
  • สามารถตรงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกที่ให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ เช่น คลินิกนิรนาม หรือคลินิกกามโรค
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD

การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนหลายคน อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ 

หากใครที่เคยมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ตรวจ STD (Sexually-transmitted-diseases) เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและคู่นอน เนื่องจากหากติดเชื้อจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือติดต่อทางช่องทางอื่นๆ เช่น การสัมผัสกับสารคัดหลั่ง การติดต่อทางเลือด เป็นต้น 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น โรคหนองใน โรคแผลริมอ่อน โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี 

ทำไมต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD

การติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นมีทั้งแบบไม่แสดงอาการและแสดงอาการ เช่น 

  • แบบไม่แสดงอาการ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย นานนับสิบปี กว่าจะแสดงอาการก็อยู่ในระยะที่รุนแรงแล้ว 
  • แบบแสดงอาการ เช่น โรคซิฟิลิส ที่ผู้ติดเชื้อจะมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก

ในเบื้องต้น หากรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย เช่น

  • ผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวดอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผล บริเวณอวัยวะเพศ มีเมือกใส หรือหนองไหลออกมา
  • ผู้หญิง จะรู้สึกเจ็บท้องน้อย ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวด คันอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีเหลือง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น

สิ่งแรกที่ควรทำคือ งดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และควรพบแพทย์ทันทีเพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันโรคลุกลามและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า โรคบางโรคกว่าจะแสดงอาการให้รับรู้ก็นานนับปีและก็อาจจะอยู่ในระยะรุนแรงจนรักษายากแล้ว ขณะเดียวกันระหว่างที่คุณอยู่ในระยะไม่แสดงอาการก็มีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หรือคนที่คุณรักได้โดยไม่รู้ตัว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ดังนั้นการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD จึงมีความสำคัญมากนั่นเอง

ใครควรตรวจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD

สำหรับผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจโรค คือ

  • ผู้ที่กำลังวางแผนจะแต่งงาน หรือมีบุตร เพื่อป้องกันเชื้อแพร่สู่คู่รักและลูก เนื่องจากโรคบางโรคอาจแพร่สู่ทารกในครรภ์ได้ด้วย
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย เปลี่ยนคู่นอนหลายคน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • ทุกคนที่มีอายุระหว่าง 13-64 ปี ควรได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวีอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD ต้องตรวจอะไรบ้าง?

หลายคนอาจเกิดคำถามว่า หากต้องการตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD ควรตรวจอะไรบ้าง โดยปกติ โรงพยาบาลรัฐ เอกชน รวมถึงคลินิกนิรนาม (คลินิกที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคทางเพศโดยเฉพาะ) จะมีบริการโปรแกรมตรวจโรคทางเพศไว้โดยเฉพาะ 

รายการพื้นฐานที่จำเป็นต้องตรวจมีดังนี้

  • ตรวจเชื้อเอชไอวี
  • ตรวจเชื้อซิฟิลิส
  • ตรวจหาเชื้อหนองในแท้ หนองในเทียม

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนแต่งงาน อาจมีรายการตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี หรือซี เพิ่มเติม รวมทั้งตรวจหาธาลัสซีเมีย หรือภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันด้วย เพราะเชื้อเหล่านี้สามารถส่งต่อสู่คู่รัก หรือทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจเชื้อเริม และเชื้อไวรัสเอชพีวีด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD ได้ที่ไหนบ้าง?

ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชนมีบริการตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์แทบทุกแห่ง ส่วนราคาก็ขึ้นอยู่กับรายการตรวจที่กำหนด โดยหากตรวจเพียงบางรายการ อาจมีราคาหลักร้อย แต่หากตรวจตามโปรแกรมก็อาจสูงถึงหลักพันบาทได้ 

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็มีคลินิกหลายแห่งที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกัน โดยรู้จักกันในหลากหลายชื่อ เช่น คลินิกนิรนาม หรือคลินิกกามโรค คลินิกเหล่านี้จะให้บริการผู้ป่วยโดยปกติข้อมูลเป็นความลับ เพื่อความสบายใจของผู้ใช้บริการ 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากตรวจพบเร็ว การรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอีกด้วย หากคุณเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจ STD เป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือตรวจ STD จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) คืออะไร? ตรวจอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/std-test).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)