ความไวต่อแสงและเสียงกับโรคไมเกรน สัมพันธ์กันอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความไวต่อแสงและเสียงกับโรคไมเกรน สัมพันธ์กันอย่างไร?

โรคไมเกรนเป็นโรคที่ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะเท่านั้น แต่มันยังสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือแม้แต่มีความไวต่อแสงและเสียง ทั้งนี้เสียงที่ดัง หรือแสงที่สว่างจ้าที่ไม่ได้รบกวนคนส่วนใหญ่อาจทำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรนเจ็บปวดเป็นอย่างมาก สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูความเชื่อมโยงของความไวต่อแสงและเสียงกับโรคไมเกรนพร้อมกับแนะนำวิธีแก้ปัญหา แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

ความไวต่อแสงและเสียง

เมื่อเริ่มเป็นโรคไมเกรน เส้นประสาทในสมองจะทำงานมากกว่าปกติ เซลล์เหล่านี้จะส่งสัญญาณที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว และปล่อยสารเคมีที่ทำให้เส้นเลือดอักเสบ ส่งผลให้คุณรู้สึกปวดตุบที่ศีรษะ ทั้งนี้แสงสว่างอย่างแสงที่มาจากหน้าจอโทรทัศน์ แสงสะท้อนจากหน้าต่าง หรือเสียงดังก็สามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าว และเมื่อคุณปวดศีรษะ  คุณอาจมีความไวต่อทั้งแสงและเสียงเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทั้งนี้อาการปวดศีรษะเป็นหนึ่งในอาการของโรคไมเกรน ซึ่งนักวิจัยพบว่าคนที่เป็นโรคไมเกรนจะมีสมองส่วนที่ประมวลผลเกี่ยวกับแสงและเสียงที่ทำงานได้อย่างแข็งขันมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคไมเกรน และนั่นก็จะทำให้เกิดการตอบสนองที่รุนแรงกว่า

อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคไมเกรนประมาณ 80% มีความไวต่อแสง หรือที่เรียกว่าตาไม่สู้แสง (Photophobia) ซึ่งคนที่เป็นโรคไมเกรนบางครั้งมีแนวโน้มที่ดวงตาไวต่อแสงน้อยกว่าคนที่เป็นโรคไมเกรนเรื้อรัง นักวิจัยคิดว่าภาวะตาไม่สู้แสงเริ่มต้นที่ประสาทตา ซึ่งจะส่งสัญญาณจากดวงตาไปยังสมอง การตอบสนองอาจรุนแรงมากจนถึงขั้นที่ผู้ป่วยอาจต้องใส่แว่นตาดำ หรือต้องนอนอยู่ในห้องมืดเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ร่างกายของผู้ป่วยอาจมีความไวต่อเสียงเช่นกัน

สิ่งที่สามารถทำได้

การบรรเทาอาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคไมเกรนนั้นสามารถทำได้โดยการทานยา ซึ่งมียา 2 ประเภทดังนี้

  • ยาช่วยป้องกันที่ต้องทานทุกวันเพื่อให้อาการที่กำเริบบ่อยครั้งลดลง ตัวอย่างเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า เบต้า บล็อกเกอร์ ยากันชัก ฯลฯ ซึ่งยาเหล่านี้สามารถช่วยยับยั้งอาการปวดศีรษะไม่ให้เกิดขึ้น
  • ยาที่ช่วยรักษาแบบฉับพลันอย่างทริปแทน (Triptans) และเออร์กอต (Ergots) ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการเมื่อคุณปวดศีรษะ นอกจากนี้มันยังช่วยลดอาการไวต่อเสียงและแสง ซึ่งยาจะทำงานได้ดีที่สุดถ้าคุณทานทันทีหลังมีอาการปวดศีรษะ

อย่างไรก็ดี คุณสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งที่บ้านหรือที่ทำงานเพียงเล็กน้อยเพื่อรับมือกับแสงและเสียง

วิธีรับมือกับอาการไวต่อแสง

  • ใช้มู่ลี่ปิดหน้าต่างเพื่อป้องกันแสงแดด
  • ใช้แสงไฟที่มีความนุ่มนวล
  • ไม่ใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซ็นท์ เพราะแสงกระพิบสามารถทำให้เกิดโรคไมเกรนในบางคน
  • ติดตั้งไฟให้อยู่ห่างจากบริเวณที่อาจทำให้เกิดแสงสะท้อนและทำให้เกิดแสงจ้า ตัวอย่างเช่น ใกล้กระจก โทรทัศน์ กำแพง หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์
  • ปรับความสว่างและมุมของหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อลดแสงจ้าและการสะท้อน
  • คนส่วนมากที่เป็นโรคไมเกรนจะมีความไวต่อแสงสีแดงและแสงสีน้ำเงิน ทั้งนี้การใส่แว่นกันแดดชนิดพิเศษสามารถกรองแสงเหล่านี้ได้

วิธีรับมือกับอาการไวต่อเสียง

  • หลีกเลี่ยงการไปคอนเสิร์ต ชมภาพยนตร์ งานเลี้ยงสังสรรค์ หรือสถานที่ๆ มีเสียงดัง
  • ใส่หูฟังหรือที่อุดหูที่สามารถป้องกันเสียงดังได้
  • ใช้ผ้าม่านปิดหน้าต่าง และใช้พรมที่หนาเพื่อดูดเสียงภายในบ้าน
  • เปิดเสียงรบกวนที่ทำให้สบายใจ (White noise) ที่สามารถช่วยกลบเสียงดังได้

ที่มา: https://www.webmd.com/migraine...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Migraine - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/migraine/symptoms/)
Silent migraine: Symptoms, causes, treatment, prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323011)
Migraines Caused By Light & Sound Sensitivity. WebMD. (https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraine-lights-noises)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป