มะยม (Star gooseberry)

มะยม ผลไม้ที่หลายคนปลูกไว้ประจำบ้าน พันธุ์ไทยมีมะยมเปรี้ยวกับมะยมหวาน ปัจจุบันมีการปลูกมะยมหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น เช่น มะยมแดงหรือมะยมฝรั่ง
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
มะยม (Star gooseberry)

มะยม เป็นพรรณไม้ที่พบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนไทยนิยมปลูกต้นมะยมไว้ในบ้าน เนื่องจากให้ร่มเงา ให้ผลที่รับประทานได้ และยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ ได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อวงศ์ PHYLLANTHACEA (EUPHOBIACEA)

มะยมเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่เบี้ยว หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ใบออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ ออกที่ซอกใบหรือกิ่งก้าน กลีบดอกสีแดง ดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน ลักษณะผลเป็นผลกลมแป้น มี 6-8 พู สีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองอ่อน

มะยมเป็นไม้ที่ดอกไม้สมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกมีเพศเดียวเท่านั้น เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละดอก มะยมบางต้นมีเฉพาะดอกเกสรตัวผู้ทั้งต้น จึงไม่ติดผล เรียกกันว่า มะยมตัวผู้

ต้นตัวเมีย คือ ต้นที่ติดผล และ ต้นตัวผู้ คือ ต้นที่ไม่ติดผล หรือติดผลน้อยมาก

มะยม มีพันธ์อะไรบ้าง?

มะยมสายพันธุ์ที่พบทั่วไปในประเทศไทย มีสายพันธุ์เปรี้ยว และสายพันธุ์หวาน แต่ในปัจจุบันมีมะยมแดง หรือมะยมฝรั่ง ที่เริ่มมีการปลูกแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะรูปร่างของผลและรสชาติคล้ายมะยม แต่ไม่ได้จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกัน

ประโยชน์ของมะยม

ผลมะยมมีรสเปรี้ยว คนทั่วไปนิยมนำผลของมะยมตัวเมียมารับประทาน สามารถรับประทานสด นำไปดอง แช่อิ่ม เชื่อม กวน หรือทำเป็นแยม

ส่วนมะยมตัวผู้ จะนิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค

สรรพคุณของมะยม

ส่วนต่างๆ ของมะยมมีประโยชน์ดังนี้

  • ราก นำมาต้มดื่ม แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
  • ใบ ต้มอาบ แก้ไข้ เหือด หัด อีสุกอีใส แก้ผื่นคัน ตำรายาพื้นบ้าน ใช้ใบมะยม ผสมกับยาเขียว แก้ไข้ หรือผสมใบมะเฟือง ใบหมากผู้หมากเมีย ต้มอาบเพื่อรักษาอาการคันจากผื่น หรือตุ่ม
  • ผล ประกอบด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย บรรเทาอาการจากหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยให้ชุ่มคอ ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน มีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ

ข้อควรระวัง

การรับประทานผลมะยมปริมาณมากอาจทำให้ท้องเสียได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ระบาย

น้ำยางจากเปลือกรากมะยมเป็นพิษเล็กน้อย อาจทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะได้


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)