ภูวนัย ดวงสุภา
เขียนโดย
ภูวนัย ดวงสุภา
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

แนะนำวิธีดูแลตัวเองหลังการถอนฟันกราม

รู้จักอาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการถอนฟัน พร้อมกับวิธีบรรเทาอาการด้วยตัวเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
แนะนำวิธีดูแลตัวเองหลังการถอนฟันกราม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลักษณะแผลหลังถอนฟัน จะมีลิ่มเลือดปกปิดเหนือแผล ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เกิดกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อ หรือเหงือกขึ้นมาทดแทนช่องว่างของฟันที่ถูกถอนไป ดังนั้นในวันแรกหลังถอนฟันจึงไม่ควรบ้วนปากเอาลิ่มเลือดออก
  • หลังการถอนฟัน อาจมีเลือดซึมบริเวณแผลถอนฟัน ให้กัดผ้าก็อซไว้ให้แน่น อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • หากมีอาการปวดบริเวณแผลถอนฟัน สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
  • หากเลือดออกปริมาณมากหลังถอน เลือดไม่หยุด หรือมีอาการปวดรุนแรงมากหลังถอนฟันไปแล้ว 3-4 วัน หรือพบหนองบริเวณแผลและมีไข้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอนฟันและผ่าฟันคุด

การถอนฟันเป็นหนึ่งในศัลยกรรมช่องปากที่ต้องให้การดูแลหลังการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการถอนฟันได้ เช่น การติดเชื้อ หรือกระดูกเบ้าฟันอักเสบ

ใครหลายคนมักคิดว่า การถอนฟันเป็นเรื่องไกลตัว เพียงแค่ดูแลสุขภาพฟันและช่องปากอย่างดี เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปากและขูดหินปูน ทุกๆ 6 เดือน ก็จะช่วยป้องกันการเกิดฟันผุ ทำให้ไม่จำเป็นต้องถอนฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม นอกจากฟันและฟันกรามผุแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องถอนฟันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ฟันน้ำนมไม่หลุดตามระยะเวลาที่สมควร ฟันคุด ถอนฟันเพื่อจัดฟัน หรือได้รับอุบัติเหตุจนทำให้ฟันแตก หรือรากฟันได้รับความเสียหายจนไม่สามารถอุดฟัน หรือรักษาคลองรากฟันได้

ดังนั้นการรู้จักวิธีดูแลตนเองหลังถอนฟันอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นหลังการถอนฟันกรามผุ หรือหลังการถอนฟันคุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อาการที่พบบ่อยหลังการถอนฟันกราม

ก่อนที่จะไปรู้จักกับวิธีดูแลตนเองหลังถอนฟัน ควรทำความรู้จักอาการหลังการถอนฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อน โดยอาการหลังการถอนฟันกรามที่พบบ่อยนั้นจะเหมือนกับการถอนฟันทั่วไป ดังนี้

1.เลือดออกและเลือดออกไม่หยุด (Hemorrhage)

อาการเลือดซึมหลังการถอนฟันเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากเลือดออกจำนวนมาก หรือมีลิ่มเลือดอยู่ในปาก ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกไม่หยุดนั้นอาจเกิดจากโรคประจำตัว หรือภาวะผิดปกติของผู้เข้ารับการถอนฟัน เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 

รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือมีภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเค โรคตับ รวมทั้งการมีเหงือกอักเสบติดเชื้อตั้งแต่ก่อนถอนฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นหากผู้เข้ารับการถอนฟันมีโรคประจำตัว หรือกำลังรับประทานยารักษาโรคอยู่ ต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อที่ทันตแพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยง และเตรียมวิธีการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

2.ฟกช้ำ หรือห้อเลือด (Ecchymosis)

อาการฟกช้ำ หรือห้อเลือดเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือการผ่าตัดที่ต้องเปิดแผ่นเนื้อเยื่อ (Flaps) กว้างๆ หากไม่บวมมาก ไม่ปวด สามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน 

แต่ถ้าเป็นห้อเลือดขนาดใหญ่ สีม่วงหรือแดงและบวมมากควรพบทันตแพทย์ อาจต้องทำการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อภายหลังได้

สาเหตุของอาการฟกช้ำนั้นเกิดจากการที่มีเลือดซึมใต้เยื่อเมือก (Submucosa) หรือใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) ทำให้บริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นสีคล้ำๆ หรือรอยช้ำ โดยสามารถพบได้ทั้งบริเวณในช่องปาก หรือบนใบหน้า

3.บวมน้ำ (Edema)

อาการบวมน้ำเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อการบาดเจ็บ (Trauma) ที่เกิดขึ้น ซึ่งการถอนฟันนับเป็นการบาดเจ็บอย่างหนึ่ง ดังนั้นการถอนฟันจึงทำให้มีโอกาสเกิดการบวมได้นั่นเอง

ปกติแล้ว ผู้ที่เข้ารับการผ่าฟันคุดจะมีอาการบวมบริเวณใบหน้าข้างที่ผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดจะทำให้เนื้อเยื่อในช่องปากบริเวณดังกล่าวเกิดการบาดเจ็บ จนทำให้เกิดอาการบวมตามมา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการบวมจะบวมมากที่สุดในเวลา 48-72 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน หลังจากนั้นจะค่อยๆ บวมน้อยลงตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากเป็นการถอนฟันธรรมดา แต่ใบหน้าบวมมาก หรือมีอาการบวมมากขึ้นหลังวันที่ 3 ของการถอนฟันอาจเกิดจากการภาวะติดเชื้อได้ ควรไปพบทันตแพทย์ทันที

4.อาการปวดและไม่สบายหลังการผ่าตัด (Pain and Discomfort)

ปกติแล้ว ผู้เข้ารับการถอนฟันจะมีอาการปวดไม่รุนแรงบริเวณแผลถอนฟันหลังการถอนฟันประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากกระบวนการฟื้นฟูของร่างกายเมื่อได้รับบาดเจ็บ

หลังจากนั้นอาการปวดจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ และควรจะหายปวดภายใน 2 วัน หากเกินกว่านั้น หรือปวดมากผิดปกติควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ

5.อ้าปากได้จำกัด (Trismus)

อาการอ้าปากได้จำกัดหลังการถอนฟัน เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว มักพบในเคสที่ถอนฟันยากอย่างการถอนฟันคุด การผ่าตัดฟันกรามล่างซี่ที่ 3 หากมีอาการอ้าปากได้จำกัดควรแจ้งทันตแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งสังเกตได้จากการมีหนองบริเวณแผลถอนฟัน ทันตแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าเอาหนองออก (Incision and drainage)

6.กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Aleveolar osteitis)

กระดูกเบ้าฟันอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังการถอนฟัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • มีกระดูก หรือเนื้อเยื่อได้รับการบาดเจ็บในขณะที่ถอนฟันแบบยาก มักพบในการถอนฟันคุดด้านล่าง
  • ลิ่มเลือดที่ปิดแผลหลุดไปก่อนเวลาอันสมควร

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้น มีอาการแสดงหลังจากถอนฟันไปแล้ว 3-4 วัน

หากผู้เข้ารับการถอนฟันมีอาการปวดอย่างรุนแรงหลังถอนฟันไปแล้ว 3-4 วัน มองเห็นกระดูกในแผลถอนฟันควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที

ทันตแพทย์จะรักษากระดูกเบ้าฟันอักเสบ โดยการลดความเจ็บปวดและคลายการอักเสบด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ แล้วใช้ยาลดอาการปวดเข้าไปในเบ้ารากฟัน

7.การติดเชื้อ (Post operative infection)

แผลหลังถอนฟันติดเชื้อจะสังเกตได้จากการปวด บวม มีไข้ เกิดหนองบริเวณแผลถอนฟัน ซึ่งหนองเกิดจากการตายของเม็ดเลือดขาวจำนวนมากที่เข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง

การติดเชื้อนั้นจะเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ มีการติดเชื้อของฟันบริเวณนั้นอยู่ก่อน หรือผู้เข้ารับการถอนฟันมีความต้านทานต่อการติดเชื้อน้อย ซึ่งทันตแพทย์จะรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว หรือใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าตัดเอาหนองออก

ข้อควรระวังในการรับประทานยาปฏิชีวนะนั้น ผู้ที่รับประทานยาจะต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยาได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น และส่งผลให้มีผลข้างเคียงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

วิธีบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังการถอนฟันกราม

วิธีบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังการถอนฟันกราม รวมไปถึงการถอนฟันอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • ให้กัดผ้าก็อซไว้ให้แน่น อย่างน้อย 1 ชั่วโมง งดการสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดการออกกำลังกายหนัก รวมถึงงดบ้วนปากเพราะจะทำให้เลือดออกจากแผลถอนฟันได้
  • ในกรณีที่เลือดไหลออกมาก หรือไหลไม่หยุด ทันตแพทย์จะทำการเย็บแผลร่วมกับการใช้สารห้ามเลือด เช่น Gel foam หรือ Surgicel (Oxidised cellulose) pack เพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น
  • ในกรณีที่มีรอยช้ำบนใบหน้า สามารถบรรเทาอาการได้โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่มีอาการห้อเลือด ซึ่งเริ่มทำได้หลังการถอนฟันไปแล้ว 3 วันขึ้นไป
  • ในกรณีที่มีอาการบวม สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบเย็น โดยใช้คูลแพ็ค หรือน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้า ประคบบริเวณที่มีอาการบวม ทุกๆ 20 นาที
  • ในกรณีที่มีอาการปวดไม่รุนแรงหลังการถอนฟัน สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล ขนาด 500-1,000 มิลลิกรัม ทุกๆ 4-6 ชั่วโมงจนกว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งปกติแล้วควรหายปวดภายใน 2 วัน
  • ในกรณีที่มีอาการปวดมากหลังการถอนฟัน สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non steroidal anti inflammatory drugs: NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพร็อกเซน (Naproxen) 
  • ทั้งนี้ผู้มีโรคประจำตัว หรือแพ้ยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

คำแนะนำในการดูแลตัวเองหลังถอนฟันกราม เพื่อช่วยให้แผลหลังถอนฟันหายเร็วขึ้น

มีหลายพฤติกรรมที่ควรทำและไม่ควรทำหลังการถอนฟัน ซึ่งจะช่วยให้การดูแลแผลหลังถอนฟันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  • ห้ามแคะ หรือเอาลิ้นดูด ดุนแผลถอนฟันเล่น
  • ในวันแรกสามารถบ้วนปากเบาๆ และแปรงฟันได้ แต่ไม่ควรกลั้วปากแรง และระมัดระวังการแปรงฟันบริเวณแผลถอนฟัน
  • หมั่นบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปากที่ทันตแพทย์จ่ายให้
  • หากทันตแพทย์ให้รับประทานยาปฏิชีวนะ จะต้องรับประทานให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • งดการรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด เพราะอาจทำให้แผลหลังถอนฟันอักเสบได้
  • ในวันแรกหลังการถอนฟัน ควรรับประทานอาหารอ่อน หรืออาหารเหลวที่ไม่ร้อนมากเกินไป เช่น นม โจ๊ก ซุปข้าวโพด ซุปฟักทอง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการสมานแผลอย่างเพียงพอ เช่น โปรตีน ธาตุเหล็กและสังกะสี ไขมันดี หรือวิตามินซี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแผลถอนฟัน

ลักษณะของแผลหลังถอนฟันจะมีลิ่มเลือดมาปกปิดเหนือแผลถอนฟัน ซึ่งลิ่มเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เกิดกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อ หรือเหงือกขึ้นมาทดแทนช่องว่างของฟันที่ถูกถอนไป ดังนั้นผู้เข้ารับการถอนฟันจึงไม่ควรบ้วนปากเพื่อเอาลิ่มเลือดออกนั่นเอง

แม้ว่า การถอนฟันจะดูไม่เป็นอันตรายเท่ากับการทำศัลยกรรมอื่นๆ แต่ถ้าหากดูแลไม่ดีก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน

ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการถอนฟันจึงควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลฟันและช่องปากที่เหมาะสมจากทันตแพทย์ เมื่อเกิดอาการผิดปกติก็ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบทันที เพราะการพบความผิดปกติและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจถอนฟันและผ่าฟันคุด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
T. Hasegawa, et al. A multicenter retrospective study of the risk factors associated with medication-related osteonecrosis of the jaw after tooth extraction in patients receiving oral bisphosphonate therapy: can primary wound closure and a drug holiday really prevent MRONJ? (https://link.springer.com/article/10.1007/s00198-017-4063-7), 9 December 2020.
Manoelito Ferreira Silva-Junior, et al. Oral health condition and reasons for tooth extraction among an adult population (20-64 years old) (https://www.scielosp.org/article/csc/2017.v22n8/2693-2702/en/), 9 December 2020.
อ.ทพ.ดร. คธาวุธ เตชะสุทธิรัฐ, เอกสารประกอบการสอนวิชาคลินิก ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (http://web1.dent.cmu.ac.th/mis/dis/UserFiles/File/surg/manual/surg_manual_57.pdf), 3 ธันวาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
หลังผ่าฟันคุด ห้ามกินอะไร ดูแลอย่างไรไม่ให้แผลติดเชื้อ?
หลังผ่าฟันคุด ห้ามกินอะไร ดูแลอย่างไรไม่ให้แผลติดเชื้อ?

คำแนะนำวิธีดูแลและปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด ตั้งแต่กัดผ้าก๊อซ กินยา แปรงฟัน พูด และรับประทานอาหาร

อ่านเพิ่ม
ผ่าฟันคุด กี่วันหาย? อาการปวด บวม ใช้เวลานานแค่ไหนถึงดีขึ้น?
ผ่าฟันคุด กี่วันหาย? อาการปวด บวม ใช้เวลานานแค่ไหนถึงดีขึ้น?

กังวลอะไรให้ทันตแพทย์ช่วยตอบ! แม้ผ่าฟันคุดจะเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่หลายคนก็กังวล อาจเพราะเคยได้ยินกันบ่อยว่าเจ็บ บวม รวมถึงอาจชาเป็นเดือนหลังผ่า

อ่านเพิ่ม
ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไร ทั้งก่อนและหลังผ่า
ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไร ทั้งก่อนและหลังผ่า

ก่อนกับหลังผ่าฟันคุด ห้ามกินอะไรบ้าง แล้วอะไรที่กินได้

อ่านเพิ่ม