กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความสำคัญของอาหารเช้า

อาหารเช้า มื้อสำคัญของวันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจนหลายคนคาดไม่ถึง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความสำคัญของอาหารเช้า

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หลังจากตื่นนอน ร่างกายจะต้องเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายรวมถึงสมอง
  • คนที่ไม่กินอาหารเช้า จึงมักมีอาการอ่อนเพลีย กินมากขึ้นในตอนกลางวัน และอาจหาขนมกินจุกจิกมากขึ้น
  • มีการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างคนที่ไม่กินอาหารเช้า กับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น รวมถึงไขมันตัวไม่ดี (LDL)
  • อาหารที่เหมาะสมในมื้อเช้าควรมีโปรตีนสูง แคลอรี่ต่ำ เช่น ไข่ กล้วย ข้าวโอ๊ต แต่หากมีอาการท้องอืดแม้จะกินในปริมาณไม่มาก อาจต้องตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงเพิ่มเติม
  • ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงได้ที่นี่

มื้อแรกของวันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย แต่หลายคนเลือกจะกินมื้อแรกของวันในตอนเที่ยง เพราะต้องรีบออกไปทำงาน หรืออาจตื่นสายในวันหยุด ทำให้หลายคนพลาดประโยชน์ดีๆ ในการกินมื้อเช้าเป็นมื้อแรกของวัน

อาหารเช้าสำคัญอย่างไร?

ทุกครั้งหลังตื่นนอน ร่างกายจะยังไม่ฟื้นจากการนอนหลับเต็มที่ทำให้รู้สึกอ่อนแรง การกินอาหารเช้าจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงสมองด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมถึงควรกินอาหารเช้าในชั่วโมงแรกๆ หลังตื่นนอน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าการตื่นมากินอาหารเช้ามีความสัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลตัวที่ไม่ดีลดลง (LDL cholesterol) 

แต่อย่างไรก็ตาม คนที่มีสุขภาพดีจากการกินอาหารเช้า ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาจเป็นคนชอบออกกำลังกาย หรือมีแนวโน้มจะกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่แล้วด้วย

หากไม่กินอาหารเช้าจะเป็นอย่างไร?

สำหรับคนที่ละเลยอาหารมื้อเช้า มักมีแนวโน้มและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่น้อยลง จนอาจส่งผลดังต่อไปนี้

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เนื่องจากร่างกายไม่มีสารอาหารและพลังงานไปเลี้ยงสมอง อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้
  • ไม่มีสมาธิ ความหิวและพลังงานที่ไม่เพียงพออาจทำให้เสียสมาธิในการจดจ่อกับงานหรือการเรียนได้ รวมถึงส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์อีกด้วย
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น คนที่ไม่กินอาหารเช้ามีแนวโน้มที่จะกินมากขึ้นในมื้อกลางวัน รวมถึงอาจหาขนมขบเขี้ยวกินมากกว่าเดิม ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ามีงานวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการกินอาหารเช้ากับ LDL ที่ลดลง

    ดังนั้นผู้ที่ไม่กินอาหารเช้าอาจมีพฤติกรรมกินอาหารฟาสท์ฟู้ดในตอนกลางวัน ทำให้เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคต่างๆ มากขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม แม้การอดอาหารเช้าจะเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ แต่การกินอาหารเช้าที่เป็นโทษ ไขมันสูงเกินไป หรือหวานเกินไป อาจเป็นอันตรายยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปด้วย

ควรเลือกกินอาหารเช้าแบบไหน?

การกินอาหารเช้าให้ดีต่อร่างกาย ไม่จำเป็นต้องกินในปริมาณมาก แต่ควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูงเพราะโดยปกติแล้วอาหารที่มีโปรตีนสูงจะมีสารอาหารจำนวนมาก

ในทางกลับกัน ไม่ควรกินอาหารที่มีแคลอรี่ปริมาณมาก เพราะอาหารแคลอรี่สูงมักจะมีสารอาหารน้อย ซึ่งไม่เหมาะกับความต้องการของร่างกายในตอนเช้า 

ตัวอย่างอาหารที่เหมาะจะเป็นอาหารเช้า เช่น

  • ไข่ มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคนที่กินไข่เป็นอาหารเช้า หรือมีไข่เป็นส่วนประกอบในมื้ออาหาร จะให้ความรู้สึกอิ่มมากกว่า ทำให้ลดปริมาณแคลอรี่ที่จะกินในมื้อต่อไปได้

    นอกจากนี้ไข่ยังมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับอินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลน้ำตาลในเลือด

  • ข้าวโอ๊ต (Oatmeal) ข้าวโอ๊ตเป็นหนึ่งในอาหารเช้าที่หากินง่าย ทำได้ที่บ้านในรูปแบบซีเรียล ในข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยไฟเบอร์ (Fiber) ที่ชื่อ Oat beta-glucan ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอล

    รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ช่วยควบคุมระดับความดันเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

  • กล้วย เป็นผลไม้ที่มีปริมาณไฟเบอร์สูงแต่มีแคลอรี่ต่ำ เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักโดยไม่ต้องอดอาหารเช้า กล้วย 1 ผลมีไฟเบอร์เฉลี่ย 3 กรัม ถือเป็น 12% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการแต่ละวัน

หากกินอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อและเหมาะสมกับชีวิตประจำวัน ก็จะมีค่าดัชนีมวลกายไม่มากและไม่น้อยเกินไป แต่หากกินในปริมาณไม่มากแล้วยังมีอาการอืดท้อง ท้องเสียบ่อย อาจต้องอาศัยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงเพิ่มเติม

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Breakfast: Is It the Most Important Meal?, (https://www.webmd.com/food-recipes/breakfast-lose-weight#1), 27 December 2018.
Franziska Spritzler, RD, CDE, The 12 Best Foods to Eat in the Morning, (https://www.healthline.com/nutrition/12-best-foods-to-eat-in-morning), 15 August 2018.
Freydis Hjalmarsdottir, MS, How Protein at Breakfast Can Help You Lose Weight, (https://www.healthline.com/nutrition/protein-at-breakfast-and-weight-loss), 22 June 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป