วัคซีนงูสวัด

ไขข้อสงสัยวัคซีนงูสวัด ต้องฉีดกี่เข็ม ใครบ้างที่ควรรับวัคซีน
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วัคซีนงูสวัด

โรคงูสวัด (Shingles) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Varicella Zoster Virus (VZV) เป็นไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อก่อโรคอีสุกอีใส โดยผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ครั้งแรกจะเกิดโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ก่อน แต่เมื่อหายจากโรค เชื้อไวรัสนี้จะยังไม่หมดไปจากร่างกาย แต่จะไปหลบอยู่ในบริเวณระบบประสาทแทน

เชื้อไวรัสจะกลับมาอีกครั้งเมื่อผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ ความเครียด โรคภัยไข้เจ็บ หรือการรักษาบางอย่างที่อาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทั้งนี้การฉีดวัคซีนงูสวัดจะช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมานั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใครบ้างที่ควรได้รับวัคซีนงูสวัด

  • วัคซีนงูสวัดเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะคนวัยนี้เมื่อเกิดโรคงูสวัดจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกว่าวัยอื่น
  • ผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด 
  • ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส
  • ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคงูสวัด

ควรได้รับการฉีดวัคซีนงูสวัดเมื่อไร

คุณสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตลอดทั้งปี ณ สถานพยาบาลต่างๆ ที่ให้บริการ

วัคซีนงูสวัดต้องฉีดกี่เข็ม

ในปัจจุบันวัคซีนงูสวัดเป็นการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียว ช่วยปกป้องคุณจากโรคงูสวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella Zoster Virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อก่อโรคอีสุกอีใส ส่วนวัคซีนงูสวัดอีกชนิดหนึ่ง (recombinant) นั้นต้องฉีด 2 เข็ม

วัคซีนงูสวัดให้ผลดีอย่างไร

  • ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดมากกว่าหนึ่งในสาม 
  • เมื่อป่วยเป็นโรคงูสวัดจะช่วยลดความรุนแรงของอาการและจะไม่เกิดขึ้นนาน เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน

ต้องฉีดวัคซีนงูสวัดหรือไม่ หากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน

ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสจำเป็นต้องฉีดวัคซีนงูสวัดเพราะทุกคนมีโอกาสเป็นโรคอีสุกอีใสได้โดยที่ไม่รู้ตัว บางรายอาจป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่แสดงอาการใดๆ ที่บอกว่าเป็นโรคอีสุกอีใสก็ได้

ต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ หากเคยเป็นโรคงูสวัดมาแล้ว

แม้ว่าจะเคยเป็นโรคงูสวัดมาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ วัคซีนงูสวัดจะช่วยลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นโรคงูสวัดอีกครั้ง

มีเหตุผลใดบ้างที่ไม่ควรได้รับวัคซีนงูสวัด

  • มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ เช่น เพิ่งได้รับการรักษาโรคมะเร็ง มีความผิดปกติทางเลือด เช่น ลูคีเมีย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง กำลังรับประทานยาสเตียรอยด์ หรือเคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หากเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความแน่ใจ
  • มีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใดๆ ในวัคซีนงูสวัด หรือวัคซีนโรคอีสุกอีใสที่เคยได้รับก่อนหน้า
  • เป็นวัณโรคที่ไม่ได้รับการรักษา

วัคซีนงูสวัดมีส่วนประกอบของเจลาตินหมู หรือไม่

วัคซีนงูสวัดประกอบด้วยเจลาตินหมูเพียงเล็กน้อย เจลาตินคือ ส่วนประกอบทั่วไปและมีความสำคัญในตัวยาหลายชนิด รวมถึงในบางวัคซีน ในกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น ชาวมุสลิม ชาวยิว ได้ยอมรับการใช้เจลาตินที่บรรจุอยู่ในวัคซีนแล้ว อย่างไรก็ตาม เป็นทางเลือกส่วนบุคคลที่จะรับมาใช้หรือไม่ เพราะยังมีอีกหลายความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป ปัจจุบันยังไม่มีทางเลือกอื่นที่จะไม่ใช้เจลาตินหมูสำหรับวัคซีนงูสวัด

จะรู้ได้อย่างไรว่า วัคซีนปลอดภัย

ยาทุกชนิด (รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) และวัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก

ผลข้างเคียงหลังจากรับวัคซีนงูสวัด

หลังจากได้รับวัคซีนงูสวัดอาจมีผลข้างเคียงตามมา แต่มักไม่เป็นอันตราย ผลข้างเคียงนั้นค่อนข้างไม่รุนแรง และมีระยะเวลาไม่นาน โดย 1 ใน 10 ของผู้ได้รับวัคซีนจะมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดหัว แดง หรือปวดบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่หากได้รับผลข้างเคียงนานเกิน 2-3 วัน ควรติดต่อแพทย์เพื่อดูอาการ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oxman MN; Levin MJ; Shingles Prevention Study Group (March 2008). "Vaccination against Herpes Zoster and Postherpetic Neuralgia" (PDF). The Journal of Infectious Diseases. 197 (Suppl 2): S228–36. doi:10.1086/522159. PMC 4017882. PMID 18419402
Oxman MN, Levin MJ, Johnson GR, et al. (June 2005). "A vaccine to prevent herpes zoster and postherpetic neuralgia in older adults". The New England Journal of Medicine. 352 (22): 2271–84. doi:10.1056/NEJMoa051016. PMID 15930418.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)