กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ยิ่งสูบยิ่งเสี่ยง! ควันบุหรี่สามารถกระจาย COVID-19 ได้

ตอบชัดๆ ควันบุหรี่มวนและไอระเหยบุหรี่ไฟฟ้า สามารถกระจายโรค COVID-19 ได้ไหม? อ่านได้จากบทความนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 2 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 8 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยิ่งสูบยิ่งเสี่ยง! ควันบุหรี่สามารถกระจาย COVID-19 ได้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ควันจากบุหรี่มวนและไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้า สามารถกระจายเชื้อ COVID-19 ได้
  • บุหรี่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจมากขึ้น เช่น เสมหะ น้ำมูก สารคัดหลั่งในปอด จึงมีโอกาสแพร่เชื้อได้มากขึ้น
  • ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีประวัติสูบบุหรี่ จะมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 14 เท่า หากเทียบกับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่
  • สารพิษที่อยู่ในบุหรี่อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อ COVID-19 เพราะสารบางชนิดทำให้เป็นโรคหัวใจ โรคปอด ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาการเรื้อรังที่เสี่ยงจะมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ
  • หากมีประวัติเข้าใกล้กลุ่มเสี่ยงติดโรค การตรวจหาเชื้อ COVID-19 ตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเชื้อสามารถอยู่ในร่างกายได้อย่างน้อย 14 วันก่อนแสดงอาการ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 

สาเหตุที่โรค COVID-19 สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ หลายคนจึงสงสัยว่า ควันบุหรี่มวน รวมถึงไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ สามารถกระจายเชื้อได้หรือไม่

ในบทความนี้จะมาพูดถึงความเป็นไปได้ในการแพร่กระจายเชื้อ และความเสี่ยงในการติด COVID-19 ของผู้ที่สูบบุหรี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมควันบุหรี่จึงกระจาย COVID-19 ได้?

ควันบุหรี่สามารถกระจายเชื้อโคโรน่าไวรัส ต้นเหตุของโรค COVID-19 ได้ เนื่องจากการสูบบุหรี่มวน หรือบุหรี่ไฟฟ้า จะทำให้ควันเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และกระตุ้นการเกิดสารคัดหลั่งทั้งในโพรงจมูก เสมหะ รวมถึงสารคัดหลั่งในปอดด้วย

หากผู้สูบติดโรค COVID-19 แล้ว แต่ยังไม่รู้ตัว เชื้อโคโรน่าจะเกาะกับควัน หรือไอระเหยที่พ่นออกมาได้ ควันบุหรี่มือสอง จึงถือเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ไกลยิ่งขึ้นกว่าการไอ จาม ตามปกติ

นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำยังมักมีเสมหะมาก น้ำมูกไหล ไอเรื้อรัง ยิ่งผู้สูบบุหรี่หลายคนที่มีพฤติกรรมบ้วนน้ำลายลงบนพื้นรอบๆ จึงยิ่งเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อมากขึ้นไปอีก

ยิ่งสูบบุหรี่ ยิ่งเสี่ยงต่อการติด COVID-19 และมีอาการรุนแรง

ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีหลักฐานมากนักที่จะพิสูจน์ว่า "การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงติด COVID-19 ได้มากน้อยเพียงใด" แต่สารพิษและพฤติกรรมในการสูบมีความสัมพันธ์กับ COVID-19 ได้ ดังนี้

1. สารพิษในบุหรี่

เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้ควันเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทุกระดับ ตั้งแต่โพรงจมูก หลอดลม และปอด จากนั้นสารพิษในบุหรี่จะซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ก็จะทำให้มีโอกาสในการติด COVID-19 ได้ง่ายมากขึ้น

วารสารการแพทย์จีนได้เผยแพร่ข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ว่า ผู้สูบบุหรี่ที่เข้ารับการรักษาด้วยโรค COVID-19 มีโอกาสที่จะเป็นปอดอักเสบมากขึ้นถึง 14%

นอกจากนี้ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีประวัติเคยสูบบุหรี่ยังมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นถึง 14 เท่า หากเทียบกับผู้ที่ไม่เคยสูบเลย

2. พฤติกรรมการสูบ

ผู้สูบบุหรี่บางคนที่มีพฤติกรรมแบ่งบุหรี่มวนเดียวสูบด้วยกันหลายคน ทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อมากกว่าคนทั่วไป รวมถึงเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามนิ้วมือของแต่ละคน เมื่อสัมผัสก้นบุหรี่ก็มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าสู่ปากได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้กรมควบคุมโรคได้บังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เพื่อลดการแพร่กระจายของ COVID-19 ทำให้ผู้สูบบุหรี่หลายคนที่ต้องไปรวมตัวกัน ณ จุดที่จัดไว้ให้สูบ จึงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ COVID-19 ได้มากขึ้นจากควันบุหรี่มือสองของคนอื่นๆ ได้มากขึ้นเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำกำลังมีความคิดจะเลิกบุหรี่ ช่วงการระบาดของ COVID-19 นี้ถือเป็นจังหวะที่ดีในเริ่มต้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อตนเองและคนในครอบครัว

สารพิษในบุหรี่ที่อาจมีผลต่อ COVID-19

สารพิษในบุหรี่มีมากกว่า 4,000ชนิด ทุกชนิดล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น สารดังต่อไปนี้เป็นสารที่อาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงแพร่ระบาดและเพิ่มความรุนแรงของ COVID-19 ได้

  • นิโคติน (Nicotine) เป็นสารหลักที่ทำให้รู้สึกเสพติด และมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคหัวใจถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังการติดโรค COVID-19 มากเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
  • ทาร์ (Tar) หรือที่เรียกกันว่า "น้ำมันดิน" เป็นสารที่กระตุ้นให้ร่างกายขับเสมหะออกมาจำนวนมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ หากติด COVID-19 โดยที่ไม่รู้ตัว ก็มีโอกาสแพร่กระจายสู่คนในครอบครัวและสังคมมากขึ้น
  • ไฮโดนเจนไดออกไซด์ (Hydrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ทำร้ายเยื่อบุหลอดลมส่วนต้น กระตุ้นให้เกิดการไอเรื้อรัง
  • ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย กระตุ้นให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
  • แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและมีเสมหะมาก เพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ
  • นิกเกิล (Nickel) ทำให้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อง่ายขึ้น รวมถึงโรค COVID-19 ด้วย

สารพิษดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อาจมีผลกระทบต่อการแพร่ระบาดและเพิ่มความรุนแรงต่อโรค COVID-19 รวมถึงทำให้คนรอบข้างเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย เช่น หอบหืด ปอดบวม

ดังนั้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 ควรงดสูบบุหรี่ไปก่อน สำหรับผู้ที่มีความคิดจะเลิกบุหรี่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ควรถือโอกาสนี้ในการเลิกบุหรี่อย่างถาวร เพราะหลังจากหยุดสูบบุหรี่เพียงไม่กี่ชั่วโมง ร่างกายจะค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้น 

ในเรื่องนี้หากต้องการความมั่นใจของสุขภาพร่างกายและปอดที่จะเกิดขึ้นหลังเลิกสูบบุหรี่ คุณอาจไปเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจปอดก่อน และหลังจากเลิกบุหรี่ได้สำเร็จก็อาจกลับไปตรวจดูอีกครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น  

อย่างไรก็ตาม หากมีความเครียด เนื่องจากการพยายามเลิกบุหรี่ด้วยตนเองอาจไปปรึกษาคลินิกเลิกบุหรี่ซึ่งมีอยุ๋ในโรงพยาบาลหลายแห่ง เพราะในบางกรณีอาจต้องใช้ยาในการช่วยเลิกบุหรี่เพื่อให้การเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น 

หรือหากมีความเครียดมากอาจปรึกษาจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัว 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization, WHO statement: Tobacco use and COVID-19 (https://www.who.int/news-room/detail/11-05-2020-who-statement-tobacco-use-and-covid-19), 23 May 2020.
NHS, Passive smoking, Coronavirus (COVID-19) (https://www.nhs.uk/live-well/quit-smoking/passive-smoking-protect-your-family-and-friends/), 23 May 2020.
Arefa Cassoobhoy, MD, MPH, Coronavirus and Smoking (https://www.webmd.com/lung/covid-19-smoking-vaping#3), 23 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน
รวมข้อปฏิบัติระหว่างการกักตัวในระหว่างช่วง Covid-19 ทั้งผู้กักตัว และสมาชิกในบ้าน

รวมข้อปฏิบัติเมื่อต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 14 วัน และมีอาการอย่างไร จึงควรนำตัวส่งโรงพยาบาล

อ่านเพิ่ม