กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฝากสเปิร์มคืออะไร ขั้นตอนกับการเตรียมตัวพร้อมราคาและสถานที่ทำ

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฝากสเปิร์มคืออะไร ขั้นตอนกับการเตรียมตัวพร้อมราคาและสถานที่ทำ

ปัญหาของคู่สมรสที่มีบุตรยากรวมทั้งผู้อยากมีบุตร แต่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีโรคประจำตัวอันเกิดขึ้นได้จากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยสำหรับฝ่ายหญิงก็ได้มีการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการฝากไข่ไว้ในขณะที่ร่างกายยังแข็งแรงและมีไข่ที่สมบูรณ์ ส่วนฝ่ายชายก็มีวิธีการฝากสเปิร์มหรืออสุจิไว้ในโรงพยาบาลที่ให้บริการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน

การฝากสเปิร์มคืออะไร?

การฝากสเปิร์มคือวิธีการที่ฝ่ายชายได้หลั่งน้ำอสุจิแล้วมีการคัดตัวสเปิร์มที่แข็งแรงสมบูรณ์ นำมาฝากเก็บไว้ในสถานพยาบาลที่มีการบริการแช่แข็งในถังไนโตรเจนเหลว เพื่อรอเวลาการนำออกมาใช้ในการผสมกับไข่ เมื่อมีความพร้อมที่จะมีบุตรในอนาคต โดยการนำสเปิร์มออกมาใช้จะต้องใช้ร่วมกับการผสมเทียม การทำเด็กหลอดแก้ว และการทำอิกซี่ถึงจะประสบผลสำเร็จในการมีบุตรได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การฝากสเปิร์มเหมาะกับใคร?

  • คู่สมรสที่ฝ่ายชายอยู่ห่างไกลจากภรรยาในช่วงไข่ตกหรือมีบุตรยาก และต้องรักษาโดยไม่สามารถมารักษาได้
  • ฝ่ายชายมีโรคประจำตัวอย่างเช่นโรคมะเร็งที่ต้องรักษา ด้วยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายแสงที่ไปทำลายจำนวนสเปิร์ม หรือโรคเกี่ยวกับสุขภาพจิต
  • ผู้ที่ทำการฝากสเปิร์มมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านตัว ต่อน้ำเชื้อ 1 CC มีลักษณะรูปร่างที่แข็งแรงปกติมากกว่า 30% มีปริมาณน้ำอสุจิไม่น้อยกว่า 1% และมีการเคลื่อนที่ได้ไม่น้อยกว่า 50%
  • ผู้ที่ต้องการเก็บสเปิร์มเอาไว้เพื่อทำการบริจาคแก่ผู้มีบุตรยากรายอื่น

การเตรียมตัวก่อนทำการฝากสเปิร์ม

เมื่อแจ้งความจำนงในความต้องการฝากสเปิร์มแล้ว แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดรวมทั้งต้องทำการตรวจร่างกายและเจาะเลือด เพื่อหาว่ามีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ พร้อมกับทำการเจาะเลือดด้วยเช่นกัน เช่น โรคซิฟิลิส โรคตับอักเสบ โรคเอดส์ โรคธาลัสซีเมีย และโรคเบาหวาน เป็นต้น

จากนั้นจะทำการเก็บเชื้อโดยการทำให้ฝ่ายชายหลั่งสเปิร์มในภาชนะที่ปราศจากเชื้อโรคตามที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ เมื่อได้สเปิร์มแล้วจะต้องนำไปตรวจที่ห้องแลปว่ามีความสมบูรณ์เหมาะสมที่จะเก็บได้หรือไม่ เช่น ต้องมีจำนวนที่มากพอหรือมีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรงเพียงพอ หากยังได้ปริมาณไม่พอก็จะนัดมาเก็บสเปิร์มใหม่อีกครั้ง

สเปิร์มที่คัดได้แล้วจะถูกนำไปเลี้ยงด้วยการผสมให้เข้ากับสารเคมีบางชนิด เพื่อให้คงสภาพที่สมบูรณ์ไว้และถูกใส่ไว้ในหลอดพลาสติก แล้วแขวนเหนือระดับถังไนโตรเจนเหลว 15 เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เพื่อให้หยุดการเคลื่อนไหวแล้วรอเวลาที่จะนำออกมาใช้ โดยนิยมเก็บไว้ที่ระยะเวลา 5 ปี

การปฏิบัติตัวหลังทำการฝากสเปิร์ม

หลังการรีดสเปิร์มออกมาเก็บแล้ว แพทย์จะให้นอนพักประมาณ 15 – 20 นาที ซึ่งหากมีจำนวนไม่มากพอหรือต้องการบริจาคซ้ำ จะต้องมาอีกครั้งหลังจากนี้ประมาณ 3 – 5 วัน เพราะต้องรอให้ร่างกายผลิตขึ้นมามีจำนวนมากเพียงพอเสียก่อน จึงจะเริ่มทำการเก็บซ้ำได้

ค่าใช้จ่ายในการฝากสเปิร์ม

การฝากสเปิร์มจะอยู่ที่ครั้งละประมาณ 1,000 – 5,000บาท ต่อครั้ง ทั้งนี้หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐบาลก็จะมีราคาที่ถูกกว่านี้

สถานที่ให้บริการการฝากสเปิร์ม

โรงพยาบาลของรัฐบาลเช่น รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.ศิริราช หากเป็นรพ.เอกชน เช่น รพ.วิภาวดี รพ.พระราม 9 และรพ.ที่มีศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจะสามารถทำได้ทุกที่

การฝากสเปิร์มเป็นทางเลือกที่ดีในการแก้ปัญหาความต้องการมีบุตร แต่ยังไม่พร้อมที่จะมีด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากฝ่ายชายอีกและคุณภาพของสเปิร์มที่ถดถอยตามอายุมากขึ้นอีกด้วย แต่ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้ด้วยการทำควบคู่กับวิธีเด็กหลอดแก้วและอิกซี่ โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังอาจเทียบกับวิธีธรรมชาติไม่ได้ คืออยู่ที่ 35 – 40% เท่านั้น อีกทั้งกฎหมายไทยยังไม่ยินยอมให้หญิงหรือชายโสด สามารถใช้ความเจริญทางด้านการแพทย์ที่ช่วยในการมีบุตรมาทำให้มีบุตรได้ ยกเว้นก็ต่อเมื่อจดทะเบียนสมรสโดยชอบทางกฎหมายแล้วเท่านั้น


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การเพิ่มขึ้นของฝาแฝด
การเพิ่มขึ้นของฝาแฝด

การสำรวจการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดฝาแฝด

อ่านเพิ่ม
เรากำหนดเพศของลูกได้จริงหรือ?
เรากำหนดเพศของลูกได้จริงหรือ?

คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ สำหรับคู่ชายหญิงที่คิดไว้ในใจว่าอยากได้ลูกเพศไหน แต่ไม่ต้องการเข้าแล็บจริงจัง

อ่านเพิ่ม