ความปลอดภัยของทารกและเด็กวัยเตาะแตะ
ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีประมาณ 40,000 คนที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังจากประสบอุบัติเหตุ และมีหลายอุบัติเหตุที่เราสามารถป้องกันได้ สำหรับวิธีการป้องกันอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นกับทารกหรือเด็กวัยเตาะแตะมีดังนี้
อาการสำลัก
ทารกและเด็กวัยเตาะแตะมักสำลักอาหาร นอกจากนี้เด็กเล็กบางคนอาจนำวัตถุที่มีขนาดเล็กเข้าปาก ซึ่งสามารถทำให้เขาสำลัก สำหรับสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสำลักมีดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- หากคุณให้ทารกกินนมจากขวดนม คุณควรถือขวดให้ทารกในขณะที่เขากินเสมอ
- เก็บวัตถุชิ้นเล็กๆ เช่น กระดุม เหรียญ และชิ้นส่วนของๆ เล่นชิ้นเล็กๆ ให้พ้นจากมือเด็ก
- เมื่อทารกเริ่มกินอาหารแข็ง ให้คุณตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งทารกสามารถสำลักอาหารบางประเภทที่แม้ว่ามีขนาดเล็กเทียบเท่าองุ่น
- ไม่ให้เด็กเล็กกินอาหารแข็ง เช่น ลูกกวาด หรือถั่วเต็มเมล็ด
- เก็บแบตเตอรีที่ทำมาจากเงินและมีขนาดเล็กให้พ้นจากมือของเด็กเล็ก เพราะหากเขากลืนเข้าไป นอกจากมันจะติดคอจนทำให้เขาหายใจไม่ออกแล้ว มันก็สามารถทำให้เกิดอาการแสบร้อนอย่างรุนแรงภายในร่างกาย
- เมื่อเด็กทานอาหาร ให้คุณอยู่กับเขาด้วย และบอกให้ลูกนั่งนิ่งๆ ในขณะที่ทานอาหาร เพราะการวิ่งไปรอบๆ ในขณะที่ทำกิจกรรมดังกล่าวสามารถทำให้เขาสำลักอาหาร
- เก็บของเล่นที่ออกแบบมาเพื่อเด็กโตให้พ้นจากมือของทารกและเด็กวัยเตาะแตะ เพราะมันอาจมีชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายหากเด็กกลืนเข้าไป
การขาดอากาศหายใจ
คุณไม่ควรให้ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีใช้หมอนหรือผ้านวม เพราะมันสามารถทำให้เขาหายใจไม่ออกหากหมอนหรือผ้าปิดใบหน้า ซึ่งเด็กวัยนี้ไม่สามารถดันผ้านวมออกจากใบหน้าได้เหมือนกับผู้ใหญ่
หากคุณอุ้มทารกโดยใช้ Sling ให้คุณอุ้มทารกโดยกอดเขาให้แน่นและอยู่ในตำแหน่งที่คุณมองเห็น ใกล้พอที่สามารถจูบ และอย่าให้คางของเขาอยู่ใกล้หน้าอกของตัวเอง รวมถึงให้คุณพยุงหลังของเขา
นอกจากนี้ให้คุณเก็บถุงพลาสติกซึ่งหมายความรวมถึงกระเป๋าผ้าอ้อมให้ห่างจากมือและสายตาของเด็ก โดยให้วางห่างจากเตียงนอนของทารกเพื่อไม่ให้เขาสามารถเอื้อมถึงและนำมาวางที่จมูกและปากของตัวเอง
การขาดอากาศหายใจเนื่องจากมีบางสิ่งรัดคอ
- ไม่ผูกหูกระต่ายที่เสื้อของทารก เพราะเนคไทหรือริบบิ้นสามารถรัดคอของเขา
- ผูกผ้าม่านหรือเลื่อนมูลี่ โดยเก็บสายต่างๆ ให้พ้นจากมือของเด็ก
- ไม่วางเชือกหรือวัสดุที่เป็นเส้นชนิดใดๆ ก็ตามเรี่ยราดตามพื้น ซึ่งหมายความรวมถึงเชือกสำหรับผูกชุด และถุงผ้าที่มีเชือก
- หากช่องว่างระหว่างราวระเบียงหรือบันไดกว้างมากกว่า 6.5 ซม (2.5 นิ้ว) ให้คุณใช้แผ่นไม้หรือตาข่ายคลุมเอาไว้ เพราะทารกที่ตัวเล็กอาจเบียดลำตัวผ่านเข้าไปในช่องว่าง
- เก็บของเล่นหรือชุดอุปกรณ์ทำสวนสำหรับเด็กให้อยู่ห่างจากราวตากผ้าเพื่อไม่ให้เด็กสามารถยืนด้านบนและสัมผัสกับราวตากผ้า
- หลีกเลี่ยงการใช้กันชนในเปลเด็ก เพราะมันอาจทำให้เด็กสำลัก ขาดอากาศหายใจ และมีบางสิ่งรัดคอจนทำให้หายใจไม่ออก
การหกล้มในทารก
ทารกจะเรียนรู้การบิดตัวและเตะ หลังจากนั้นไม่นานเขาจะสามารถกลิ้งตัว ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถกลิ้งตกเตียงและโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม สำหรับสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกบาดเจ็บมีดังนี้
- เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกบนเสื่อสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมบนพื้น
- อย่าปล่อยให้ทารกอยู่บนเตียง โซฟา หรือโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมเพียงลำพังแม้ว่าเป็นเวลาสั้นๆ เพราะเขาสามารถ กลิ้งตกลงจากโต๊ะ
- วางเปลไกวเด็กหรือคาร์ซีทบนพื้นแทนที่จะวางไว้บนโต๊ะ เพราะเมื่อทารกบิดตัว มันก็สามารถทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวล้มคว่ำ
- จับราวบันไดเมื่ออุ้มทารกขึ้นลงบันได และต้องมั่นใจว่าไม่มีของเล่นหรือสิ่งของอื่นๆ วางขวางบริเวณบันได
- ดูเท้าของตัวเองขณะเดินอุ้มลูก เพราะคุณอาจสะดุดของเล่นจนล้ม
- ใช้ตัวล็อคที่มีที่ล็อคลำตัว 5 จุดเพื่อให้ทารกปลอดภัยเมื่อเขานั่งบนเก้าอี้สูงหรือรถเข็นเด็ก
เมื่อทารกเริ่มคลาน
เมื่อทารกเรียนรู้ที่จะคลาน ทารกอาจพยายามปีนป่ายสิ่งของ เช่น โซฟา ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่เขาจะหกล้มเพิ่มขึ้น สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้ทารกที่อยู่ในวัยกำลังคลานบาดเจ็บมีดังนี้
- วางแผงกั้นบริเวณทางขึ้นลงบันไดเพื่อไม่ให้ทารกปีนขึ้นไปได้
- ปิดแผงกั้นให้สนิทหลังจากที่คุณเดินขึ้นบันได หากช่องว่างระหว่างราวระเบียงหรือบันไดกว้างมากกว่า 6.5 ซม. ให้คุณใช้ไม้กระดานหรือตาข่ายกั้นไว้
- วางเฟอร์นิเจอร์ที่เตี้ยให้ห่างจากหน้าต่าง และทำหน้าต่างที่พอดีกับตัวล็อค หรือ Safety Catches ที่จำกัดความกว้างให้น้อยกว่า 6.5 ซม. เพื่อไม่ให้ทารกปีนออกมา
- นำของเล่นหรือกันชนในเปลออกไป เพราะทารกสามารถปีนป่ายและอาจตกลงมาจากเปล
การหกล้มในเด็กวัยเตาะแตะ
เมื่อเด็กวัยเตาะแตะเริ่มเดิน เขาจะยืนได้ไม่มั่นคง แต่สามารถเคลื่อนไหวได้เร็วมาก ซึ่งพวกเขามีแนวโน้มที่จะสะดุดและล้ม สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เด็กวัยเตาะแตะบาดเจ็บมีดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ใช้แผงกั้นที่ด้านบนและด้านล่างบันไดจนกว่าทารกมีอายุอย่างน้อย 2 ปี
- เริ่มสอนให้เด็กรู้วิธีขึ้นบันได แต่ห้ามให้เด็กขึ้นลงบันไดด้วยตัวเอง
- ไม่ให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปีนอนเตียงสองชั้นที่ชั้นบน เพราะเขาสามารถร่วงหล่นได้อย่างง่ายดาย
- เก็บเฟอร์นิเจอร์ที่เตี้ยให้ห่างจากหน้าต่าง และต้องมั่นใจว่าหน้าต่างพอดีกับตัวล็อคหรือ Safety Catches
- ใช้สายรัดลำตัวแบบ 5 จุดต่อไปเมื่อเด็กอยู่บนเก้าอี้สูงหรือรถเข็น
- เก็บกรรไกร มีด และมีดโกนให้พ้นจากมือเด็ก
- มีอุปกรณ์พิเศษบางชนิดที่สามารถช่วยให้ประตูปิดสนิท ทำให้ช่วยป้องกันไม่ให้นิ้วของเด็กติดที่ประตู
- หากเฟอร์นิเจอร์มีมุมแหลม ให้คุณใช้อุปกรณ์ป้องกันกระแทกมุมโต๊ะเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะของเด็กได้รับบาดเจ็บ
การได้รับสารพิษ
ยาเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีนอนโรงพยาบาลเนื่องจากได้รับสารพิษ โดยคิดเป็นจำนวนมากกว่า 70% ซึ่งยาแก้ปวดทั่วไปอย่างยาพาราเซตามอลและไอบูโพรเฟนถือเป็นตัวการสำคัญ สำหรับสิ่งที่เราอยากแนะนำมีดังนี้
- เก็บยาทุกชนิดในกล่องให้มิดชิดหรือสูงเกินกว่าที่เด็กจะเอื้อมถึงและมองเห็น
- เก็บผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดไว้บนที่สูงพ้นจากมือเด็ก ซึ่งหมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ หากไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ให้คุณใส่ Safety Catches ในตู้วางของที่เตี้ย และเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารที่ทำให้เกิดรสขม ซึ่งทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะกลืนน้อยลง
- ตรวจสอบว่าฝาขวดและฝาปิดภาชนะปิดแน่นเสมอเมื่อไม่ได้นำออกมาใช้ รวมถึงให้จำไว้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า Child-Resistant หรือป้องกันไม่ให้เด็กใช้ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่มันจะชะลอให้เด็กเปิดอุปกรณ์ได้ช้าลง
- เก็บบุหรี่ไฟฟ้าให้พ้นจากสายตาและมือของทารกและเด็กวัยเตาะแตะ ทั้งนี้นิโคตินเป็นสารพิษ และสามารถทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อเด็กเล็ก
- ตรวจสอบสวนของตัวเองว่ามีพืชที่มีพิษหรือไม่ และสอนให้ลูกไม่ทานสิ่งใดๆ ก็ตามที่เขาหยิบได้เมื่ออยู่นอกบ้านจนกว่าจะได้ตรวจสอบกับผู้ใหญ่
แผลไหม้และแผลน้ำร้อนลวก
ผิวของทารกไหม้ได้ง่ายกว่าผิวของผู้ใหญ่ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องดูแลผิวของทารกมากเป็นพิเศษ
- เมื่อถึงช่วงเวลาอาบน้ำ ให้คุณเปิดน้ำเย็นใส่อ่างอาบน้ำแล้วค่อยใส่น้ำร้อนลงไป จากนั้นให้คุณเช็คอุณหภูมิของน้ำโดยใช้ข้อศอกก่อนที่จะให้ลูกลงไปแช่ตัวและให้คุณอยู่กับเขาตลอดเวลาที่อาบน้ำ
- ทารกและเด็กวัยเตาะแตะจะคว้าวัตถุที่มีสีสันสดใส เช่น แก้วมัค หากคุณกำลังดื่มเครื่องดื่มที่ร้อน ให้คุณรีบวางแก้วลงก่อนที่จะอุ้มทารก นอกจากนี้ให้คุณวางน้ำร้อนให้อยู่ไกลจากเด็กเล็ก ซึ่งเครื่องดื่มร้อนยังคงสามารถลวกผิวของเราหากอยู่ในช่วง 15 นาทีหลังจากทำเครื่องดื่ม
- หลังจากที่อุ่นนมขวด ให้คุณเขย่าขวด และทดสอบอุณหภูมิโดยหยดนมลงบนข้อมือก่อนให้ทารกกิน ซึ่งนมควรจะอุ่น
- หลีกเลี่ยงการนำขวดนมไปอุ่นในไมโครเวฟ แต่ให้ใช้เครื่องอุ่นนม หรือเหยือกที่มีน้ำร้อนแทน
- เด็กวัยเตาะแตะจะเล่นกับทุกสิ่งที่เขาสามารถคว้าได้ ดังนั้นให้คุณเก็บไม้ขีดไฟกับไฟแช็คให้พ้นจากสายตาและมือของเด็ก
- ในขณะที่ทำอาหาร ให้เลือกใช้เตาด้านในและหันด้ามจับกระทะไปด้านหลังเพื่อไม่ให้เด็กสามารถจับได้
- เมื่อคุณใช้เครื่องยืดผมตรงเสร็จแล้ว ให้คุณเก็บเครื่องดังกล่าวไว้ในบริเวณที่เด็กเอื้อมไม่ถึงในระหว่างที่เครื่องเย็นตัว และต้องมั่นใจว่าลูกไม่สามารถคว้าสายไฟในขณะที่คุณกำลังใช้
- เก็บแบตเตอรีก้อนกระดุมให้อยู่ห่างจากทารกและเด็กเล็ก เพราะมันสามารถทำให้เกิดอาการแสบร้อนภายในหากเขากลืนเข้าไป
การจมน้ำ
ทารกสามารถจมน้ำแม้ว่าน้ำสูงเพียงแค่ 5 ซม. ซึ่งการจมน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเสียชีวิต และมักเกิดขึ้นแบบเงียบๆ โดยที่คุณอาจไม่ได้ยินเสียงร้องหรือเสียงตะเกียกตะกาย
ทั้งนี้อ่างอาบน้ำถือเป็นสถานที่ทั่วไปที่ทำให้ทารกและเด็กเล็กจมน้ำ ดังนั้นคุณควรอยู่กับทารกหรือเด็กวัยเตาะแตะตลอดช่วงเวลาที่เขาอยู่ในอ่างอาบน้ำ และคุณไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่เพียงลำพังแม้ว่าเป็นเวลาสั้นๆ หรือมีพี่น้องคนอื่นๆ อยู่ในอ่างอาบน้ำด้วย สำหรับคำแนะนำอื่นๆ มีดังนี้
- หากคุณใช้เก้าอี้อาบน้ำเด็ก คุณก็ยังจำเป็นต้องอยู่กับทารกตลอดเวลา
- ปล่อยให้น้ำออกจากอ่างทันทีที่คุณพาลูกออกจากอ่างน้ำ
- หากมีบ่อน้ำในสวน ให้คุณล้อมรั้ว ถมที่ หรือใช้บางสิ่งปกคลุม
- ปล่อยน้ำออกจากสระน้ำตื้นๆ ขนาดเล็กสำหรับเด็กทันทีหลังใช้
- ล้อมรั้วบริเวณสวนให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าไปในสวนของเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจมีบ่อน้ำ หรือบ่ออื่นๆ ที่ทำให้เด็กจมน้ำ
เมื่อไฟไหม้บ้าน
การเกิดไฟไหม้บ้านเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของเด็ก ควันจากไฟสามารถฆ่าเด็กได้ในเวลาไม่กี่นาที สำหรับสิ่งที่เราอยากแนะนำมีดังนี้
- ดับบุหรี่และกำจัดบุหรี่อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะช่วงกลางคืนหรือเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย
- ติดสัญญาณดักจับควันทุกชั้นที่บ้าน ทดสอบสัญญาณทุกสัปดาห์ และเปลี่ยนแบตเตอรีทุกปี
- ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเข้านอน
- วางแผนหลบหนี และสอนสิ่งที่ลูกควรทำเมื่อเกิดไฟไหม้
- ซ้อมแผนที่วางไว้เป็นประจำ
- เก็บไม้ขีดไฟและไฟแช็คให้ห่างจากมือเด็ก
การบาดเจ็บที่เกี่ยวกับกระจก
แก้วที่แตกสามารถทำให้เกิดบาดแผลตัดที่ร้ายแรง วิธีที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้อาจช่วยให้ลูกของคุณปลอดภัย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ใช้ประตูและหน้าต่างที่เป็นกระจกนิรภัย
- ใช้ฟิลม์กันกระจกแตก
- เก็บกวาดกระจกหรือแก้วที่แตกอย่างรวดเร็วและอย่างปลอดภัย โดยให้คุณห่อกระจกในหนังสือพิมพ์ก่อนที่จะทิ้งลงในถังขยะ
การรักษาความปลอดภัยเมื่ออยู่กลางแสงแดด
การให้เด็กสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เขาเป็นโรคมะเร็งผิวหนังในภายหลัง หากเกิดผิวไหม้ มันก็สามารถทำให้ลูกรู้สึกเจ็บและไม่สบายตัวในระยะสั้น
วิธีช่วยให้เด็กปลอดภัยเมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดด
- บอกให้ลูกเล่นในบริเวณที่มีร่มเงา เช่น ใต้ต้นไม้ โดยเฉพาะเวลา 11.00-15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แดดแรงมากที่สุด
- ไม่ให้ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงโดยเฉพาะในช่วงเที่ยงวัน
- ทาครีมกันแดดบริเวณผิวที่โดนแสงแดดแม้ว่าวันนั้นเป็นวันที่มีเมฆมากหรือมืดครึ้ม ทั้งนี้ให้คุณใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 หรือมากกว่านี้ และสามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
- อย่าลืมทาครีมกันแดดที่หัวไหล่ จมูก หู แก้ม และบนฝ่าเท้า และให้คุณทาครีมกันแดดตลอดวัน
- ทาครีมกันแดดบริเวณหัวไหล่ และด้านหลังคอของลูกมากเป็นพิเศษในขณะที่เขาเล่น เพราะมักเป็นบริเวณที่ผิวไหม้
- ให้ลูกใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ที่ทำมาจากผ้าฝ้าย เช่น เสื้อ T-shirt แบบ Oversized กับ Sleeve
- ให้ลูกใส่หมวกที่มีปีกกว้าง ซึ่งสามารถช่วยกันไม่ให้แสงแดดสัมผัสกับใบหน้าและคอ
- หากลูกของคุณว่ายน้ำ ให้คุณทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 หรือมากกว่านี้ให้ลูก และให้ทาซ้ำหลังจากที่เขาอาบน้ำ
อุบัติเหตุที่เกิดกับทารก
เด็กเล็กส่วนมากได้รับบาดเจ็บและประสบอุบัติเหตุ แม้ว่าการบาดเจ็บที่ว่าอยู่ในระดับเบา แต่การรู้ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บร้ายแรงก็เป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างไรก็ดี คุณอาจเริ่มจากเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือทบทวนสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว
ในกรณีที่อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับลูกของคุณ
ในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าเมื่อไรที่เราควรเรียกรถพยาบาลและเมื่อไรที่ต้องพาลูกไปแผนกฉุกเฉิน ทั้งนี้คุณควรเรียกรถพยาบาลเมื่อลูก
- หยุดหายใจ
- หายใจลำบาก เช่น หายใจเร็ว หอบ มีเสียงดังเวลาหายใจ หรือเห็นกล้ามเนื้อแค่ใต้ซี่โครงยุบลงเมื่อหายใจเข้า
- หมดสติ หรือไม่รู้ตัว
- มีรอยแผลตัดที่เลือดไม่หยุดไหลหรือแผลเปิด
- ไม่ตื่น
- ชักเป็นครั้งแรกถึงแม้ว่าเขาจะดูเหมือนฟื้นตัว
ในกรณีที่ลูกมีอาการดังนี้ คุณควรพาลูกไปแผนกฉุกเฉิน
- เป็นไข้และยังคงเฉื่อยชาแม้ว่าทานยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- ขาหรือแขนบาดเจ็บและไม่สามารถใช้อวัยวะดังกล่าวได้
- เพิ่งกลืนสารพิษหรือยา
การมีวัตถุติดอยู่ภายในจมูกหรือหูของเด็ก
หากมีบางสิ่งติดอยู่ภายในจมูกหรือหูของลูก คุณควรปล่อยให้มันอยู่ในตำแหน่งเดิม หากคุณพยายามนำมันออกมา บางทีคุณอาจยิ่งดันให้มันเข้าไปลึกกว่าเดิม ทั้งนี้ให้คุณพาลูกไปยังแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากมีสิ่งของอุดอยู่ภายในจมูก ให้คุณสาธิตวิธีหายใจทางปากให้ลูกดู หากมีแบตเตอรีก้อนกระดุมติดอยู่ภายในจมูกหรือหูของลูก คุณไม่ควรนิ่งนอนใจและรีบพาเขาไปพบแพทย์
ในกรณีที่เด็กมีแผลเปิด
หากมีเลือดไหลออกมาจากแผลมาก ให้คุณใช้ผ้าสะอาดกดที่บาดแผล หากคุณไม่มีผ้าดังกล่าว ให้คุณใช้นิ้วของตัวเองกดแผล ในกรณีที่มีวัตถุฝังอยู่ภายในบาดแผลอย่างเศษแก้ว ให้คุณกดที่รอบๆ มุมของวัตถุแทนที่จะกดบนวัตถุโดยตรง
ทั้งนี้ให้คุณกดแผลจนกระทั่งเลือดหยุดไหล ซึ่งมันอาจใช้เวลา 10 นาที หรือมากกว่านี้ อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรใช้สิ่งใดก็ตามผูกรอบๆ บริเวณที่บาดเจ็บแน่นเกินไป เพราะมันจะทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตชะงัก
หากเป็นไปได้ให้คุณยกแขนหรือขาที่บาดเจ็บ ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยให้เลือดหยุดไหล แต่คุณไม่ควรทำเช่นนี้หากคุณคิดว่าแขนหรือขาหัก นอกจากนี้คุณอาจใช้ผ้าสะอาดคลุมแผล หากเลือดไหลผ่านออกมาจากผ้า ให้คุณใช้แผ่นรองหรือผ้าปิดแผลพันทับอีกชั้น หากเลือดยังคงไม่หยุดไหล คุณควรพาลูกไปโรงพยาบาล
แผลไหม้และแผลน้ำร้อนลวก
- คุณควรให้ลูกนำบริเวณที่โดนไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกไปวางให้น้ำเย็นไหลผ่านทันทีเพื่อลดความร้อนในผิว แต่ไม่ให้ทำเช่นนี้เกินกว่า 10 นาที เพราะทารกและเด็กวัยเตาะแตะสามารถรู้สึกหนาว นอกจากนี้คุณสามารถแช่บริเวณที่โดนลวกในน้ำเย็นหรือของเหลวเย็นชนิดอื่นๆ เช่น นม หรือเครื่องดื่มเย็น
- ใช้บางสิ่งที่สะอาดและไม่นุ่มอย่างปลอกหมอนผ้าคอตตอนหรือฟิล์มยืดถนอมอาหารเพื่อคลุมแผลไหม้หรือแผลน้ำร้อนลวก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หากชุดของเด็กติดที่ผิว คุณไม่ควรพยายามถอดเสื้อของเขาออก
- ไม่ใช้เนย ยาสีฟัน น้ำมัน หรือออยท์เมนท์บริเวณที่เป็นแผลไหม้หรือโดนน้ำร้อนลวก เพราะมันจะต้องถูกล้างออกไปก่อนที่ทำการรักษา
- ตุ่มน้ำจะแตกตัวเองโดยธรรมชาติ แต่คุณจำเป็นต้องพันผ้าปิดแผลบริเวณที่เป็นแผลสด
กรณีที่เด็กกลืนสารพิษ
หากคุณคิดว่าลูกกลืนยาเม็ดหรือยาชนิดอื่นๆ ให้คุณทำดังนี้
- กรณีที่คุณไม่แน่ใจว่าลูกทานยาชนิดใดเข้าไป ให้คุณใช้เวลาหายาที่เหลือเพื่อเก็บไว้อ้างอิง
- หากคุณยังคิดว่าลูกกลืนบางสิ่งเข้าไป ให้คุณรีบพาเขาไปพบแพทย์ และให้คุณพกยาที่เขากลืนไปด้วยเพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจสอบฉลากและคำนวณปริมาณของยาที่ลูกอาจกลืนเข้าไป
- ติดตามอาการของลูกอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมสำหรับการทำ CPR หรือวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่สามารถช่วยยื้อชีวิตได้
- หากเป็นไปได้ให้คุณจดชื่อสิ่งที่คุณคิดว่าลูกอาจกลืนเข้าไปเพื่อที่คุณสามารถบอกแพทย์
- ไม่ให้ลูกทานเกลือหรือน้ำ หรือทำสิ่งใดก็ตามที่ทำให้เขาป่วยมากกว่าเดิม
- พยายามทำให้ลูกสงบ และอย่ากระตุ้นให้เขาเดินไปรอบๆ
- พยายามทำให้ลูกสงบให้ได้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ และรีบพาเขาไปโรงพยาบาล
- หากเป็นไปได้ให้คุณจดชื่อสารเคมีที่ลูกกลืนเข้าไปเพื่อที่คุณจะได้บอกแพทย์
- หากลูกของคุณรู้สึกเจ็บ มีคราบ หรือมีแผลพุพองที่รอบๆ ปาก บางทีอาจเป็นเพราะว่าเขากลืนสารช่วยกัดกร่อน คุณควรให้ลูกจิบน้ำหรือนมเพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนและพาเขาไปโรงพยาบาลทันที
หากคุณคิดว่าลูกกลืนสารเคมีที่ใช้ภายในบ้านหรือสวน ให้คุณทำดังนี้
กรณีที่เด็กกลืนแบตเตอรีก้อนกระดุม
แบตเตอรีก้อนกระดุมมีขนาดเล็กและมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งเราสามารถพบแบตเตอรีชนิดนี้ได้ในของเล่นและอุปกรณ์ไฟฟ้า หากลูกของคุณกลืนแบตเตอรีก้อนกระดุม หรือคุณคิดว่าเขากลืนมันเข้าไป ให้คุณรีบพาเขาไปโรงพยาบาลทันที นอกจากแบตเตอรีก้อนกระดุมสามารถทำให้เขาขาดอากาศหายใจได้แล้ว มันก็สามารถทำให้เกิดอาการแสบร้อนภายใน หากแบตเตอรีก้อนกระดุมติดอยู่ภายในจมูกหรือหู มันก็สามารถทำให้เกิดอาการแสบร้อนเช่นกัน
กรณีที่ลูกตกอยู่ในภาวะช็อค
หากลูกของคุณดูซีดหรือดูไม่สบาย หรือมีครบทั้งสองอาการหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ให้คุณวางลูกราบกับพื้น และห่มผ้าให้เขา แต่ต้องระวังไม่ให้เขาร้อนจนเกินไป ในกรณีที่ลูกของคุณรู้สึกว่าตัวเองจะเป็นลม ให้คุณจับเขานอนราบกับพื้น ซึ่งอาการดังกล่าวควรจะหายไปในเวลาหนึ่งหรือสองนาที
อาการชักในเด็ก
หากลูกของคุณมีอาการชัก ร่างกายของเขาอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแบบทันที รวมถึงมีร่างกายและดวงตาที่ดูแข็ง ในบางครั้งดวงตาของเขาจะกรอกไปมา แขนและขาจะกระตุกหรืออาจอ่อนตัว คำแนะนำที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับอาการชักของลูก
- ทำใจให้สงบ
- อย่าพยายามตรึงร่างกายของลูก
- ทำพื้นที่รอบๆ ตัวของลูกให้ปลอดภัย
- จับลูกนอนตะแคงข้างเพื่อไม่ให้เขาสำลัก
- ห้ามใส่สิ่งใดก็ตามเข้าไปในปากของลูก หากคุณคิดว่าลูกสำลักอาหารหรือสิ่งของ ให้คุณดูภายในปากของเขาและพยายามนำมันออกมา
- ถอดเสื้อผ้าของเด็ก และพยายามทำให้ร่างกายของเขาเย็นลง
อาการชักส่วนมากจะหยุดภายใน 3 นาที เมื่อเขาหายชัก อาการชักยังไม่หายไปภายใน 5 นาที หรือหากเขาไม่ได้มีอาการชักเป็นครั้งแรกและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว คุณก็ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาล
แม้ว่าอาการชักอาจดูน่าหวาดกลัว แต่มันกลับเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งอุณหภูมิเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการชักบ่อยที่สุด ทั้งนี้อาการชักจากการมีไข้สูง หรือที่เรียกว่า Febrile Convulsions จะเกิดน้อยลงเมื่อเด็กมีอายุมากกว่า 3 ปี และแทบจะไม่เกิดขึ้นหลังจากที่เด็กมีอายุ 5 ปี โดยทั่วไปแล้วอาการชักจากการมีไข้สูงไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคลมชัก
การเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้าในเด็ก
- ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนที่จะเข้าใกล้ตัวเด็ก หากคุณไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้คุณดันเด็กออกจากแหล่งของกระแสไฟฟ้า โดยใช้ไม้หรือสิ่งของที่เป็นพลาสติก เช่น ด้ามจับไม้กวาด
- พยายามแตะขาหรือลูบคอ และตะโกนเรียกลูก หากเขาไม่ตอบสนอง คุณควรใช้วิธี CPR ซึ่งเราจะกล่าวถึงอีกครั้งหลังจากนี้
ปัญหาขาหักในเด็ก
หากคุณคิดว่าคอหรือไขสันหลังของเด็กได้รับบาดเจ็บ ให้คุณเรียกรถพยาบาล และห้ามขยับตัวของเด็กด้วยตัวเอง เพราะการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นสามารถทำให้เขาเป็นอัมพาต ทั้งนี้กระดูกในขาหรือแขนของเด็กอาจหักถ้าเขารู้สึกปวดและบวม และแขนหรือขาอาจอยู่ในลักษณะที่ดูผิดรูป
หากคุณไม่สามารถเคลื่อนย้ายเด็กโดยไม่ให้เขารู้สึกเจ็บ คุณควรเรียกรถพยาบาล หากคุณจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเด็ก ให้คุณทำอย่างเบามือ โดยให้คุณวางมือข้างหนึ่งเหนือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่วางมืออีกข้างที่ด้านใต้เพื่อช่วยพยุง และรีบพาเด็กไปโรงพยาบาล หากคุณคิดว่าลูกของคุณรู้สึกปวด คุณอาจให้เขาทานยาแก้ปวดตามปริมาณที่กำหนดไว้บนฉลาก
การกู้ชีวิตทารก
วิธีที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้ึคือรายละเอียดของการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation (CPR)) หรือการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็ก
ขั้นตอนการทำ CPR สำหรับเด็กและทารก
1) ทำ CPR ในบริเวณที่ปลอดภัย
2) ตรวจสอบการตอบสนองของเด็ก ซึ่งคุณอาจค่อยๆ กระตุ้นเด็กโดยพูดกับเขาดังๆ
3a) หากลูกของคุณตอบสนองโดยการตอบสิ่งที่คุณถามหรือเขาเคลื่อนไหวร่างกาย
- คุณควรปล่อยให้เขาอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่ก็ให้ตรวจสอบว่าต้องไม่เป็นบริเวณที่อันตราย นอกจากนี้ให้คุณดูอาการและขอความช่วยเหลือหากจำเป็น และคอยประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ
- ให้คุณตะโกนขอความช่วยเหลือ
- ค่อยๆ พลิกตัวให้เด็กนอนหงาย
3b) หากลูกของคุณไม่ตอบสนอง
ในกรณีที่เด็กมีอายุต่ำกว่า 1 ปี
- ศีรษะและคอของเด็กต้องตั้งตรง
- ในเวลาเดียวกันให้คุณใช้ปลายนิ้วยกคางของเด็ก แต่อย่าดันเนื้อเยื่อนุ่มๆ ใต้คางเพราะมันอาจปิดกั้นทางเดินหายใจ
ในกรณีที่เด็กมีอายุมากกว่า 1 ปี
- เปิดทางเดินหายใจของเด็กโดยเอนศีรษะของเด็กและยกคาง โดยให้คุณวางฝ่ามือบนหน้าผากและค่อยๆ เอนศีรษะของเขาไปด้านหลัง
- ในเวลาเดียวกันให้คุณใช้ปลายนิ้วยกคางของเด็ก แต่อย่าดันเนื้อเยื่อนุ่มๆ ใต้คางเพราะมันอาจกั้นทางเดินหายใจ
- หากคุณคิดว่าลูกอาจได้รับบาดเจ็บบริเวณคอ ให้คุณเอนศีรษะของเขาอย่างระมัดระวัง โดยทำช้าๆ ทีละนิดจนกว่าทางเดินหายใจจะเปิดออก อย่างไรก็ดี การเปิดทางเดินหายใจเป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อเกิดการบาดเจ็บที่คอ
4) ตรวจสอบการหายใจ
- เปิดทางเดินหายใจ ดู ฟัง และสัมผัสลมหายใจของลูกโดยขยับใบหน้าของคุณเข้าใกล้กับใบหน้าของเด็กและมองไปตามแนวหน้าอก
- ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของหน้าอก จากนั้นให้ฟังเสียงหายใจจากจมูกและปากของเด็ก และลองสัมผัสดูว่ามีลมออกมาชนแก้มของคุณหรือไม่
- ก่อนที่จะตัดสินว่าเด็กไม่ได้หายใจ ให้คุณดู ฟัง และสัมผัสลมหายใจของเขาว่าไม่ได้เกิดขึ้นเกิน 10 วินาที
- คุณไม่ควรนับว่าการหายใจแบบหอบเป็นการหายใจตามปกติ
5a) หากลูกของคุณหายใจตามปกติ
- ให้เขานอนตะแคงข้าง และให้ตรวจสอบการหายใจ จากนั้นให้รีบขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้คุณไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังนอกเสียจากว่าจำเป็นจริงๆ
- ค่อยๆ นำวัตถุที่กีดขวางอยู่ในปากออกมาแล้วทำการผายปอด 5 ครั้ง ในขณะที่คุณทำเช่นนี้ ให้คุณสังเกตว่าเขาสำรอกหรือไอ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกว่าเขายังคงมีชีวิต
- จัดศีรษะของเด็กให้ตั้งตรงและยกคางของเขา
- สูดอากาศแล้วให้คุณประกบปากของตัวเองกับปากและจมูกของลูกโดยต้องปิดให้สนิท หากคุณไม่สามารถใช้ปากของตัวเองประกบที่ปากและจมูกของทารกพร้อมกัน คุณก็อาจทำแค่บริเวณปากของเขา หากคุณเลือกทำกับจมูก ให้คุณปิดปากของเขาเพื่อไม่ให้อากาศออกมา
- เป่าลมเข้าไปในปากและจมูกของทารกอย่างสม่ำเสมอให้มากกว่า 1 วินาที ซึ่งมันควรจะทำให้หน้าอกยกขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
- เอนศีรษะและยกคางของทารกต่อไป จากนั้นให้ถอนปากของตัวเอง และดูว่าหน้าอกเคลื่อนลงเมื่ออากาศออกมาหรือไม่
- สูดอากาศอีกครั้ง และทำตามขั้นตอนที่เรากล่าวไปอีก 4 ครั้ง
5b) หากลูกของคุณไม่หายใจหรือหายใจติดขัดและผิดปกติ
การผายปอดสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี
การผายปอดสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เอนศีรษะและยกคาง
- ปิดส่วนที่นุ่มของจมูกโดยใช้นิ้วชี้และหัวแม่โป้งที่อยู่บนหน้าผาก
- เปิดปากของเด็กเพียงเล็กน้อยแต่ให้คางยังคงชี้ไปด้านบน
- สูดอากาศแล้วใช้ปากของตัวเองประกบกับปากของเด็กให้สนิท
- เป่าอากาศเข้าไปในปากของเด็กอย่างสม่ำเสมอให้มากกว่าประมาณ 1 วินาที และให้ดูว่าหน้าอกเคลื่อนขึ้นหรือไม่
- ศีรษะของเด็กจะต้องเอียงและคางของเขาต้องยกขึ้น จากนั้นให้คุณสังเกตว่าหน้าอกเคลื่อนต่ำลงขณะที่อากาศออกมาหรือไม่
- สูดหายใจเข้าและทำตามขั้นตอนที่เรากล่าวไปอีก 4 ครั้ง
- ตรวจสอบว่าหน้าอกของเด็กเคลื่อนขึ้นและลงแบบเดียวกับตอนที่เขาหายใจตามปกติหรือไม่
5c) ทางเดินหายใจถูกกีดขวาง
- หากลูกไม่หายใจแม้ว่าคุณได้ช่วยเป่าอากาศเข้าไปแล้ว บางทีอาจเป็นเพราะว่าทางเดินหายใจถูกกีดขวาง
- ให้คุณเปิดปากของลูกและกำจัดสิ่งกีดขวางใดๆ ก็ตามที่คุณมองเห็น
- ห้ามใช้นิ้วหรือวัตถุชนิดใดๆ ก็ตามแหย่เข้าไปในปากของเด็ก
- ศีรษะของเด็กต้องเอียงและคางต้องยกขึ้น แต่คอต้องไม่ยืดออกเกินไป
- พยายามทำเช่นนี้ 5 ครั้งเพื่อให้เด็กหายใจ หากยังไม่ประสบความสำเร็จ ให้คุณหันไปกดหน้าอกควบคู่กับผายปอด
6) การประเมินสัญญาณชีพ
ให้คุณสังเกตสัญญาณที่บอกว่าเด็กยังมีชีวิต ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การไอ หรือการหายใจตามปกติ ซึ่งจะต้องไม่ใช่การหายหอบหรือหายใจถี่ผิดปกติ
สัญญาณที่บอกว่าเด็กมีชีวิต
หากคุณพบสัญญาณที่บอกว่าเด็กยังคงมีชีวิต ให้คุณทำดังนี้
- ทำการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจต่อไปจนกระทั่งเด็กเริ่มหายใจตามปกติด้วยตัวเอง
- พลิกร่างกายของเด็กให้ตะแคงข้างให้อยู่ในท่าพักฟื้นและขอความช่วยเหลือต่อไป
- ตรวจสอบการหายใจของเด็กอย่างต่อเนื่องและช่วยเปิดทางเดินหายใจหากจำเป็น
กรณีที่ไม่มีสัญญาณบอกว่าเด็กมีชีวิต
หากไม่มีสัญญาณที่บอกว่าเด็กยังคงมีชีวิต ให้คุณทำดังนี้
- ทำการกดหน้าอกทันที และทำการกดหน้าอกควบคู่กับการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจ โดยให้อากาศผู้ป่วย 2 ครั้งหลังจากการกดทุกๆ 30 ครั้ง
- คุณสามารถหลีกเลี่ยงการกดบริเวณกระเพาะอาหารโดยให้คุณหาตำแหน่งของซี่โครงตรงกลางที่ต่ำที่สุดและใช้นิ้ว 1 นิ้วตามแนวกว้างวางเหนือซี่โครงดังกล่าว จากนั้นให้กดบริเวณกระดูกหน้าอก
- กดลงไป 4 ซม. สำหรับทารก หรือ 5 ซม. สำหรับเด็กเล็ก ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1/3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าอก
- คลายการกดแล้วทำซ้ำอย่างรวดเร็วที่อัตราประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาที หลังจากที่กดไป 30 ครั้ง ให้คุณเอนศีรษะของทารก ยกคาง และประกบปากเพื่อช่วยเขาหายใจ 2 ครั้ง
- ทำการกดต่อไปและช่วยทารกหายใจโดยคิดเป็นอัตราส่วนการช่วยหายใจ 2 ครั้งต่อการกดทุก 30 ครั้ง
- แม้ว่าอัตราการกดจะอยู่ในช่วง 100-120 ครั้งต่อนาที แต่จำนวนที่แท้จริงที่คุณสามารถทำได้จะน้อยกว่านี้ เพราะคุณอาจหยุดในระหว่างที่ช่วยเขาหายใจ
7) การกดหน้าอก: คำแนะนำทั่วไป
การกดหน้าอกในทารกที่่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
- ทำการกดบริเวณกระดูกหน้าอกโดยใช้ปลายนิ้ว 2 นิ้ว ซึ่งความลึกของการกดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากคุณไม่สามารถใช้ปลายนิ้ว 2 นิ้วกดลงที่หน้าอกได้ลึก 4 ซม. ให้คุณใช้สันมือข้างหนึ่งในการกดแทน
- วางสันมือข้างหนึ่งเหนือกระดูกหน้าอกตามที่เรากล่าวไปข้างต้น
- ยกนิ้วมือเพื่อให้มั่นใจว่าแรงกดไม่เกิดขึ้นเหนือบริเวณซี่โครง
- จัดตำแหน่งของตัวเองให้เป็นแนวตรงและอยู่เหนือหน้าอกพร้อมกับยืดแขนให้ตรงและกดที่กระดูกหน้าอกให้ลึกลงไป 5 ซม. ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1/3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าอก ความลึกของการกดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
- ในกรณีที่คุณตัวเล็กหรือเด็กตัวโต การประสานนิ้วของมือทั้งสองข้างจะช่วยให้คุณกดได้ง่ายขึ้น แต่ให้หลีกเลี่ยงการกดบนซี่โครง
- หากไม่มีคนตอบสนองต่อเสียงตะโกนขอความช่วยเหลือจากคุณและคุณอยู่กับเด็กเพียงลำพัง ให้คุณพยายามกู้ชีวิตของเขาตามวิธีที่เรากล่าวไปต่ออีกประมาณ 1 นาทีก่อนที่จะพยายามขอความช่วยเหลืออีกครั้ง
การกดหน้าอกในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี
8) ทำการกู้ชีวิตต่อไปจนกระทั่งเด็กมีอาการดังนี้
- ลูกของคุณแสดงสัญญาณที่บอกว่าเขายังคงมีชีวิต เช่น หายใจตามปกติ ไอ เคลื่อนไหวแขนหรือขา
- การช่วยเหลือมาถึง
- คุณหมดแรง
การช่วยทารกที่มีอาการสำลัก
- เด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1-5 ปีมักนำสิ่งของเข้าไปในปาก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่เขาใช้สำรวจโลก วัตถุที่มีขนาดเล็กบางชนิด เช่น ลูกหินหรือลูกแก้ว ลูกปัด และแบตเตอรีก้อนกระดุมมีขนาดพอดีกับทางเดินหายใจของเด็กและสามารถทำให้เกิดอาการสำลัก
- วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยป้องกันก็คือ การเก็บวัตถุเหล่านี้ให้พ้นจากมือของเด็ก
วิธีช่วยเด็กที่สำลัก
- หากคุณสามารถมองเห็นวัตถุ ให้คุณพยายามนำมันออกมา คุณไม่ควรแหย่มือเข้าไปแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะมันอาจทำให้วัตถุติดเข้าไปลึกขึ้นและทำให้หยิบได้ยากขึ้น
- หากลูกของคุณไอเสียงดัง คุณไม่จำเป็นต้องทำอะไรทั้งสิ้น แต่บอกให้ลูกไอต่อไป และไม่ปล่อยเขาทิ้งไว้เพียงลำพัง
- หากลูกไอไม่มีเสียงหรือไม่สามารถหายใจได้เต็มที่ ให้คุณรีบตะโกนขอความช่วยเหลือทันที และดูว่าเขายังมีสติหรือไม่
- หากลูกของคุณยังมีสติแต่เขาไม่ไอหรือไอไม่มีเสียงหรือไอได้ไม่เต็มที่ ให้คุณทำ Back Blows โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้
การทำ Back Blows สำหรับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี
- นั่งลงและจับทารกนอนคว่ำหน้าตลอดแนวต้นขาโดยที่คุณใช้มือประคองศีรษะของทารก
- ใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งตบที่หลังของทารก 5 ครั้งโดยที่สันมืออยู่ตรงกลางหลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ระหว่างกระดูกสะบัก
การทำ Back Blows สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี
- จับเด็กเล็กนอนคว่ำหน้าบนตัก
- หากคุณไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้คุณจับทารกหันหลังพิงกับตัวคุณ และใช้ฝ่ามือตบที่หลังของเด็ก
- หากการตบหลังไม่ได้ช่วยให้ทารกหายสำลัก และทารกหรือลูกของคุณยังคงมีสติ ให้คุณรัดกระตุกที่หน้าอก (Chest Thrusts) สำหรับทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือกดกระแทกที่ท้อง (Abdominal Thrusts) สำหรับทารกที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้เด็กไอ เพิ่มแรงดันในหน้าอก และช่วยขับวัตถุออกมา
การรัดกระตุกที่หน้าอกสำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี
- วางลูกให้หงายหน้าตามแนวยาวของต้นขา
- ควานหากระดูกหน้าอก และวางนิ้ว 2 นิ้วที่กึ่งกลาง
- กดที่หน้าอกอย่างแรง 5 ครั้ง และกดลงไปให้ได้ 1/3 ของหน้าอก
การกดกระแทกที่ท้องของเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี
- ยืนหรือคุกเข่าด้านหลังเด็ก
- วางแขนของคุณที่ด้านล่างแขนของเด็กและรอบๆ หน้าท้องส่วนบน
- กำหมัดและวางไว้ที่ระหว่างสะดือและซี่โครง
- จับมือนี้โดยใช้มืออีกข้างและดึงมืออย่างแรงเข้าด้านในและขึ้นไปทางด้านบน
- ทำซ้ำอีก 5 ครั้ง แต่คุณต้องระวังไม่ให้ตัวเองออกแรงกดที่โครงกระดูกส่วนล่าง เพราะมันอาจทำให้เกิดความเสียหาย
หลังจากที่คุณกดหน้าอกหรือท้องของเด็ก ให้คุณประเมินอาการของเด็กอีกครั้งดังนี้
- หากวัตถุยังคงติดอยู่ภายในร่างกายของลูก และลูกของคุณยังคงมีสติ ให้คุณทำ Back Blows ต่อไป และทำการรัดกระตุกที่หน้าอกหรือไม่ก็กดกระแทกที่ท้อง
- โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ หรือรีบพาลูกไปโรงพยาบาลหากคุณอยู่คนเดียว
- ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่เพียงลำพัง
- ต่อให้วัตถุแปลกปลอมออกมาจากร่างกายของเด็กแล้ว คุณยังจำเป็นต้องพาเขาไปพบแพทย์ เพราะบางทีอาจมีชิ้นส่วนติดอยู่ภายในหรือเด็กอาจได้รับบาดเจ็บ
การช่วยเด็กที่สำลักและไม่มีสติ
- หากเด็กที่สำลักหมดสติ ให้คุณอุ้มเขาไปวางบนพื้นผิวที่แข็งและแบน และตะโกนขอความช่วยเหลือ หรือโทรเรียกรถพยาบาล
- ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่เพียงลำพัง
- เปิดปากของเด็ก หากวัตถุมีขนาดที่เด่นชัด และคุณสามารถคว้ามันได้อย่างง่ายดาย ให้คุณใช้มือหยิบวัตถุนั้นออกมาจากปาก
- เริ่มทำ CPR
การสอนให้เด็กอยู่อย่างปลอดภัย
- สอนให้เด็กจำชื่อและนามสกุลของตัวเอง และสิ่งที่ต้องทำเมื่อหลงทาง
- เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีไม่สามารถเข้าใจหรือจำเกี่ยวกับคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยได้เสมอไป ดังนั้นผู้ใหญ่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับเด็กตลอดเวลา
- เมื่อเด็กมีอายุ 3 ปีขึ้นไป เขาสามารถเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ อย่างปลอดภัยแต่เขาก็อาจลืมในบางครั้งโดยเฉพาะถ้าเขาตื่นเต้นหรือถูกเบนความสนใจ
- แม้ว่าเขาสามารถทวนสิ่งที่คุณสอนให้คุณฟัง แต่เขาก็อาจไม่เข้าใจหรือไม่สามารถทำตามคำแนะนำได้ตลอดเวลา
- เด็กเลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่น หากคุณ คนในครอบครัว หรือเพื่อนของเขาทำเรื่องที่เสี่ยง เขาก็จะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และเป็นเรื่องปกติ
- บอกลูกของคุณว่าหากเขารู้สึกไม่สบายใจ และถูกสั่งให้ทำบางสิ่งที่ไร้สาระหรืออันตราย เขาก็อาจเลือกที่จะปฏิเสธ และให้เขาบอกคุณหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าว
- เมื่อเด็กโตพอจะจดจำสิ่งต่างๆ ได้แล้ว คุณควรสอนให้เขาจำที่อยู่ของตัวเอง และสอนให้เขารอ ณ ที่ใดที่หนึ่งหากหลงทางเมื่อออกไปนอกบ้านกับคุณ