อาการหอบเหนื่อยหรือหายใจลำบากอาจเกิดขึ้นได้จากตัวมะเร็งเองที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปอด เป็นผลข้างเคียงของโรคมะเร็ง หรืออาจจะเป็นผลจากการรักษาโรคดังกล่าว โดยสามารถควบคุมอาการได้ด้วยตนเองร่วมกับการใช้ยาจากแพทย์
อะไรคืออาการหอบเหนื่อยและเกิดขึ้นได้อย่างไร
หากคุณเกิดภาวะนี้ขึ้น คุณจะรู้สึกหายใจไม่สะดวก ไม่โล่ง หายใจไม่ออกคุณอาจหายใจถี่หรือมีอาการแน่นหน้าอกร่วมด้วย มีหลายสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการหายใจหอบเหนื่อย ได้แก่:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- โรคมะเร็งที่ส่งผลต่อปอด
- การสะสมของของเหลวในช่องปอด หรือช่องท้อง
- ระดับเม็ดเลือดแดงต่ำ
- การติดเชื้อในทรวงอก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ความเจ็บปวด
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- การสูบบุหรี่
- ความวิตกกังวล
- ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง
แพทย์ประจำตัวของคุณสามารถอธิบายถึงสาเหตุอาการหอบเหนื่อยของคุณและตัดสินใจทำการรักษาที่เหมาะสมที่สุด แพทย์ของคุณอาจใช้มาตรวัด Borg (Borg scale) เพื่อวัดให้เห็นว่าคุณหายใจโล่งในแต่ละเวลาที่ต่างกันมากเพียงใด ตัววัดดังกล่าวจะใช้ตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 10 โดย 10 จะหมายถึงภาวะที่หายใจไม่ออกอย่างรุนแรง และ 0 คือสามารถหายใจได้โล่งอย่างปกติ คุณสามารถใช้ตัววัดดังกล่าวเพื่อบันทึกอาการเกี่ยวกับอาการหอบเหนื่อยของคุณในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งอาจช่วยให้คุณรู้ว่าสิ่งใดที่ทำให้อาการแย่ลงและสามารถจัดการกิจกรรมเหล่านั้นของคุณได้อย่างเหมาะสม
หากคุณรู้สึกแย่ รู้สึกหดหู่ เศร้าหรืออยากปลีกตัวออกจากผู้อื่นอยู่เสมอเนื่องจากอาการหอบหืดของคุณ ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับยาหรือคำแนะนำต่าง ๆ ที่อาจช่วยคุณได้
การรักษาอาการหายใจหอบเหนื่อย
หากคุณมีอาการหายใจลำบากดังกล่าว มีหลายวิธีของการรักษาที่อาจช่วยบรรเทาอาการของคุณได้ โดยอาจได้แก่ การใช้ยา การบำบัดด้วยออกซิเจน และการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ การรักษาดังกล่าวนั้นอาจช่วยในเรื่องดังต่อไปนี้:
- บรรเทาอาการหายใจหอบ
- ลดความวิตกกังวล และลดความตื่นตระหนก
- ลดการอักเสบในปอด
- ขยายช่องทางเดินหายใจ และเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ
- ละลายเสมหะที่เหนียวข้น
- ลดของเหลวส่วนเกินในปอด
ยาชนิดต่าง ๆ สามารถได้รับในหลายวิธี ได้แก่ การทานยาเม็ด, การฉีดยา รวมถึงการสูดดม โปรดแจ้งแพทย์หรือพยาบาลของคุณทราบ หากว่าคุณมีปัญหาในการกลืนเพื่อหาแนวทางอื่นในการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
มีบุคลากรหลายสาขาจำนวนมากที่สามารถช่วยคุณจัดการกับอาการหายใจหอบได้ พยาบาลเชี่ยวชาญทางคลินิกของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีรับมือกับอาการหอบที่เกิดขึ้น นักกายภาพบำบัดสามารถสอนเทคนิคการหายใจและการปรับท่าทางการทำกิจกรรมประจำวันให้ง่ายขึ้น นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยให้คุณค้นพบวิธีที่ง่ายขึ้นในการทำงานที่บ้าน และอาจเสนออุปกรณ์ต่างๆของคุณสามารถช่วยให้ทำงานบ้านได้สะดวกโดยไม่ต้องเหนื่อยแรง นอกจากนี้ คุณยังอาจได้รับคำแนะนำจากนักโภชนาการเกี่ยวกับอาหารที่ทานง่ายและสะดวกเมื่อคุณเกิดอาการหายใจหอบ
การจัดการกิจวัตรประจำวัน
การหอบใจหอบ หรือหายใจลำบาก อาจส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันของคุณ คำแนะนำสำหรับเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ โดยอาจเป็นสิ่งที่คุณชอบมากที่สุดหรือจำเป็นต้องทำมากที่สุด
- วางแผนล่วงหน้า
- จับเวลาการทำกิจกรรมของตัวเองและหยุดพักเป็นช่วง ๆ
- พยายามนั่งลงเสมอ เวลาซักผ้า ล้างจน แต่งตัว หรือแม้แต่การเตรียมอาหาร
นักกิจกรรมบำบัดอาจแนะนำการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายใจบ้านเพื่อให้ง่ายขึ้นสำหรับการทำกิจวัตรประจำวันของคุณ พวกเขาอาจแนะนำให้ใช้ราวจับตามทางเดิน หรือที่นั่งชักโครกที่ยกสูงขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังอาจแนะนำให้คุณใช้เครื่องมือช่วยเดิน เช่น ไม้เท้าหรือรถเข็น
การออกแรงหรือออกกำลังกายอยู่เสมอนั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากสามารถฟื้นฟูการหายใจของคุณและทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น จำไว้ว่าให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างช้า ๆ และค่อย ๆ ควบคุมการหายใจให้อยู่กับที่ไม่ถี่เกินไป จากนั้น คุณจึงจะสามารถเพิ่มระดับความหนักของกิจกรรมของคุณได้อย่างช้า ๆ
อาการหายใจไม่ออกอาจมีผลต่อการรับประทานอาหารของคุณและทำให้ปากของคุณแห้ง นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อเรื่องเพศสัมพันธ์ของคุณด้วย หากคุณกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเหล่านี้ให้พูดคุยกับ แพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าว
เทคนิคการผ่อนคลายและการหายใจสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
อาการหายใจหอบอาจทำให้บางคนรู้สึกวิตกกังวลหรืออาจทำให้เกิดความตระหนกตกใจขึ้นมาอย่างกะทันหัน ความตกใจหรือความวิตกดังกล่าวสามารถทำให้การหายใจของคุณตื้นลงแต่ถี่ขึ้นไปอีกซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกหายใจหอบถี่มากขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดวงจรของความวิตกกังวลและอาการหายใจลำบากวนซ้ำไปมา
คุณอาจต้องลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้เวลาเกิดอาการขึ้น:
- หายใจให้ช้าลง
- พยายามควบคุมการหายใจให้ลึก และช้า
- ใช้พัดลมแบบมือถือพัดลมเข้าใกล้ใบหน้าของคุณ
- ใช้ยาที่แพทย์สั่ง
หรือคุณอาจต้องการลองใช้เทคนิคการผ่อนคลายเพื่อช่วยควบคุมความวิตกกังวลของคุณ เทคนิคเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณสามารถควบคุมการหายใจเมื่อคุณรู้สึกตื่นตระหนก ให้แน่ใจว่าคุณนั้นกำลังอยู่ในที่ที่สะดวกสบายและเงียบสงบก่อนที่จะเริ่มการผ่อนคลาย คุณอาจพบเทคนิคต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์จากหนังสือหรือซีดีในห้องสมุดท้องถิ่นของคุณ หรือคุณอาจลองดาวน์โหลดคลิปเสียง หรือคลิปวิดีโอเพื่อการผ่อนคลายจากอินเทอร์เน็ตก็ได้เช่นกัน
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/side-effects/breathlessness