ในการฟื้นตัวหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะยังหลงเหลือปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล เช่น ผลกระทบด้านจิตใจ สติปัญญาการรับรู้ การเคลื่อนไหวร่างกาย การสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ ให้การสนับสนุน เพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแลสามารถผ่านสถานการณ์เหล่านี้ไปได้
ผลกระทบด้านจิตใจ
ผลกระทบด้านจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อยมีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ซึมเศร้า: ผู้ป่วยจำนวนมากเสียใจ ร้องไห้อย่างหนัก รู้สึกสิ้นหวัง และแยกตัวเองออกจากกิจกรรมทางสังคม
- วิตกกังวล: ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวและรู้สึกวิตกกังวล โดยในบางครั้งจะรู้สึกวิตกกังวลอย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้
นอกจากนี้ผู้ป่วยยังรู้สึกโกรธ อารมณ์ขุ่นมัว และรู้สึกสับสนอีกด้วย คุณจะได้รับการประเมินผลกระทบทางด้านจิตใจโดยทีมแพทย์ที่ดูแลคุณทันทีภายหลังจากฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองแล้ว เพื่อตรวจสอบว่าคุณมีปัญหาทางด้านอารมณ์เกิดขึ้นหรือไม่
คุณจะได้รับคำแนะนำในการจัดการกับผลกระทบทางด้านจิตใจที่เกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและความสัมพันธ์ทางเพศใดๆ และควรมีการทบทวนปัญหาเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งอาการทางจิตใจและอาการทางด้านอารมณ์อื่นๆ เป็นประจำด้วย
โดยทั่วไปปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นหรือเป็นนานเกินไป แพทย์จะส่งต่อคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อรับการดูแลต่อไป
ในบางรายจะต้องมีการใช้ยาและการบำบัดทางจิตวิทยา เช่น การให้คำปรึกษา หรือ การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioural therapy (CBT)) อาจช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หรือ CBT มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนลักษณะทางความคิดของคุณ ทำให้คุณคิดในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบด้านสติปัญญา การรับรู้ (Cognitive impact)
คำว่า cognitive เป็นคำที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการอธิบายถึงกระบวนการหลายๆ กระบวนการและการทำงานของสมองที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลต่างๆ
โรคหลอดเลือดสมองจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่การทำงานของสมองด้านสติปัญญาและการรับรู้ ตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไป ได้แก่:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- การสื่อสาร-ส่งผลกระทบทั้งการพูดและการเขียน
- ความจำ
- การมีสมาธิ ความตั้งใจ
- การทำงานของสมองด้านการจัดการ-คือความสามารถในการวางแผน การแก้ปัญหา และความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลในสถานการณ์ต่างๆ
- ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายที่เป็นทักษะ เช่น การแต่งตัว หรือการชงชา
ส่วนหนึ่งของการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง คุณจะได้รับการประเมินหน้าที่การทำงานของสมองด้านสติปัญหาและการรับรู้ด้วย ซึ่งแพทย์จะวางแผนในการรักษารวมถึงแผนในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้กับคุณ
มีเทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบด้านสติปัญหาและการรับรู้หลายวิธี เช่น การใช้อุปกรณ์ช่วยจำ สมุดบันทึกไดอารี่ เพื่อช่วยวางแผนการทำงานในแต่ละวัน
ส่วนใหญ่แล้วผลกระทบด้านสติปัญหาและการรับรู้จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปและเมื่อคุณได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายแล้ว แต่คุณอาจพบว่าอาการอาจจะไม่ได้กลับมาดีได้เท่าเดิมเหมือนก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
ความเสียหายต่อสมองที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองด้วย (vascular dementia) ภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดขึ้นทันทีภายหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองก่อนที่จะมีภาวะสมองเสื่อมขึ้น
ปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของอาการอ่อนแรง หรืออัมพาตครึ่งซีกของร่างกาย และสามารถทำให้เกิดปัญหาด้านการทำงานประสานงานกันของร่างกายและการทรงตัวด้วย
ผู้ป่วยจำนวนมากจะรู้สึกอ่อนเพลียมากในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และอาจพบปัญหานอนหลับยาก ซึ่งจะยิ่งทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิม
ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย-ผู้สูงอายุวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในส่วนของการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายคุณควรพบกับนักกายภาพบำบัดซึ่งจะประเมินขอบเขตความพิการทางร่างกายก่อนที่จะวางแผนการรักษา
ในการทำกายภาพบำบัดจะใช้เวลาหลายสัปดาห์และต้องทำหลายๆ ครั้ง ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บริเวณที่มีอาการ เช่น ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพื่อทำให้ปัญหาการเดินลำบากมีอาการดีขึ้น
นักกายภาพบำบัดจะวางเป้าหมายในการการทำกายภาพบำบัดร่วมกับคุณ ในช่วงแรกอาจจะเป็นเป้าหมายง่ายๆ เช่น การหยิบจับสิ่งของ เมื่ออาการของคุณดีขึ้น เป้าหมายในการทำกายภาพบำบัดจะเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ เช่น การยืน หรือการเดิน เป็นต้น
ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สมาชิกในครอบครัวจะได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการทำกายภาพบำบัดของผู้ป่วยด้วย ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะสอนเทคนิคการออกกำลังกายอย่างง่ายที่สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้านให้กับคุณและผู้ดูแลคุณ
หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คุณอาจได้รับการดูแลโดยนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งจะทำการประเมินความสามารถในการทำงานประจำวันและช่วยหาวิธีในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย
การทำกิจกรรมบำบัดอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภายในบ้านของคุณ หรือการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยจะให้การทำกิจกรรมประจำวันง่ายขึ้น และจะช่วยค้นหาวิธีทางเลือกเพื่อให้คุณทำงานที่เกิดปัญหาได้
ปัญหาด้านการสื่อสาร
ภายหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยจำนวนมากจะประสบกับปัญหาด้านการพูดและการทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด รวมถึงปัญหาในการอ่านและการเขียนหนังสือด้วย
ซึ่งก็คือผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการใช้คำพูดและเข้าใจคำพูด (aphasia) หรือไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (dysphasia) ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเสียหายจากโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นที่สมองส่วนควบคุมด้านการใช้ภาษา หากปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด เราเรียกว่า dysarthria
คุณควรเข้าพบนักบำบัดด้านคำพูดและการใช้ภาษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อรับการตรวจประเมินและเริ่มการบำบัดรักษาเพื่อช่วยแก้ไขทักษะการสื่อสารให้กับคุณ
ในการบำบัดอาจเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายเพื่อช่วยให้การควบคุมกล้ามเนื้อพูดดีขึ้น รวมถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยการสื่อสาร (เช่น แผนภูมิตัวอักษรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) และวิธีการสื่อสารแบบอื่น (เช่น การใช้ท่าทางหรือการเขียน)
ปัญหาด้านการกลืน
ความเสียหายที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถขัดขวางรีเฟล็กซ์ของการกลืนอาการตามปกติของคุณ ทำให้มีโอกาสที่อาการชิ้นเล็กๆ จะหลุดเข้าไปในหลอดลม
ปัญหาในการกลืนอาหารหรืออาการกลืนลำบาก (dysphagia) สามารถทำให้เกิดความเสียหายที่ปอด กระตุ้นให้ปอดติดเชื้อ (ปอดอักเสบ, ปอดบวม)
ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากอาการกลืนลำบาก ในช่วงแรกของการฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมอง คุณอาจจำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง โดยสายยางนี้มักใส่เข้าทางจมูกลงสู่กระเพาะอาหารโดยตรง สายยางนี้ชื่อว่า nasogastric tube หรือในบางรายอาจได้รับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องโดยตรง ผ่านการผ่าตัดเล็กร่วมกับการใช้ยาชา (percutaneous endoscopic gastrostomy)
ในการรักษาระยะยาว คุณจะพบกับนักบำบัดด้านการพูดและการใช้ภาษาหลายครั้งต่อสัปดาห์เพื่อรักษาปัญหาการกลืนที่เกิดขึ้น สำหรับคำแนะนำเพื่อให้กลืนอาหารได้ดีขึ้น เช่น การกัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ รวมถึงคำแนะนำเรื่องท่าทาง และการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการกลืนทำงานได้ดีขึ้น
ปัญหาด้านการมองเห็น
โรคหลอดเลือดสมองอาจสร้างความเสียหายให้กับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับ การประมวลผล และการแปลผลสิ่งที่ตามองเห็น อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียขอบเขตการมองเห็นครึ่งหนึ่ง เช่น คุณจะมองเห็นเพียงด้านซ้ายหรือด้านขวาของสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
นอกจากนี้โรคหลอดเลือดสมองยังส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อดวงตา ทำให้เกิดปัญหามองภาพซ้อน (double vision)
หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นภายหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการประเมินการมองเห็นและแนะนำการรักษาที่เป็นไปได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสูญเสียขอบเขตการมองเห็นบางส่วน คุณอาจได้รับการบำบัดการเคลื่อนไหวดวงตา คือ การออกกำลังกายเพื่อช่วยให้คุณมองเห็นด้านข้างที่มีการมองเห็นลดลง
นอกจากนี้คุณยังอาจได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเฉพาะเพื่อทำในสิ่งที่อาจเป็นเรื่องยากหากวิสัยทัศน์การมองเห็นของคุณลดลงในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การแต่งตัว
ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้
บางครั้งโรคหลอดเลือดสมองสามารถส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence) และควบคุมการขับถ่ายอุจจาระได้ยาก
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางรายอาจมีการควบคุมการปัสสาวะและอุจจาระได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมอง แต่ก็มีผู้ป่วยที่ยังคงพบปัญหาหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ดังนั้นคุณสามารถขอความช่วยเหลือได้จากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
อย่าเขินอายที่จะปรึกษาเรื่องนี้ ขอแนะนำให้ขอรับคำแนะนำหากมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะมีวิธีการรักษาหลายวิธีที่สามารถช่วยเหลือคุณ เช่น การออกกำลังกายเพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะทำงานได้ดีขึ้น การใช้ยา และการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับการกลั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น
เพศสัมพันธ์หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การมีเพศสัมพันธ์จะไม่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่มีการรับประกันว่าคุณจะไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอีกในอนาคต แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะเกิดขึ้นขณะที่คุณกำลังมีเพศสัมพันธ์
แม้ว่าหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว คุณยังคงหลงเหลือความพิการอย่างรุนแรง แต่คุณก็สามารถทดลองใช้ตำแหน่งท่าทางอื่นๆ หรือหาวิธีใหม่ในการมีสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ของคุณได้
โปรดทราบว่ายาบางชนิดจะลดแรงขับเคลื่อนทางเพศ ทำให้รู้สึกไม่มีอารมณ์ทางเพศ หากเกิดปัญหานี้ขอให้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมียาที่สามารถช่วยได้
ผู้ป่วยเพศชายบางรายอาจมีปัญหาการไร้สมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) ภายหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ขอให้ปรึกษาแพทย์หรือทีมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายในกรณีดังกล่าวนี้ เพราะมีการรักษาจำนวนมากที่สามารถช่วยเหลือคุณได้
การขับรถหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
หากคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณจะต้องหยุดการขับรถเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และหลังจากนั้นคุณจะกลับไปขับรถได้อีกหรือไม่ก็ขึ้นกับความพิการที่ยังคงหลงเหลืออยู่กับคุณ และขึ้นกับชนิดของพาหนะที่คุณจะขับด้วย
บ่อยครั้งที่โรคหลอดเลือดสมองไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาทางกายที่อาจทำให้การขับขี่เป็นอันตราย เช่น การกดแป้นเหยียบ หรือการจับพวงมาลัย แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการมีสมาธิ ระยะเวลาในการตัดสินใจ และความตระหนักรู้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำกับคุณว่าคุณสามารถกลับไปขับรถได้เหมือนเดิมหลังพ้นระยะเวลา 1 เดือนหรือไม่ หรือคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติมหรือไม่
การป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต
หากคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 1 ครั้ง โอกาสที่คุณจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอีกครั้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน
มีข้อมูลจากการศึกษาบางการศึกษาระบุว่า หากไม่ได้รับการรักษา คุณจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำประมาณ 25% ภายใน 5 ปี และ 40% ภายใน 10 ปี
ดังนั้น คุณจะต้องได้รับการรักษาในระยะยาวด้วยการใช้ยา โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ
ตัวอย่างเช่น คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาในระยะยาวเพื่อช่วยลดความดันโลหิต, ยาต้านการแข็งตัวของเลือก หรือยาต้านเกร็ดเลือด เพื่อช่วยความเสี่ยงเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด หรือได้รับยาสแตติน (statins) เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
นอกจากนี้คุณยังได้รับการส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อทำให้สุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นและลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การออกกำลังกายเป็นประจำ การหยุดสูบบุหรี่ (หากคุณสูบ) และการลดการดื่มแอลกอฮอล์ลง
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
มีหลายวิธีที่สามารถให้การสนับสนุนเพื่อนหรือญาติคุณที่กำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยเร็วยิ่งขึ้น อันได้แก่:
- ช่วยผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดที่บ้าน (ระหว่างการรอนัดหมายพบนักกายภาพบำบัดในครั้งถัดไป)
- ให้การสนับสนุนด้านอารมณ์และให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
- ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายในระยะยาวของการรักษา
- ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่ผู้ป่วยอาจมี เช่น พูดให้ช้าลง ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาในการสื่อสาร
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและสิ้นหวัง สิ่งต่างๆ ด้านล่างนี้คือแนะนำที่อาจช่วยได้
เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย
คนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมักดูเหมือนมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพและเหมือนจะแสดงออกอย่างไม่มีเหตุผลในบางครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะผู้ป่วยได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจและด้านสติปัญหา การรับรู้ ผู้ป่วยอาจโกรธหรือไม่พอใจคุณ ทำให้รู้สึกหงุดหงิด ขอให้พยายามอย่าเก็บมาคิดมาก
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะกลับมาเป็นตัวตนแบบเดิมเมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและร่างกายเริ่มมีการฟื้นตัวแล้ว
พยายามอดทนและคิดบวก
การฟื้นฟูสมรรถภาพจะทำได้อย่างช้าๆ และอาจทำให้รู้สึกสิ้นหวังได้ ซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าที่จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย
ให้สนับสนุนและยกย่องผู้ป่วยในความคืบหน้าที่เกิดขึ้น แม้ว่ามันจะน้อยมากแค่ไหนก็ตาม ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบรรลุเป้าหมายในระยะยาวได้
ให้เวลากับตัวเองบ้าง
หากคุณกำลังดูแลคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งสำคัญคือจะต้องไม่ละเลยสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณเอง การพบปะกับเพื่อนฝูงหรือการทำในสิ่งที่ชอบในยามว่างจะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น
ขอความช่วยเหลือ
มีบริการช่วยเหลือและทรัพยากรที่หลากหลายสำหรับผู้ที่ฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมอง, ครอบครัว และผู้ดูแล มีตั้งแต่อุปกรณ์ที่สามารถช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย การสนับสนุนด้านจิตใจสำหรับผู้ดูแลและครอบครัว
บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายจะให้คำแนะนำและข้อมูลการติดต่อที่เกี่ยวข้องได้