กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

โลน (Pubic Lice)

อาการคันอย่างรุนแรงบริเวณผิวหนังและขนรอบอวัยวะเพศ อาจมีสาเหตุมาจากตัวโลนได้
เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โลน (Pubic Lice)

โลน (Pubic Lice) หรือเหาโลนเป็นปรสิตขนาดเล็กที่ใช้ชีวิตบนผิวหนังและขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดไปยังผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ มาดูกันว่าอาการเมื่อมีโลนเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่ และมีวิธีการป้องกันอย่างไร

โลนคืออะไร

โลนหรือเหาโลน (Phthirus pubis) เป็นปรสิตภายนอกขนาดเล็กจำพวกแมลง ที่ใช้ชีวิตบนผิวหนังและขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดไปยังผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้อาจติดโลนได้จากการใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าปูที่นอนร่วมกัน โดยเมื่อโลนอาศัยอยู่บนร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินเลือดเป็นอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อส่องดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ ตัวโลนจะมีลักษณะคล้ายปูจึงถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “Crabs (แครบ)” 

ลักษณะอาการเมื่อมีโลน

ผู้ที่ติดโลนมาส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้ตัวในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะมีอาการดังนี้

  • เกิดอาการคันอย่างรุนแรง (โดยเฉพาะเวลากลางคืน)
  • อาจสังเกตเห็นรอยกัดของโลนบริเวณต้นขา หรือผิวหนังรอบอวัยวะเพศ มีลักษณะเป็นจุด หรือรอยสีเทาๆ
  • สังเกตเห็นปรสิตสีขาวเทาไต่อยู่ตามขนที่อวัยวะเพศ
  • อาจสังเกตเห็นไข่โลนสีขาวอยู่ตามขนด้วย ซึ่งไข่เหล่านี้จะมีขนาดประมาณหัวเข็มหมุด และมีลักษณะเหมือนไข่เหา ไข่โลนนั้นไม่สามารถดึงออกมาได้ง่ายจำเป็นต้องใช้หวีสางเหาช่วย ซึ่งหวีชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือร้านค้าทั่วไป

ติดตัวโลนอันตรายหรือไม่

การติดตัวโลนมาอาจไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ แต่อาการคันจะสร้างความรำคาญ และโลนยังสามารถติดไปยังผู้อื่นได้

โลนมีอายุเท่าไหร่

โลนตัวเมียมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 25-30 วัน และแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ 20-30 ใบ นอกจากนี้โลนยังสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกาย (ไม่ติดอยู่กับร่างกาย) ได้นาน 1-2 วัน ดังนั้นผู้ติดโลนจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษา บางรายหากปล่อยทิ้งไว้สักระยะเวลาหนึ่งก็สามารถหายไปเองได้

การรักษาโลน

หากคุณสงสัยว่ากำลังติดโลน หรือคู่รักมีโลน แนะนำให้พบแพทย์ หรือสูติแพทย์ทันที เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามีโลนจริง แพทย์จะสั่งยาหรือเขียนใบสั่งยา โดยจะเป็นรูปแบบยาทาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าโลนและไข่โลนได้ เช่น เพอร์เมทริน (Permethrin) หรือสระด้วยแชมพูลินเดน (Lindane shampoo)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาได้ด้วยการตัดหรือโกนขนบริเวณที่มีโลน ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี มีข้อดีคือไม่ต้องทายาหรือสารเคมี โดยจะทำให้ตัวโลนและไข่ไม่มีที่เกาะยึด หลังจากนั้นหากรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอโลนก็จะหายไปเอง

ข้อสำคัญคือ เพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพคุณอาจต้องใช้ยาซ้ำทุก 7-10 วัน เพื่อฆ่าโลนที่เกิดจากไข่ในภายหลัง นอกจากนี้ผู้ที่รับการรักษาโลนจะต้องได้รับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย

หลังจากนั้น เพื่อป้องกันการกลับมาติดโลนอีกครั้ง ให้นำผ้าปูเตียง ผ้าเช็ดตัว และเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว ไปซักแห้ง หรือซักด้วยน้ำร้อนจัด (50-60 องศาเซลเซียส) และเป่าด้วยเครื่องเป่าผม เพื่อฆ่าตัวโลนและไข่โลนที่อาจติดอยู่บนข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้น

ใครก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะทางปาก ทวารหนัก หรือช่องคลอด ควรตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอว่าตนเองได้ติดโลนมาหรือไม่ การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และป้องกันการตั้งครรภ์ แต่การใช้ถุงยางอนามัยนั้นก็ไม่สามารถป้องกันการแพร่โลนได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Goldstein AO and Goldstein BG, Pediculosis pubis and pediculosis ciliaris (https://www.uptodate.com/contents/pediculosis-pubis-and-pediculosis-ciliaris#H806595404), 25 October 2018
National Institute for Health and Care Excellence, Pubic Lice(https://www.nice.org.uk/cks-uk-only#!topicSummary)
Robyn R. Miller, Pubic Lice (Crabs) (https://kidshealth.org/en/teens/std-lice.html), December 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม