พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำร้ายกระดูก และกล้ามเนื้อ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ในปัจจุบันพฤติกรรมที่ส่งผลให้คนไทยเกิดความบกพร่องในเรื่องของข้อและกระดูก่อนวัยอันควรนั้น เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ อย่างพวกออฟฟิศซินโดรมทั้งหลาย ที่งานส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานนั่งโต๊ะ ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบความผิดปกติบ่อยที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนในสังคมชนบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงาน การทำนา ทำสวน การยก การหาบ การแบก การลาก การจูง แต่ละกิจกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน เนื่องจากมีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก มีโอกาสเสี่ยงที่กระดูกจะหัก เพราะฉะนันการบาดเจ็บ หรือการดูแลขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการปฏิบัติตนด้วย

ตอนนี้คนไทยป่วยเป็นโรคกระดูกและกล้ามเนื้อกันมากที่พบบ่อยก็จะเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมักเป็นเรื่องของข้อเข่าเสื่อม หลังเสื่อม ส่วนคนในวัยทำงานก็เป็นเรื่องของการบาดเจ็บจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยี การยกของ และในวัยเด็กหรือวัยที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว จะพบบ่อยในเรื่องของกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นพวกกระดูกหลังคด หมายความว่าไม่ว่าคุณจะเป็นเจนไหน ๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้เช่นกัน

แต่ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ รักษาสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหมั่นออกกำลังกายกันเยอะ ๆ เพียงเท่านี้ ก็สามารถช่วยชะลอความใกล้ของโรคกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ให้มาเยือนคุณก่อนวัยอันควร


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Musculoskeletal system. American Psychological Association (APA). (https://www.apa.org/helpcenter/stress-body)
Bones, Muscles, and Joints (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/bones-muscles-joints.html)
Musculoskeletal Pain: Causes, Symptoms, Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/tgct/musculoskeletal-pain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม