สำหรับสตรีที่กำลังวางแผนจะมีบุตร อาจต้องระวังเรื่องหัดเยอรมันที่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย ฉะนั้นจึงควรทำความรู้จักและวิธีป้องกันไม่ให้มารบกวนทารกของคุณ
หัดเยอรมันคืออะไร?
หัดเยอรมัน (Rubella) เป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อ “รูเบลลาไวรัส” (Rubella virus) พบการติดต่อกันใน 2 ลักษณะ ได้แก่...
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- หัดเยอรมันโดยทั่วไป (Acquired rubella)
- หัดเยอรมันแต่กำเนิด (Congenital rubella)
จะมีการรับเชื้อโดยหายใจเอาละอองน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วยเข้าไปในร่างกาย โดยผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 5 วันก่อนเกิดผื่น ไปจนถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น
อาการของหัดเยอรมัน
เมื่อติดเชื้อ ในเด็กเล็กอาจพบไข้ต่ำ ๆ (ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส) และ 2 – 3 วันต่อมาก็จะเริ่มมีผื่นแดง แบบ Maculopapular rash ขึ้นที่ใบหน้า และกระจายลงมาตามคอ แขน ลำตัว และขา อย่างรวดเร็วภายใน 1 วัน แล้วจางหายไปภายในเวลา 3 วัน
ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ก่อนเกิดผื่นอาจมีอาการไอ คัดจมูก ตาแดง และตรวจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูข้างท้ายทอยโตเล็กน้อย กดเจ็บ รวมถึงอาจพบอาการปวดตามข้อได้ด้วย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่เพศหญิงที่พบได้มากถึง 60 – 70%
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย 25 – 50% อาจไม่พบผื่นหรืออาการผิดปกติใด ๆ เลยก็ได้นะคะ
โดยทั่วไป โรคนี้ไม่มีอันตรายค่ะ (ยกเว้นการติดเชื้อในหญิงมีครรภ์) ไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงรักษาประคับประคองตามอาการเพียงเท่านั้นก็พอ
แต่ถ้าเริ่มมีไข้สูงร่วมกับปวดศีรษะรุนแรง ซึม ชัก แขนขาอ่อนแรง ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยเร็วนะคะ เนื่องจากการติดเชื้อหัดเยอรมันอาจทำให้เกิดโรคสมองอักเสบได้ แต่ก็พบน้อยมากค่ะ เพียง 1 ใน 6,000 รายเท่านั้น
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นหัดเยอรมัน จะมีการรับเชื้อผ่านทางการหายใจตามที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งความรุนแรงของอาการในตัวหญิงตั้งครรภ์เอง ก็ไม่ต่างไปจากผู้ป่วยอื่น ๆ
แต่ที่ต้องให้ความสำคัญและป้องกันการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ ก็เนื่องมาจากแม่ที่ป่วยอาจแพร่เชื้อไปสู่ทารกในครรภ์และทำให้เกิดหัดเยอรมันแต่กำเนิดได้นั่นเองค่ะ โดยพบความเสี่ยงเมื่อมีการติดเชื้อในช่วง 16 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
ทารกในครรภ์ที่มีการติดเชื้อในช่วงเวลาดังกล่าว อาจเกิดความพิการแต่กำเนิด หรือความผิดปกติในลักษณะต่าง ๆ เช่น หูหนวก (60 – 75%), ตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน (10 – 25%), ความผิดปกติทางระบบประสาทหรือปัญญาอ่อน (10 – 25%), โรคหัวใจ (10 – 20%) หรืออาจเกิดความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ผื่นเลือดออกใต้ผิวหนัง, เกร็ดเลือดต่ำ, ตับม้ามโต และความผิดปกติของกระดูกเป็นต้น
จะเห็นได้ว่าหากมีการติดเชื้อหัดเยอรมันในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดในทารกได้ ดังนั้น ควรได้มีการตรวจเลือดก่อนแต่งงานหรือก่อนตั้งครรภ์ เพื่อดูว่ามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันหรือไม่
และเนื่องจากวัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles-Mumps-Rubella Vaccine หรือ MMR Vaccine) เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อที่มีชีวิตซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง จึงมีความเสี่ยงที่ตัววัคซีนเองจะทำให้ทารกในครรภ์เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิดได้ (แต่ถือเป็นความเสี่ยงที่น้อยมากค่ะ)
ดังนั้น จึงห้ามฉีดในหญิงตั้งครรภ์ และหากจำเป็นต้องฉีดวัคซีนนี้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ก็ควรคุมกำเนิดต่ออีกอย่างน้อย 28 วันด้วยนะคะ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันไปแล้วไม่ถึง 28 วัน ก็ไม่ถือเป็นข้อบ่งชี้ให้ยุติการตั้งครรภ์ค่ะ เนื่องจากมีความเสี่ยงทางทฤษฎีที่ทารกจะเป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด เมื่อมารดาได้รับวัคซีนในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ก่อนตั้งครรภ์ ไปจนถึง 4 – 6 สัปดาห์หลังตั้งครรภ์ สูงสุดเพียง 1.3% เท่านั้น
ซึ่งต่างจากกรณีที่มารดาติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ที่มีความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิดสูงมากกว่า 20% นั่นเองค่ะ