กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แรงดึงดูดทางเพศและรสนิยมทางเพศ Sexual Attraction and Orientation

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
แรงดึงดูดทางเพศและรสนิยมทางเพศ Sexual Attraction and Orientation

ไม่ว่าจะชายหรือหญิง เราต่างพบว่าเรามีความคิดเรื่องเพศและให้ความสนใจกับเสน่ห์ทางเพศ ซึ่งความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีความรุนแรงมากขึ้น จนทำให้รู้สึกสับสนในรสนิยมทางเพศของตัวเอง

เนื่องจากเราทุกคนต่างผ่านพ้นช่วงวัยเด็ก เข้าสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเช่นเดียวกับอารมณ์ความรู้สึกของเราด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วัยรุ่น – ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ในช่วงวัยรุ่น ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงมากไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนหรือร่างกายของเราเอง ซึ่งเราจะเริ่มมีอารมณ์ความรู้สึกเรื่องเพศมากขึ้น ทำให้เราอาจสงสัยหรือเป็นกังวลเกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศของตัวเองได้

และการทำความเข้าใจกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา โดยเฉพาะเรื่องของรสนิยมทางเพศ และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเราจะรู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น และจะรู้ว่าตัวเองนั้นมีแรงดึงดูดทางเพศกับเพศใด

รสนิยมทางเพศคืออะไร

รสนิยมทางเพศคือ อารมณ์ความรู้สึก ความรักโรแมนติก หรือแรงดึงดูดทางเพศ ที่คนหนึ่งมีความรู้สึกกับอีกคนหนึ่ง โดยรูปแบบของรสนิยมทางเพศนั้นมีความหลากหลาย เช่น:

  • รักต่างเพศ (Heterosexual) คือ ความรู้สึกสนใจ รักใคร่ และถูกดึงดูดทางเพศกับเพศตรงข้าม เช่นผู้ชายชอบผู้หญิง ผู้หญิงชอบผู้ชาย หรือเรียกอีกอย่างว่า “Straight”
  • รักร่วมเพศ (Homosexual) คือ ความรู้สึกสนใจ รักใคร่ และถูกดึงดูดทางเพศกับเพศเดียวกัน เช่น ผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกันเรียกว่า เลสเบี้ยน (Lesbian) ในขณะที่ผู้ชายชอบผู้ชายจะเรียกว่า เกย์ (Gay) ซึ่งคำว่าเกย์มักใช้ในการอธิบายถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ว่าจะเป็นหญิงกับหญิงหรือชายกับชายก็ได้
  • รักร่วมสองเพศ (Bisexual) คือ ความรู้สึกรักใคร่และสนใจทางเพศกับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
  • การไม่สนใจทางเพศ (Asexual) คือ การไม่มีอารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ หรืออาจมีความสนใจน้อยมากในการมีเพศสัมพันธ์ นั่นคือสามารถรู้สึกรักชอบคนอื่นได้ มีความรักโรแมนติกได้ แต่ไม่ได้อยากจะมีเพศสัมพันธ์ด้วย

ในช่วงวัยรุ่น พบว่าเราจะมีความคิดเรื่องเพศและให้ความสนใจทางเพศ สำหรับบางคนอารมณ์และความรู้สึกเช่นนี้อาจมีความรุนแรงมากขึ้น จนทำให้เกิดความรู้สึกสับสนในรสนิยมทางเพศของตัวเองได้ ซึ่งคุณจะรู้สึกสนใจและรักใคร่เพศเดียวกัน

การมีความสนใจในเพศเดียวกันไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเกย์เสมอไป และการสนใจเพศตรงข้ามก็ใช่ว่าจะมีรสนิยมแบบรักต่างเพศซะทีเดียว ตามธรรมชาติของวัยรุ่น มีความเป็นไปได้ที่คุณอาจเป็นที่สนใจและดึงดูดโดยเพศตรงข้างหรือเพศเดียวกันได้ ทำให้คุณอาจลังเลเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศของตน

บางคนอาจก้าวข้ามความคิดและความรู้สึกไปสู่การทดลองมีประสบการณ์ทางเพศ ไม่ว่ากับเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ทว่าการทดลองดังกล่าวไม่ได้ชี้วัดว่าเขาคนนั้นเป็นเกย์หรือมีรักต่างเพศได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

LGBT คืออะไร

คุณอาจเคยเห็นคำว่า "LGBT" หรือ "LGBTQ" ตามสื่อหรือหน้านิตยสารมาบ้าง ซึ่งคำนี้คือตัวย่อที่ใช้เพื่ออธิบายรสนิยมทางเพศ โดยคำย่อเหล่านี้มาจากคำว่า "lesbian, gay, bisexual, and transgender" หรือ " lesbian, gay, bisexual, transgender, and questioning” ซึ่ง รักข้ามเพศ (Transgender) ไม่นับว่าเป็นรสนิยมทางเพศ แต่เป็นอัตลักษณ์ทางเพศ เพศเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายและผู้หญิง ผู้ที่รักข้ามเพศอาจมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน แต่เขาจะรู้สึกว่าเขาเป็นอีกเพศหนึ่งและมีเพศที่ผิดมาตั้งแต่เกิด

ผู้ที่เป็นรักข้ามเพศมักถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของเลสเบี้ยนและเกย์ กล่าวคือ เป็นกลุ่มของผู้ที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้ชอบเพศตรงข้ามแบบคนรักต่างเพศ (Straight) นั่นเอง

เราจำเป็นต้องเลือกรสนิยมทางเพศของเราด้วยหรือ?

เหตุใดบางคนเลือกที่จะรักข้ามเพศแต่อีกคนเลือกที่จะรักเพศเดียวกัน? เราไม่สามารถหาคำตอบได้! แพทย์และผู้เชื่ยวชาญเชื่อว่า รสนิยมทางเพศนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับชีววิทยา จิตวิทยา และสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ฮอร์โมนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลถึงรสนิยมทางเพศด้วย

แพทย์และผู้เชื่ยวชาญยังเชื่ออีกว่า รสนิยมทางเพศนั้นจะบังคับให้เป็นหรือรู้สึกไม่ได้ ทว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามที่บุคคลนั้นเป็น

การเป็น LGBT ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ยังมีอีกหลายคนมีความคิดเห็นที่แย้งไป  ส่งผลให้ผู้ที่เป็น LGBT มีความรู้สึกอึดอัดและกดดันในสังคม

LGBT เป็นอย่างไรหากเกิดขึ้นกับวัยรุ่น

สำหรับผู้ที่เป็น LGBT พวกเขาจะรู้สึกว่าทุกคนต่างคาดหวังว่าพวกเขาจะต้องรักชอบเพศตรงข้ามเท่านั้น ดังนั้นเขาหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนจะรู้สึกแปลกแยกและแตกต่างจากเพื่อน ในขณะที่เพื่อนๆ เริ่มพูดถึงความสนใจในเพศตรงข้าม ไม่ว่าจะเรื่องของอารมณ์ชื่นชอบ รักใคร่ การออกเดท หรือการมีเซ็กส์ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากการสำรวจในปี 2012 พบว่า 92% ของกลุ่ม LGBT วัยรุ่น ได้ยินเรื่องลบๆ เกี่ยวกับการเป็นเลสเบี้ยน เกย์ ผู้ที่รักร่วมสองเพศ (Bisexual) และรักข้ามเพศ (Transgender)

วัยรุ่นที่เป็น LGBT อาจรู้สึกว่าพวกเขาจะต้องแสร้งทำเป็นรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อยู่ในกลุ่ม LGBT เพื่อให้เพื่อน ครอบครัว และสังคมยอมรับ ทำให้พวกเขาต้องปฏิเสธตัวตนและต้องปิดซ่อนความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ไม่ให้ใครรู้

พวกเขาจะมีความกลัวในอคติ การปฏิเสธ หรือการกลั่นแกล้งจากคนรอบข้างที่เป็นพวกรักข้ามเพศ ดังนั้นผู้ที่เป็น LGBT จึงต้องเก็บงำความรู้สึกของตัวเองไว้เป็นความลับจากเพื่อนและครอบครัว ที่จริงๆ แล้วเพื่อนและครอบครัวควรจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจและสนับสนุนพวกเขามากที่สุด

วัยรุ่นที่เป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนบางคนเท่านั้นที่จะกล้าบอกเพื่อนสนิทและสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศของพวกเขา สิ่งนี้เรียกว่า "การเปิดเผยตัวตน" มีวัยรุ่นที่เป็น LGBT จำนวนมากเปิดเผยตัวตนออกมาและได้รับการยอมรับจากเพื่อน ครอบครัว และสังคม ทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจมากขึ้นที่ได้รับความสนใจจากเพศเดียวกัน แต่ใช่ว่าผู้ที่เปิดเผยตัวตนจะได้รับการยอมรับเสมอไป อย่างไรก็ตาม สังคมในปัจจุบันมีความเข้าใจและยอมรับผู้ที่เป็น LGBT มากขึ้น พบว่าเด็กวัยรุ่นส่วนมากไม่กล้าที่จะปรึกษาผู้ปกครองเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศของตน และยังมี LGBT อีกจำนวนมากต้องอยู่ในครอบครัวและสังคมที่ไม่ให้การยอมรับในสิ่งที่พวกเขาเป็น

ผู้ที่ต้องปิดซ่อนตัวตนเพราะกลัวว่าพวกเขาจะถูกแปลกแยกและคุกคามหรือกลั่นแกล้งนั้นมักมีปัญหาทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจ เช่น เกิดความวิตกกังวลหรือมีอาการซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ที่เป็น LGBT

ที่ไม่ได้รับการยอมรับมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีปัญหาที่โรงเรียน ในสังคม หรือมีพฤติกรรมใช้ยาเสพติด และทำร้ายร่างกายตัวเองได้

จริงๆ แล้วไม่ว่าใครหรือเพศใดก็ต่างมีความกังวลเกี่ยวกับ โรงเรียน การร่วมทีมกีฬา หรือการเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ ทว่าผู้ที่เป็น LGBT อาจมีความกังวลเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเพราะการที่จะต้องปิดซ่อนตัวตนไว้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับวัยรุ่นที่เป็น LGBT ทุกคน เพราะพวกเขาเหล่านี้ได้รับการยอมรับและสนับสนุนอย่างดีจากคนในครอบครัวและเพื่อนๆ

ความสำคัญของการพูดคุย

ผู้ที่เป็น LGBT หรือ LGBTQ พบว่าการมีเซ็กส์และการมีความสัมพันธ์ของพวกเขานั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้น พวกเขาจึงต้องพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกสับสนที่เกิดขึ้นกับใครสักคน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ผู้ใหญ่ที่ไว้ใจ เพื่อนสนิท พี่-น้อง หรือครูที่ปรึกษา

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพูดคุยเรื่องนี้กับใครสักคน แต่พบว่าการพูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจส่งผลดีมากกว่าการเก็บงำความลับไว้คนเดียว

มีหลายชุมชนที่กลุ่ม LGBT เปิดโอกาสกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหาเช่นเดียวกันในชุมชนได้พูดคุยและแชร์ประสบการณ์ระหว่างกัน โดยมีนักจิตวิทยา จิตแพทย์ แพทย์ทางด้านครอบครัว หรือที่ปรึกษาวัยรุ่น สามารถช่วยให้

คำแนะนำกับกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขกับสิ่งที่เป็น นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถให้คำแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตร่วมกับคนรอบข้างภายใต้แรงกดดัน การล่วงละเมิด และการคุกคาม ที่คนเหล่านี้อาจเผชิญในสังคม

ไม่ว่าคุณจะมีรสนิยมทางเพศอย่างไร หรืออาจยังไม่แน่ใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ ต่างมีข้อสงสัยและความกังวลเกิดขึ้นมากมาย เช่น พัฒนาการทางร่างกายและสุขภาพทางเพศของตนว่าตนเองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายปกติดีหรือไม่ พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติ หรือวิธีการเลี่ยงการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ดังนั้น คุณควรพบแพทย์ นักจิตวิทยา ครูที่ปรึกษา หรือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

ความเชื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ในปัจจุบัน ทัศนคติเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศและการยอมรับในความแตกต่างทางเพศมีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปในทางบวกมากขึ้น แต่อาจไม่ทุกคนที่เป็น LGBT จะรู้สึกสะดวกใจเกี่ยวกับแนวโน้มดังกล่าว เพราะยังคงมีผู้ที่ไม่ยอมรับพวกเขา อย่างไรก็ตาม การมีรสนิยมในเพศเดียวกัน จึงไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อย่างที่เคยเป็นมาตั้งแต่อดีตอีกต่อไป

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/sexual-orientation.html

 


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sexual Orientation. Psychology Today. (https://www.psychologytoday.com/us/basics/homosexuality)
What Are the Different Types of Sexuality? 46 LGBTQIA+ Terms to Know. Healthline. (https://www.healthline.com/health/different-types-of-sexuality)
Sexual Attraction and Orientation (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/sexual-orientation.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป