วิธีการอ่านและการเรียนสำหรับเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้

เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการอ่านและการเรียนสำหรับเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้

ระบุด้านที่มีปัญหา

ขั้นแรกของการพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเรียนของเด็กก็คือการสามารถระบุด้านที่เป็นปัญหาให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้พ่อแม่และครูสามารถประเมินวิธีในการเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อดูว่าต้องใช้เวลาเท่าใดในการเตรียมตัวสำหรับการสอบ และสิ่งที่เด็กสามารถทำได้จากการทำงานที่แตกต่างกัน

วิธีการเรียน

เด็กไม่รู้ตัวว่าพวกเขากำลังจะต้องเรียนรู้อะไรบ้างในลำดับต่อไป

พ่อแม่และครูอาจช่วยเด็กได้โดยการนำหัวข้อที่กำลังจะเรียนถัดไปมาพูดให้เด็กฟังก่อน อาจใช้การทำรายการคำศัพท์ สูตรใหม่ ๆ จะทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับเรื่องเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มเรียนจริง และเพื่อช่วยให้เด็กสามารถทำความเข้าใจและเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น อาจใช้การทบทวนสมุดจดของบทเรียนครั้งก่อน ควรเริ่มชั่วโมงเรียนด้วยเรื่องที่ยากที่สุด เนื่องจากคุณกำลังตื่นตัวมากที่สุด ก่อนที่จะเรียนเรื่องที่ง่ายลงตามมา

อาจช่วยให้เด็กนำการเรียนนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่พวกเขาต้องทำในแต่ละวัน และเมื่อจบสัปดาห์ ลองใช้เวลา 30-45 นาทีในการทบทวนเนื้อเรื่องที่สั่งไว้, โน้ตที่จดมาจากชั้นเรียน รวมถึงการบ้านครั้งก่อน ๆ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจได้รับประโยชน์จากการทบทวนและเห็นเนื้อหาต่าง ๆ โดยการใช้ป้ายคำ แผงผังเชื่อมโยง หรือการสรุปสั้น ๆ

วิธีการอ่าน

มีวิธีการอ่านหลายรูปแบบที่ช่วยเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้สามารถใช้เวลาของพวกเขาให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เด็กควรจะคุ้นเคยกับลักษณะของหนังสือ ตั้งแต่สารบัญ คำศัพท์ บท และส่วนต่าง ๆ ของหนังสือเพื่อให้พวกเขาสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เด็กกลุ่มนี้ต้องใช้วิธีพิเศษที่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเขา ตัวอย่างเช่น การอ่านเร็ว ๆ หรือการอ่านผ่าน ๆ นั้นอาจช่วยได้ในเด็กชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือแม้แต่ในระดับมหาวิทยาลัย

อาจลองเตรียมวิธีการต่อไปนี้ซึ่งพวกเขาอาจนำไปใช้ได้

  • การอ่านจุดประสงค์ของบทนั้นอาจช่วยทำให้เข้าใจใจความสำคัญของบทนั้น ๆ ได้ดีขึ้น (ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเนื้อหาของหนังสือ)
  • อ่านหัวข้อ หัวข้อย่อย บทนำ และบทสรุป
  • หากเนื้อหานั้นไม่มีหัวข้อ ลองระบุใจความสำคัญข้อใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดหลัก
  • ทบทวนคำศัพท์ที่พิมพ์ด้วยตัวหนา
  • ศึกษารูปภาพ กราฟ ตารางและอื่น ๆ พร้อมกับอ่านคำอธิบายใต้ภาพ
  • มองหาข้อมูลที่อยู่ด้านข้าง
  • ตอบคำถามและทบทวนคำถามท้ายบทเรียน
  • เปลี่ยนหัวข้อ หัวข้อย่อย หรือประโยคหลักของย่อหน้าให้กลายเป็นคำถาม และอาจนำคำถามเหล่านี้มาใช้เป็นสรุปใจความสำคัญเพื่อช่วยในการทบทวนและจำเนื้อหาสำหรับเข้าสอบได้ดีขึ้น
  • อ่านพร้อมพูดข้อความดังกล่าวไปด้วยและถกเถียงกันในประเด็นต่าง ๆ ขณะอ่าน

พ่อแม่ควรพูดคุยกับครูเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่เหมาะสมสำหรับลูกของพวกเขาและวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเรียน การส่งเสริมให้เด็กเขียนคำต่าง ๆ หรือหัวข้อที่ยังไม่เข้าใจลงบนกระดาษโพสต์อิทนั้นจะช่วยให้พวกเขาสามารถทบทวนและนำไปสอบถามกับครูได้ในวันรุ่งขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Learning Disorders in Children. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/learning-disorder.html)
Learning disabilities. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/learning-disabilities/)
Definition of Learning disability. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=39226)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป