การใช้ยาในผู้สูงอายุ

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การใช้ยาในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่ทำให้อาจเกิดผลข้างเคียงจากยาได้ง่าย มีการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลงไม่เหมือนวัยหนุ่มสาว นอกจากนี้ยังเจ็บป่วยมีโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคทำให้ต้องใช้ยาหลายชนิด โดยเฉลี่ยแล้วผู้สูงอายุมักได้รับยา 4-5 ชนิดตามแพทย์สั่ง และอีก 2 ชินจากการซื้อหามาเอง ผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดปัญหาจากการใช้ยาได้มาก โดยพบว่าผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียงจากยาถึง 1 ใน 3 เป็นผู้ป่วยสูงอายุและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 10-20 และที่สำคัญคือ 2 ใน 3 ของผลข้างเคียงเหล่านี้สามารถป้องกันได้

สาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  • ผู้สูงอายุมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยามีผลต่อกัน
  • ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไตทำงานได้ลดลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลงอาจมีอาการสับสนได้ จากการใช้ยาที่คนหนุ่มสาวกินแล้วไม่เป็นอะไร
  • ปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ อาจเนื่องจากปัญหาด้านร่างกายและจิตใจที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ เช่น ปัญหาด้านการเดินทาง ด้านการเงิน หรือาจเกิดจากความเชื่อที่ชอบซื้อยามากินเองหรือเอายาเก่า ๆ ที่เคยได้รับมากินเอง
  • การสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การใช้ยากลุ่มที่ผู้สูงอายุมีโอกาสสูงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยา

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีผลต่อการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  • การดูดซึมยาลดลง แต่มักไม่ค่อยเกิดปัญหามากนักในผู้สูงอายุ
  • การกระจายตัวของยา ผู้สูงอายุมีสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้นและมีน้ำในร่างกายลดลง ทำให้ยาหลายชนิดมีระดับยาสูงขึ้นในร่างกาย อาจเกิดพิษได้ง่ายและยาออกฤทธิ์นานกว่าปกติ
  • เมแทบอลิซึมของยาหรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อตับเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ตับมีขนาดเล็กลงและเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ทำให้มีโอกาสที่ยาจะคั่งค้างสูง
  • การกำจัดยาทางไต ทำได้ลดลง เนื่องจากไตมีการทำงานลดลงตามอายุ จึงอาจทำให้ขับยาออกจากร่างกายไม่ได้

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อการใช้ยา เช่น มีความไวต่อยาบางชนิดมากขึ้น ในขณะที่มีความไวต่อยาบางชนิดลดลง สิ่งเหล่านี้จึงอาจก่อให้เกิดปัญหากับการสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การป้องกันปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ

วิธีการป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ สามารถทำได้ ดังนี้

  • มีชื่อยาที่ใช้ ชื่อโรคที่เป็น และชื่อยาที่เคยแพ้ ติดตัวไว้และแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ
  • พยายามเริ่มต้นการรักษาแบบไม่ใช้ยาก่อนเสมอ เช่น ถ้าท้องผูกควรรักษาด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ และกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง
  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ และติดตามการรักษากับแพทย์เป็นระยะ อย่านำตัวอย่างยาเดิมไปซื้อมากินเอง เนื่องจากบางครั้งต้องมีการปรับเปลี่ยนยาตามสภาพร่างกายและโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
  • นำยาทั้งหมดที่กิน ไม่ว่าจะได้รับจากที่ใด ไปให้แพทย์ตรวจเช็กเป็นระยะ
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง และหลีกเลี่ยงยาสมุนไพร ยาหม้อและยาลูกกลอน เนื่องจากยาเหล่านี้อาจมีผลเสียต่อร่างกาย
  • ตรวจดูวันหมดอายุของยา โดยทั่วไปยาที่ได้รับมาจะยังมีระยะเวลาก่อนหมดอายุนานพอควร อย่างไรก็ตามถ้าใช้ยาเก่าที่เหลืออยู่ ควรมั่นใจว่ายายังไม่หมดอายุ แต่ทางที่ดีที่สุดคือ พยายามอย่าเก็บยาที่เหลือ ไว้กินในวันหน้า เนื่องจากยาอาจหมดอายุ หรือครั้งต่อไปที่ไม่สบายอาจไม่ควรใช้ยาตัวเดิมแล้ว
  • ก่อนจะหยุดยาที่ได้รับมา ควรปรึกษาและแจ้งให้แพทย์ทราบถึงสาเหตุที่จะหยุดยานั้น เช่น เกิดผลข้าง ยาไม่ได้ผล วิธีการใช้ยาซับซ้อนเกินไป ยาแพงเกินไป
  • ควรรักการรักษาและติดตามกับแพทย์คนเดิม เนื่องจากจะทราบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยตลอด แต่หากต้องรักษากับแพทย์มากกว่า 1 คน ต้องนำประวัติเก่าและรายการยาที่ใช้อยู่มาแจ้งให้แพทย์ทุกคนทราบ
  • ถ้าเกิดงูสวัดขึ้น อาจติดต่อไปสู่เด็กหรือสตรีมีครรภ์ที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อหรือฉีดวัคซีนมาก่อน ทำให้เกิดอีสุกอีใสได้ (ไม่ใช่เกิดงูสวัด) จึงควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลเหล่านี้ในช่วงที่มีผื่น

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
These common drugs may increase dementia risk. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325553)
FastStats - Therapeutic Drug Use. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/nchs/fastats/drug-use-therapeutic.htm)
Drug therapy in the elderly. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15582289)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
บ้านคือสถานพำนักใจ
บ้านคือสถานพำนักใจ

สถานการณ์อาจเปลี่ยนไป แต่การดูแลผู้ป่วยที่บ้านยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

อ่านเพิ่ม
Health at Home บริการใหม่หัวใจไทย
Health at Home บริการใหม่หัวใจไทย

บริการดี ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน

อ่านเพิ่ม