โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)

แตกต่างกับโรคมะเร็งอื่น ๆ โรคมะเร็งจอประสาทตาเป็นความผิดปกติที่มักเกิดในวัยเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โรคมะเร็งจอประสาทตามักทำให้เกิดอาการที่เด่นชัด เช่น ตาเหล่ ม่านตาเปลี่ยนสี ตาแดงหรือแสงสีขาวสะท้อนจากภายในลูกตา

บทนำ

โรคมะเร็งจอประสาทตาเป็นมะเร็งตาชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก และมักมีผลต่อเด็กเล็กโดยปกติจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากได้รับการรักษาก่อนเนื้องอกจะลุกลาม มักจะได้รับการรักษาที่ประสบความสำเร็จและหายขาด เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจอประสาทตาไวในระยะแรก ๆ มีอัตราการรอดชีวิตมากกว่า 95%

โรคมะเร็งจอประสาทตาอาจส่งผลต่อดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยหากมีผลต่อตาทั้งสองข้าง ก็มักจะได้รับการวินิจฉัยก่อนที่เด็กจะอายุครบ 1 ขวบ แต่หากมีผลต่อตาข้างเดียวก็มักจะได้รับการวินิจฉัยช้ากว่านั้น โดยทั่วไปคือระหว่างอายุ 2 ถึง 3 ปี

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งจอประสาทตา

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งจอประสาทตา ได้แก่:

  • แสงสะท้อนสีขาวผิดปกติจากรูม่านตา ซึ่งอาจเห็นชัดในภาพถ่ายที่ตาข้างที่มีสุขภาพดีหรือปกติจะปรากฏเป็นสีแดงเนื่องจากแสงแฟลช แต่ที่ผิดปกติกลับมาสีขาวสะท้อนออกมา หรืออาจสังเกตเห็นได้ในห้องมืดสำหรับล้างรูป
  • ตาเหล่
  • การเปลี่ยนสีของม่านตา - เปลี่ยนไปทั้งดวงตาข้างหนึ่ง หรือบางครั้งในบางบริเวณของดวงตา
  • ตาแดงหรือตาอักเสบ - แม้ว่าบุตรหลานของคุณจะไม่บ่นถึงความเจ็บปวดใดๆ ก็ตาม
  • การมองเห็นที่แย่ลง - บุตรหลานของคุณอาจไม่สามารถโฟกัสไปที่ใบหน้าหรือวัตถุได้ หรืออาจไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตาได้ตามที่ต้องการ อาการนี้จะยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อตาทั้งสองข้างได้รับผลกระทบ พวกเขาอาจบอกว่า พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเช่นเดียวกับที่เคย

อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งจอประสาทตาก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามคุณควรพาบุตรหลานของคุณเข้าตรวจร่างกายและดวงตาของคุณโดยเร็วที่สุด

น้อยครั้งมากที่อาการของโรคมะเร็งจอประสาทตาจะไม่ถูกสังเกตเห็นจนอายุของผู้ป่วยเกินกว่า 5 ปี อย่างไรก็ตาม หากอาการไปปรากฏในเด็กโตกว่านั้น จะมีลักษณะเป็นตาที่มีสีแดงเจ็บ หรือบวม และมีการสูญเสียการมองเห็นบางส่วนในตาที่ได้รับผลกระทบ

สาเหตุของโรคมะเร็งจอประสาทตาคืออะไร?

โรคมะเร็งจอประสาทตาเป็นมะเร็งของจอประสาทตาซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออ่อนที่ด้านหลังของลูกตา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในช่วงแรกของการพัฒนาของทารก เซลล์จอประสาทตาจะเติบโตอย่างรวดเร็วและหยุดการเจริญเติบโตลง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีหากเซลล์หนึ่งเซลล์หรือหลายเซลล์ยังคงเติบโตจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่เรียกว่า โรคมะเร็งจอประสาทตา

ในประมาณ 4 ใน 10 (40%) ของกรณีผู้ป่วยทั้งหมด โรคมะเร็งจอประสาทตาเกิดจากยีนที่ผิดปกติ และทำให้เกิดผลต่อดวงตาทั้งสองข้าง (Bilateral) ยีนที่ผิดพลาดอาจสืบทอดมาจากพ่อแม่หรือเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์จอประสาทตาของตนเองซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงเริ่มแรกของพัฒนาการของทารกในครรภ์

โรคมะเร็งจอประสาทตาที่เหลืออีก 60% ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด ในกรณีผู้ป่วยเหล่านี้ไม่พบยีนที่ผิดปกติและมีเพียง 1 ดวงข้างเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ (Unilateral)

การวินิจฉัยโรคมะเร็งจอประสาทตา

แพทย์ประจำตัวของคุณจะทำการตรวจรีเฟล็กซ์สีแดง (Red reflex test) ในห้องมืดโดยใช้ เครื่องมือชื่อว่า Ophthalmoscope ซึ่งมีลักษณะเป็นแว่นขยายที่มีแสงที่ปลายด้านหนึ่ง

เมื่อแสงส่องลงในดวงตาของเด็ก แพทย์ของคุณจะเห็นการสะท้อนของจอประสาทตา ซึ่งปกติจะเป็นสีแดง แต่ถ้าการสะท้อนเป็นสีขาว นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติของตา เช่น ต้อกระจก, จอประสาทตาฉีกขาด หรือโรคมะเร็งจอประสาทตา ในกรณีนี้บุตรของท่านจะได้รับการแนะนำให้ส่งต่ออย่างเร่งด่วนภายใน 2 สัปดาห์เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตาหรือจักษุแพทย์ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป

จักษุแพทย์จะตรวจสอบดวงตาของบุตรหลานของคุณ และพวกเขาอาจทำการทดสอบรีเฟล็กซ์สีแดงอีกครั้ง จะมีการใช้ยาหยอดตาเพื่อเพิ่มขนาดของลูกตาของบุตรหลานคุณ เพื่อให้สามารถมองเห็นจอตาที่ด้านหลังของดวงตาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางครั้งก็อาจใช้การสแกนอัลตราซาวด์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาหรือไม่ ขั้นตอนดังกล่าวไม่เจ็บปวด ทำโดยนำเจลลูบที่ด้านนอกของเปลือกตาและใช้แท่งตรวจอัลตราซาวด์ขนาดเล็กวางวนอยู่บนเปลือกตาซึ่งจะสแกนตาให้ออกมาเป็นภาพภายใน

หลังจากการตรวจเหล่านี้แล้ว หากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคิดว่าบุตรหลานของคุณเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตา พวกเขาอาจรีบทำการรักษาหรือส่งต่อให้กับศูนย์ตาที่ใหญ่ยิ่งขึ้น

ที่โรงพยาบาลศูนย์มักจะต้องใช้การวางยาสลบเพื่อให้สามารถตรวจสอบดวงตาของบุตรหลานคุณได้อย่างละเอียด และสามารถวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจอประสาทตาจริงหรือไม่

การรักษาโรคมะเร็งจอประสาทตา

บุตรหลานของคุณจะได้รับการรักษาโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ

การรักษาที่แนะนำสำหรับโรคมะเร็งจอประสาทตาดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาจเป็นแบบ:

  • ระยะภายในลูกตา (intraocular) - ซึ่งเซลล์มะเร็งทั้งหมดยังอยู่ในดวงตา
  • ระยะภายนอกลูกตา (extraocular) - ซึ่งเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายเกินกว่าลูกตาไปยังเนื้อเยื่อรอบ  ๆ หรือไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งไม่ค่อยพบเท่าใดนัก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งจอประสาทตา 9 ออก 10 ราย สามารถถูกตรวจพบโรคได้ไว และได้รับการรักษาก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจายออกไปนอกลูกตา

หากมะเร็งแพร่กระจายไปไกลกว่าตาก็จะยากต่อการรักษามากขึ้น อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเรื่องที่พบได้ยาก เนื่องจากอาการของโรคมักรุนแรงชัดเจน ตรวจพบได้ไวก่อนที่จะพัฒนามาถึงขึ้นดังกล่าว

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของบุตรของคุณจะทำการจัดระยะให้กับโรคมะเร็ง ซึ่งจะเป็นระยะใดระยะหนึ่งจากห้าระยะ (A ถึง E) โดยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก

การรักษาเนื้องอกขนาดเล็ก

มีตัวเลือกการรักษาที่เป็นไปได้ 2 ทาง สำหรับการรักษาเนื้องอกขนาดเล็กที่ยังอยู่ภายในลูกตา ทางเลือกการรักษาเหล่านี้ คือ:

  • การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ (Photocoagulation / Thermotherapy)
  • การทำให้เนื้องอกเย็นและแข็งตัว (cryotherapy)

การรักษาเหล่านี้จะทำภายใต้การดมยาสลบเพื่อให้บุตรหลานของคุณหมดสติ และไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือป้องกันความรู้สึกไม่สบายในระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องใช้เคมีบำบัดร่วมด้วยโดยอาจให้ก่อนหรือหลังการรักษาเหล่านี้

การรักษาเนื้องอกขนาดใหญ่

ก้อนเนื้องอกที่ขนาดใหญ่ขึ้นจะได้รับการรักษาด้วยการรักษาต่อไปนี้:

  • การฝังแร่รังสีรักษาภายใน (Brachytherapy) - ถ้าเนื้องอกไม่ใหญ่เกินไป แผ่นบรรจุสารกัมมันตภาพรังสีขนาดเล็กจะถูกเย็บติดไว้กับก้อนเนื้องอกและทิ้งไว้บริเวณดังกล่าวไม่กี่วันเพื่อทำลายเนื้องอก แล้วจึงกำจัดทิ้งไป โดยในหลายกรณี อาจแนะนำให้ใช้รังสีรักษากับดวงตาทั้งลูกในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่และไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น ๆ
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) - อาจใช้เพื่อหดขนาดก้อนเนื้องอกก่อนที่จะใช้วิธีการรักษาข้างต้น หรืออาจมีการแนะนำให้ทำถ้าพบว่ามีโอกาสที่มะเร็งจะแพร่กระจาย ในบางกรณี ยาเคมีบำบัดสามารถได้รับไปยังตาโดยตรงได้
  • การผ่าตัดกำจัดลูกตาออก - มักจำเป็นสำหรับเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งทำให้มองไม่เห็นอีกต่อไป ถ้าบุตรหลานของคุณจำเป็นต้องผ่าตัดกำจัดลูกตาออก แพทย์จะใส่ตาเทียมในตำแหน่งดังกล่าวทดแทน

ผลข้างเคียงของการรักษา

ทีมแพทย์ผู้ทำการรักษาบุตรหลานของคุณจะแจ้งและปรึกษาหารือเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาต่าง ๆ การรักษาที่แตกต่างกันมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน

การสูญเสียการมองเห็นเป็นหนึ่งในความกังวลที่ใหญ่ที่สุดสำหรับคนเป็นพ่อแม่ ทีมผู้รักษาบุตรหลานของคุณจะทำทุกทางเท่าที่ทำได้เพื่อไม่ให้บุตรหลานของคุณสูญเสียการมองเห็นดังกล่าว หากบุตรหลานของคุณจำเป็นต้องผ่าตัดกำจัดลูกตาออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลูกตาอีกข้างหนึ่งจะไม่ได้รับผลกระทบตราบเท่าที่ไม่มีปัญหารุนแรงปัญหาใดเกิดขึ้นในบริเวณที่สำคัญในตาลูกดังกล่าว

เด็กที่สูญเสียการมองเห็นในตาข้างหนึ่งมักจะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในการใช้ตาอีกข้างหนึ่งของพวกเขาทดแทน โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตที่บ้านและที่โรงเรียนของพวกเขา แต่ถ้าตาทั้งสองข้างได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็งจอประสาทตา บุตรหลานของคุณอาจมีการสูญเสียการมองเห็นไประดับหนึ่ง และอาจต้องการการดูแลสนับสนุนทั้งในโรงเรียนทั่วไปหรือโรงเรียนเฉพาะทางเพื่อเด็กพิเศษ

การติดตามผลการรักษา

โรคมะเร็งจอประสาทตาจำเป็นต้องตรวจติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลานานซึ่งมักจะเป็นที่เดียวกันกับที่ทำการผ่าตัดหรือรักษาเป็นแห่งสุดท้าย

การตรวจคัดกรองสำหรับโรคมะเร็งจอประสาทตา

หากคุณกำลังจะตั้งครรภ์ลูกน้อยและคุณเคยเป็นเด็กที่เป็นโรคมะเร็งจอประสาทตามาในวัยเด็ก หรือคุณมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคดังกล่าวคุณควรแจ้งให้แพทย์ประจำตัว สูตินารีแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณทราบ

เนื่องจากในบางกรณี มะเร็งจอประสาทตาเป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม และทารกในครรภ์ถูกพิจารณาว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคเช่นเดียวกัน และอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองหลังคลอด

แพทย์ประจำตัวของคุณจะสามารถส่งต่อคุณไปยังศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจทดสอบที่เหมาะสมสำหรับทารกคลอดใหม่ ความเสี่ยงของลูกของคุณจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็งจอประสาทตาในวัยเด็กของคุณหรือ ของญาติของคุณ

จุดมุ่งหมายของการคัดกรองโรค คือ การระบุและค้นพบเนื้องอกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อสามารถเริ่มต้นการรักษาได้ทันที

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมักจะได้รับการตรวจคัดกรองโดยการตรวจสายตาภายใต้การดมยาสลบ กระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องทำให้โรงพยาบาลซึ่งมีเครื่องมือและบุคลากรพร้อมพอสมควร

จากนั้น ลูกของคุณจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองบ่อย ๆ จนกว่าจะอายุครบ 5 ปี

บุตรหลานของฉันควรเข้ารับการตรวจคัดกรองหรือไม่?

มูลนิธิโรคมะเร็งตาในวัยเด็ก (CHECT) กล่าวว่าบุตรหลานของคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองหากตรงกับเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ต่อไปนี้:

  • คุณหรือคู่สมรสเคยเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตา และกำลังตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตรไป
  • คุณหรือคู่สมรสเคยเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตา และคุณมีบุตรอายุไม่ถึง 5 ปีซึ่งไม่เคยเข้ารับการตรวจตามาก่อน
  • คุณมีบุตรซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาและคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตรไป หรือคุณมีบุตรอายุไม่ถึง 5 ปีซึ่งไม่เคยเข้ารับการตรวจตามาก่อน
  • พ่อหรือแม่หรือพี่น้องของคุณเคยเป็นโรคมะเร็งจอประสาทตาและคุณมีบุตรอายุไม่ถึง 5 ปีซึ่งไม่เคยเข้ารับการตรวจตามาก่อน

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-adults/retinoblastoma


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Retinoblastoma - Genetics Home Reference. Genetics Home Reference - NIH. (https://ghr.nlm.nih.gov/condition/retinoblastoma)
Retinoblastoma: Symptoms, causes, treatment, and more. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/what-is-retinoblastoma)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน

ข้อเท็จจริงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)

อ่านเพิ่ม
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม