กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สร้างทารกให้เป็นอัจฉริยะได้อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สร้างทารกให้เป็นอัจฉริยะได้อย่างไร

พ่อแม่ทุกคนต่างก็หวังอยากให้ลูกของตนเป็นเด็กอัจฉริยะ มีความฉลาดเฉลียว ไหวพริบดี ร่างกายแข็งแรง อารมณ์ดี สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ แต่เราจะทำให้ทารกที่คลอดออกมาเป็นเด็กอัจฉริยะได้อย่างไร ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้เราทราบว่า มี 3 ปัจจัยหลักที่หากเราสามารถเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเริ่มตั้งครรภ์ เด็กทารกที่คลอดออกมาก็จะมีคุณภาพที่ดีและมีโอกาสที่เด็กจะกลายเป็นเด็กอัจฉริยะตามที่คุณพ่อคุณแม่หวังเอาไว้ได้ค่ะ

1. พันธุกรรมจากพ่อและแม่

เด็กทารกเกิดจากการหล่อหลอมรวมกันระหว่างเซลล์ของฝ่ายพ่อและแม่ โดยเซลล์ประกอบไปด้วยโครโมโซม (Chromosome) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้นที่เรียงตัวกันเป็นคู่ๆ เกาะกันแน่นเหมือนกับบันไดเวียน และบนเส้นโครโมโซมจะมียีนส์ ซึ่งยีนส์นี้มาจากการผสมระหว่างฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่อย่างละครึ่ง ยีนส์เป็นหน่วนควบคุมคุณภาพและลักษณะต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา รูปร่าง ความสูง สีผิว ความฉลาด ฯลฯ ซึ่งยีนส์ในส่วนของอวัยวะสมองนี้เองที่ได้รับมาจากยีนส์ของพ่อและแม่อย่างละครึ่ง ซึ่งมีผลให้เด็กทารกเมื่อเติบโตขึ้นจะมีลักษณะคล้ายกับพ่อและแม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พันธุกรรมจากพ่อและแม่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของทารก เพราะว่าเด็กทารกจะฉลาดมากน้อยแค่ไหนยีนส์ที่ได้รับจากพ่อและแม่นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากยีนส์ที่ได้รับจากพ่อและแม่แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่มีผลต่อเด็กทารกค่ะ

2. อาหารการกิน

อาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวันจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสารอาหาร ในปัจจุบันวงการแพทย์ให้การยอมรับแล้วว่า ถ้าทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้รับสารอาหารที่ดีและเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายของทารกสามารถพัฒนาและเติบโตกลายเป็นเด็กอัจฉริยะได้เช่นกัน เพราะสารอาหารหลายชนิดมีผลในการสร้างร่างกายของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น โปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องใช้เพื่อเสริมสร้างขนาดและคุณภาพของสมอง หากทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ร่างกายของเด็กก็จะสามารถพัฒนาสมองได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อสมองสมบูรณ์ก็จะทำให้การทำงานของสมองทำงานได้อย่างเต็มที่

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญมากและสมองก็ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากเช่นกัน หากคุณแม่ได้รับสารอาหารโปรตีนน้อยเกินไป เซลล์สมองของลูกในท้องก็จะมีขนาดเล็ก และทำให้ทารกที่คลอดออกมาระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กคนอื่นๆ ได้ นอกจากโปรตีนแล้วยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น กลุ่มวิตามินต่างๆ ก็มีผลเช่นกัน เพราะวิตามินบางชนิดก็มีผลต่อระบบประสาทของทารก ดังนั้นอาหารที่คุณแม่ได้รับเข้าไปจึงมีผลอย่างมากต่อทารกในครรภ์

3. สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมในที่นี้จะมีผลตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์เลยทีเดียวค่ะ มีผลการวิจัยทางการแพทย์ระบุไว้ว่า หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องทนอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ทั้งเรื่องเสียงที่ดังเกินไป มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือทำให้คุณแม่มีอารมณ์หงุดหงิด หรือเครียด เด็กทารกจะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ด้วยเช่นกันส่งผลกระทบต่างๆ เช่น เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วน้ำหนักตัวจะน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ, หรือต้องคลอดก่อนกำหนด, เด็กทารกจะตกใจง่าย เลี้ยงยากหรือร้องไห้เก่ง เป็นต้น

ถ้าอยากให้คลอดทารกออกมาเป็นเด็กอัจฉริยะต้องทำอย่างไร

จะเห็นได้ว่าพันธุกรรมจากพ่อและแม่เป็นเพียง 1 ใน 3 ปัจจัยเท่านั้นที่จะให้ลูกเป็นเด็กที่มีคุณภาพ เป็นเด็กอัจฉริยะ ปัจจัยอีก 2 ส่วนคือเรื่องอาหารการกินและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนสามารถกำหนดและแก้ไขได้ค่ะ ดังนั้นไม่ต้องนึกกังวลไปว่าพันธุกรรมของเราไม่ดีพอหรือเปล่า

หลักในการปฏิบัติตนเองของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์อย่างง่ายเช่น ทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ เน้นโปรตีนให้มากหน่อย อาจจะดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว ไข่ไก่ 1 ฟอง รับประทานปลาให้มากๆ ผักผลไม้รวมถึงยาบำรุงที่ได้รับจากแพทย์ที่ฝากครรภ์ รวมถึงควรที่จะอยู่ในบริเวณที่ไม่มีเสียงดังรบกวน อากาศถ่ายเทได้ดี และรักษาอารมณ์ของตนให้แจ่มใสอยู่เสมอ เพียงแค่นี้ทารกในครรภ์ก็จะสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะเติบโตเป็นเด็กอัจฉริยะได้แล้วค่ะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เรากำหนดเพศของลูกได้จริงหรือ?
เรากำหนดเพศของลูกได้จริงหรือ?

คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ สำหรับคู่ชายหญิงที่คิดไว้ในใจว่าอยากได้ลูกเพศไหน แต่ไม่ต้องการเข้าแล็บจริงจัง

อ่านเพิ่ม