กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ห่วงคุมกำเนิด Skyla

ห่วงคุมกำเนิดชนิดปล่อยฮอร์โมนระดับต่ำตัวใหม่
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ห่วงคุมกำเนิด Skyla

Skyla เป็นห่วงคุมกำเนิดตัวใหม่ล่าสุดซึ่งทาง FDA ให้การรับรองเมื่อวันที่ 1 กันยายม ค.ศ. 2013 และเป็นห่วงอนามัยตัวแรกที่ FDA ให้การรับรองในช่วงกว่า 12 ปี ห่วงคุมกำเนิด Skyla ผลิตจากพลาสติกที่นุ่มและยืดหยุ่น อุปกรณ์รูปตัว T นี้ถูกเรียกว่า mini IUD เนื่องจากมันมีขนาดเล็กกว่าห่วงคุมกำเนิด Mirena โดย Skyla ต้องใส่โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ห่วงคุมกำเนิดขนาดเล็กนี้จะปล่อย progestin คือ levonorgestrel ออกมาอย่างช้าๆ ในช่วงระยะเวลา 3 ปี เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ห่วงคุมกำเนิดSkyla มีปริมาณ levonorgestrel 13.5 mg และปล่อยออกมา 14 mcg ต่อวัน ซึ่งจะลดลงเป็น 5 mcg ต่อวันหลังจากพ้น 3 ปีไปแล้ว

  • Skyla vs Mirena vs ParaGard?

ห่วงคุมกำเนิด Skyla ทำงานได้อย่างไร?

ห่วงคุมกำเนิด Skyla ป้องกันการตั้งครรภ์ โดยขัดขวางอสุจิให้ปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก กล่าวคือ ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอสุจิ progestin ในห่วงคุมกำเนิด skyla จะทำให้มูกปากช่องคลอดหน้าขึ้น ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง และลดการอยู่รอดของอสุจิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • วิธีอื่นๆ ที่ Skyla ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์

ควรใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla ในช่วงเจ็ดวันแรกของรอบเดือนหรือใส่ทันทีหลังจากการแท้งในระยะไตรมาสแรก การใส่ในช่วงเวลานี้จะทำให้ Skyla มีประสิทธิภาพทันทีและไม่จำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดชนิดอื่นๆ เสริม หากคุณใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla ในช่วงเวลาอื่นๆ ของวงจรรอบเดือน คุณจะต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยในช่วงสัปดาห์แรกหลังใส่ห่วงคุมกำเนิด เช่น การใช้สารฆ่าอสุจิหรือถุงยางอนามัย เนื่องจากการป้องกันการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นหลังจากหนึ่งสัปดาห์

ข้อดีของห่วงคุมกำเนิด Skyla

  • ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ต่อเนื่องถึงสามปี
  • จะถอดห่วงเมื่อไหร่ก็ใด้ในช่วงสามปีนี้ โดยความสามารถในการมีบุตรจะกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
  • ห่วงคุมกำเนิด Skyla ได้รับการรับรองจาก FDA สำหรับผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
  • ไม่ยุ่งยากเพราะคุณไม่จำเป็นต้องทำอะไรอีกหลังจากใส่ห่วง
  • อาจช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์ดีขึ้นเพราะเป็นไปตามธรรมชาติ
  • Skyla ยังเป็นการคุมกำเนิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ห่วงคุมกำเนิด Skyla ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่อยากใช้การคุมกำเนิดที่ใช้ estrogen
  • เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ต้องระมัดระวังมาก เนื่องจากไม่มีห่อหรือหลักฐานอื่นๆ ของการใช้ที่จะทำให้ผู้หญิงบางคนรู้สึกอาย
  • Skyla ใช้ขณะที่คุณกำลังให้นมบุตรได้
  • Skyla มีขนาดเล็กกว่าและมีท่อใส่ที่เล็กกว่า ซึ่งอาจทำให้การใส่ห่วงเจ็บน้อยกว่าการใส่ห่วงคุมกำเนิด Mirena หรือ ParaGard
  • เป็นทางเลือกของห่วงคุมกำเนิดที่ดีสำหรับผู้หญิงที่เคยผ่าคลอดเท่านั้น
  • หากคุณมีมดลูกขนาดเล็ก เช่น ในวัยรุ่นหรือหญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน Skyla อาจเป็นห่วงคุมกำเนิดที่ดีกว่า
  • ไม่ว่าคุณหรือคู่นอนของคุณจะไม่รู้สึกว่ามีห่วงคุมกำเนิด Skyla อยู่ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

ข้อเสียของห่วงคุมกำเนิด Skyla

ถึงแม้ว่าผู้หญิงส่วนมากไม่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับห่วงคุมกำเนิด แต่คุณอาจมีอาการเจ็บ มีเลือดออก หรือเวียนหัวหลังใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปในเวลา 30 นาทีหลังใส่ห่วง อาจมีโอกาสที่ห่วงถูกใส่อย่างไม่ถูกต้อง

  • ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดท้องบีบๆ หรือปวดบั้นเอวเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์หลังใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla

การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน

  • ในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla วันที่มีเลือดออกและเลือดออกกระปริบกระปรอบอาจเพิ่มขึ้น รอบเดือนของคุณอาจมาไม่สม่ำเสมอ และ/หรือ อาจมามากกว่าปกติได้
  • เมื่อเวลาผ่านไป รอบเดือนของคุณก็จะสั้นลงและมีเลือดออกน้อยลง เนื่องจาก progestin จาก Skyla ทำให้เยื่อยุโพรงมดลูกบางลง ยิ่งใส่ห่วง Skyla ไปนานเท่าไหร่ เลือดก็จะออกน้อยลง รอบเดือนของคุณอาจจะหยุดไปเลย (ผู้หญิง 6% หยุดมีรอบเดือนหลังใช้ Skyla ไปหนึ่งปี)
  • ในผู้หญิงบางคนจะยังคงมีเลือดออกโดยไม่สามารถบอกได้ล่วงหน้าระหว่างวงจรรอบเดือนหลังจากช่วงไม่กี่เดือนแรก นี่เป็นเหตุผลที่พบได้บ่อยว่าทำไมผู้หญิงจึงขอให้เอาห่วงคุมกำเนิด Skyla ออก

ผลข้างเคียงของ Skyla

คุณอาจเกิดผลข้างเคียงหลังจากใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla แล้ว แต่ในกรณีส่วนใหญ่ผลข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปหลังจากช่วงไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนแรก ผลข้างเคียงของห่วงคุมกำเนิด Skyla ได้แก่

  • มีเลือดออกเพิ่มขึ้น
  • สิวหรือ Seborrhea
  • ปวดประจำเดือน
  • ปวดท้องหรือปวดท้องน้อย
  • ช่องคลอดอักเสบติดเชื้อ
  • ปวดหัว
  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายเต้านม
  • คลื่นไส้
  • ถุงน้ำรังไข่ ใน 14% ของผู้ที่ใช้ Skyla ได้รับการวินิจฉัยว่ามีถุงน้ำรังไข่ ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่จะหายไปได้เองในเวลา 1-2 เดือน

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของ Skyla

ปัญหาที่ร้ายแรงของ Skyla พบได้น้อยมากและต้องแจ้งแพทย์ทันทีหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น

  • ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากห่วงคุมกำเนิด Skyla ที่อาจพบได้

ใครควรใช้ห่วงคุมกำเนิด Skyla?

Skyla ได้รับการค้นคว้าขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร ดังนั้น ทาง FDA จึงให้การรับรองการใช้ Skyla ในกลุ่มประชาการเหล่านี้ โดยฉลากของ Skyla ระบุว่าห่วงคุมกำเนิดขนาดเล็กนี้จะใช้กับผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือมีบุตรแล้วก็ได้

  • จะใช้ Skyla ได้อย่างไร—ฉันเป็นผู้ที่น่าจะใช้ห่วงนี้หรือเปล่า?

การถอดห่วงคุมกำเนิด Skyla

  • หลังจากครบ 3 ปี คุณต้องไปเอาห่วงคุมกำเนิดนี้ออก (มันจะไม่หายไปเองในร่างกาย) คุณอาจเลือกให้ใส่ห่วง Skyla ต่อไปเลยหลังจากเอาออกก็ได้ คุณไม่ควรลองเอาห่วง Skyla ออกด้วยตัวเอง (นี่เป็นเหตุผลที่เรามีหมอใช่มั้ยล่ะ!) ห่วงคุมกำเนิด Skyla อาจหลุดออกมาได้เอง ซึ่งเป็นกรณีที่หาได้ยากมาก แต่โดยทั่วไปแล้วคุณจะต้องนัดแพทย์เพื่อมาเอาห่วงออก
  • คุณสามารถมาเอาห่วงออกเมื่อไหร่ก็ได้ก่อนจะครบ 3 ปี
  • หากห่วงคุมกำเนิด Skyla หลุดออกมาเอง ก็มีโอกาสมากที่คุณอาจไม่ทันได้สังเกตว่าหลุดออกมาแล้วด้วยซ้ำ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคอยคลำตรวจสอบสาย (หากทำได้) เนื่องจากเป็นวิธีเดียวที่จะแสดงว่าห่วงยังอยู่ในที่หากห่วงหลุดออกมาแล้ว ควรไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจการตั้งครรภ์ก่อนว่าคุณไม่ได้กำลังท้องอยู่ก่อนที่จะใส่ห่วงคุมกำเนิด Skyla ห่วงใหม่ให้
  • หากห่วงคุมกำเนิด Skyla หลุดออกมาค้างอยู่ ควรแจ้งแพทย์ทันที (และใช้การคุมกำเนิดชนิดอื่นร่วมด้วย) เช่นเดียวกัน อย่าลองใส่ห่วงส่วนที่เหลือกลับเข้าไปด้วยตนเอง

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับห่วงคุมกำเนิด Skyla

Skyla มีราคาสูงกว่าการคุมกำเนิดชนิดอื่นๆ ราคาของการตรวจ ค่าห่วง ค่าใส่ห่วง และค่าใช้จ่ายในการตรวจติดตาม รวมๆ กันอาจมีราคาสูงถึง 650-750 ดอลล่าร์ ซึ่งประกันสุขภาพ Medicaid อาจครอบคลุมได้หมด คุณสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ประกันสุขภาพของคุณ เนื่องจากการขอบเขตการคุ้มครองควรรวมถึงการใช้ Skyla ด้วยโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม สำหรับผู้ทำประกันสุขภาพในโครงการใหม่ (non-grandfathered insurance plans)

  • ทำไมฉันยังต้องจ่ายสำหรับ Skyla อีก?

ประสิทธิภาพของห่วงคุมกำเนิด Skyla

Skyla มีประสิทธิภาพมาก การคุมกำเนิดระยะยาวชนิดชั่วคราววิธีนี้มีประสิทธิผลถึง 99.1% ซึ่งหมายความว่าจากผู้หญิง 100 คนที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด Skyla จะมีคนที่ตั้งครรภ์น้อยกว่า 1 คนใน 1 ปี ทั้งนี้ต้องใช้อย่างถูกต้องด้วย

สิ่งที่อาจเป็นประโยชน์หากรู้ไว้ : เมื่อใช้ห่วงคุมกำเนิด Skyla การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้เพราะห่วงหลุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้ตัว ถึงแม้ว่าโอกาสการตั้งครรภ์ในขณะใช้ Skyla จะต่ำมาก แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ หากคุณตั้งครรภ์โดยที่ยังมีห่วงคุมกำเนิดอยู่ ต้องแจ้งแพทย์ให้เร็วที่สุดทันทีที่คุณทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ เนื่องจากสามารถมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภได้

  • การจัดการกับการตั้งครรภ์ขณะใส่ห่วงคุมกำเนิด

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ห่วงคุมกำเนิด Skyla ไม่ได้ช่วยป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mirena, Skyla (levonorgestrel intrauterine) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more. Medscape. (https://reference.medscape.com/drug/mirena-skyla-levonorgestrel-intrauterine-342780)
Skyla Intrauterine : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing. WebMD. (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-163305/skyla-intrauterine/details)
Choosing an IUD: Brands and What to Consider. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/skyla-vs-mirena-906769)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)