กาหลง (Snowy orchid tree)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สรรพคุณส่วนต่างๆ ของกาหลง และวิธีการใช้กาหลงทำยารักษาอาการเจ็บป่วย
เผยแพร่ครั้งแรก 21 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กาหลง (Snowy orchid tree)

กาหลง หรือต้นส้มเสี้ยว (ชื่อเรียนทางภาคกลาง) เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์เดียวกันกับพืชตระกูลถั่ว และอยู่ในวงศ์ย่อยของราชพฤกษ์ เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งตามอาคารบ้านเรือน และสถานที่สาธารณะต่างๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของประเทศอินเดีย กัมพูชา พม่า ลาว อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และประเทศไทย

ชื่อไทย  กาหลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อท้องถิ่นอื่น เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), โยธิกา(นครศรีธรรมราช)  เป็นต้น

ชื่อสามัญ  Snowy orchid tree, Orchid tree

ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia acuminata L.

ชื่อวงศ์   CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาหลง

  • ลำต้น ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านเล็กน้อย มีขนสีขาวปกคลุมอยู่บริเวณยอดและกิ่งอ่อน  
  • ใบ ลักษณะใบเป็นรูปทรงรีกว้าง ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ คล้ายรูปไต แยกเป็น 2 พู โคนใบมนและเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนสีขาวละเอียด ขนาดใบกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-11 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม ผลัดใบช่วงฤดูหนาว และเริ่มแตกใบอ่อนในช่วงฤดูร้อน
  • ดอก เป็นช่อกระจะแบบสั้น ประมาณช่อละ 4-6 ดอก ที่บริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่  สีขาวบริสุทธิ์ มีใบประดับรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กประมาณ  2-3 ใบอยู่บริเวณโคนก้าน ดอกที่บานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน และออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  • ผล มีลักษณะฝักแบนรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.3-1.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ขอบฝักเป็นสันหนา โคนแหลม ปลายฝักป้านมีติ่งแหลม ฝักอ่อนจะมีสีเขียวและเมื่อฝักแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน ขนาดเล็ก สีน้ำตาล แต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 7-10 เมล็ด

วิธีการขยายพันธุ์กาหลง

ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน และการเพาะเมล็ด จะให้ดอกและติดฝักหลังจากปลูกด้วยเมล็ดไปได้ประมาณ 2-4 ปี

สรรพคุณทางยาของกาหลง

  • ราก ช่วยขับเสมหะ ใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยแก้อาการ แก้บิด (โรคลําไส้ใหญ่อักเสบ มีอาการปวดมวนและอุจจาระเป็นมูกเลือด)
  • ต้น ใช้เป็นยาแก้โรคลักปิดลักเปิด (โรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันและเหงือก) ใช้รักษากามโรค (โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกันโดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น)
  • ใบ ใช้เป็นยารักษาแผลในจมูก

วิธีการใช้กาหลง

  • การทำยาพอก นำใบกาหลงมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นตำให้แหลก แล้วนำไปผสมกับเหล้าขาว 40 ดีกรี จากนั้นนำมาพอกบริเวณที่มีปัญหาโรคผิวหนัง
  • การทำยาต้ม นำส่วนของเปลือกต้น ราก หรือใบ อัตราส่วนอย่างละเท่าๆกัน ใส่หม้อจากนั้นใส่น้ำท่วมตัวยา ตั้งไฟปานกลางจนเดือด และต้มต่ออีกประมาณ 15 นาที จากนั้นนำน้ำมากรอง รับประทานเป็นยาชงดื่ม
  • การแพทย์อายุรเวท อินเดีย ใช้เปลือกต้นและรากต้มรักษาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ใช้รักษาแผลที่เกิดในโพรงจมูกโดยวิธีการพอกยา ใช้เปลือกต้นและใบ ต้มรักษากามโรค นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หอบหืด โรคเรื้อน ใช้รากต้มรักษาอาการไอ และรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ใช้พืชชนิดนี้ต้มเพื่อรักษาอาการไอและอาการหวัด นอกจากนี้ยังนำใบกาหลงมาตำ และนำมาพอกบริเวณที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง

ข้อควรระวังในการใช้กาหลง

  • บริเวณใบและกิ่งของต้นกาหลง จะมีขนอ่อนประปราย หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจะทำให้ระคายเคืองผิวหนังได้ 

  • การทดสอบความเป็นพิษของต้นกาหลง พบว่าความเป็นพิษต่ำ รวมถึงยังไม่พบผลข้างเคียงและอาการไม่พึ่งประสงค์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ไขปริศนา พฤกษาพรรณ (www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants), 30 มีนาคม 2562.
นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1, 2547.
คณะกรรมการองค์การสวนพฤษศาสตร์, หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, (2538).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)