ภูวนัย ดวงสุภา
เขียนโดย
ภูวนัย ดวงสุภา
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

โพรโลเทอราพี (Prolotherapy) หนึ่งในการแพทย์ทางเลือกที่ใช้รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โพรโลเทอราพี (Prolotherapy) คือการฉีดสารละลายเข้มข้นเข้าไปที่ข้อต่อเพื่อทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นในร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด
เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โพรโลเทอราพี (Prolotherapy) หนึ่งในการแพทย์ทางเลือกที่ใช้รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โพรโลเทอราพี เป็นหนึ่งในการแพทย์ทางเลือก ใช้รักษาข้อต่อ (Joint) เส้นเอ็นยึดกระดูก ได้แก่ เอ็นยึดข้อ (Tendon) และเอ็นลิกาเมนต์ (Ligament) หรือใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
  • กลไกการรักษาของโพรโลเทอราพีคือ การฉีดสารละลายเข้มข้นชนิดต่างๆ เข้าไปสร้างการระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน และกระตุ้นให้ร่างกายเริ่มขบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง
  • ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะใช้โภชนบำบัดในการรักษาร่วมด้วย เช่น การเสริมวิตามินซี คอลลาเจน วิตามินและเกลือแร่รวม หรือกลูโคซามีน เพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารเพียงพอในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่
  • ผู้มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมจากการติดเชื้อ การอักเสบจากภาวะภูมิต้านทานตนเอง หรือข้ออักเสบจากโรคเกาต์ ไม่ควรใช้เลือกใช้วิธีโพรโลเทอราพีรักษา เพราะจะกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงขึ้นได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ

โพรโลเทอราพี (Prolotherapy) เป็นหนึ่งในการแพทย์ทางเลือกที่นำมาใช้รักษาอาการปวดของข้อต่อและเอ็นยึดข้อที่มีประสิทธิภาพ นิยมนำมาใช้รักษาในผู้ที่มีปัญหาเข้าเข่าเสื่อม นักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บ และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถผ่าตัดข้อเข่าได้ เพราะปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย 

อีกทั้งยังมีจุดเด่นสำคัญที่ราคาไม่แพงอีกด้วย ประชาชนทั่วไปจึงเข้าถึงได้ง่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โพรโลเทอราพี คืออะไร?

โพรโลเทอราพี เป็นหนึ่งในวิธีรักษาการแพทย์ทางเลือกที่มีใช้กันอย่างยาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 แต่เดิมเรียกวิธีการรักษานี้ว่า "สคลีโรเทอราพี" (Sclerotherapy)

ในปัจจุบันแบ่งโพรโลเทอราพีออกจากสคลีโรเทอราพีตามเป้าหมายในการรักษา ดังนี้

  • โพรโลเทอราพี ใช้รักษาข้อต่อ (Joint) เส้นเอ็นยึดกระดูก ได้แก่ เอ็นยึดข้อ (Tendon) และเอ็นลิกาเมนต์ (Ligament) หรือใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
  • สคลีโรเทอราพี (Sclerotherapy) หรือ การฉีดสารระคายหลอดเลือด ใช้รักษาภาวะเส้นเลือดขอด (Varicose veins) ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) หรือความผิดปกติเกี่ยวกับหลอดเลือดอื่นๆ

กลไกการรักษาของโพรโลเทอราพี

การรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี คือ การฉีดสารละลายเข้มข้นชนิดต่างๆ เช่น

  • ไฮเปอร์ออสโมล่ากลูโคส (Hyperosmolar glucose)
  • สารฟีนอลกลีเซอรีนกลูโคส (Phenol glycerine glucose)
  • สารละลายเกลือมอร์รูเอทโซเดียม (Morrhuate sodium)

สารละลายเข้มข้นเหล่านี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน (Acute Inflammation) ตามมา

การอักเสบเฉียบพลันนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายเริ่มขบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่ (Healing Process) ในระหว่างนั้นจะทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง และร้อน แต่จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

โพรโลเทอราพี รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร?

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพี แพทย์จะฉีดสารละลายเข้มข้น เช่น กลูโคส เข้าไปภายในข้อ และตามจุดติดของเส้นเอ็นต่างๆ รอบข้อเข่าด้านขวา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การอักเสบจะทำให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารอาหารต่างๆ ในการซ่อมแซม ซึ่งแพทย์จะใช้โภชนบำบัดในการรักษาร่วมด้วย เช่น การเสริมวิตามินซี คอลลาเจน วิตามินและเกลือแร่รวม หรือกลูโคซามีน เพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารเพียงพอในการรักษานั่นเอง

ขั้นตอนในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพี เป็นอย่างไร?

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพี มีขั้นตอนดังนี้

  1. แพทย์ทำการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) และเอกซเรย์ (X-rays) เพื่อประเมินอาการ
  2. ก่อนทำหัตถการ แพทย์จะทำความสะอาดผิวบริเวณที่ฉีดด้วยแอลกอฮอล์ และทายาชา (Lidocaine) เพื่อลดอาการปวดระหว่างที่ทำการรักษา
  3. แพทย์ทำการฉีดสารละลายเข้มข้น ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น หลังจากนั้นแพทย์จะนัดติดตามอาการและฉีดสารกระตุ้นทุกทุก 2 สัปดาห์

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพีจะต้องเข้ารับการรักษากี่ครั้ง และเมื่อไรถึงจะเห็นผล?

จำนวนครั้งในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพีจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมของแต่ละคน เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมในระดับปานกลาง แพทย์อาจนัดฉีดกระตุ้นทุกๆ 2 สัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน

ผู้เข้ารับการรักษาจะมีอาการปวดระบม 2-3 วันจากการเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์หลังฉีด อาการปวดข้อเข่าต่างๆ จะลดลง สภาพเข่าแน่นและแข็งแรงขึ้น รวมไปการเคลื่อนไหวของข้อเข่าก็ดีขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพีจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยส่วนมากจะใช้เวลาในการรักษาเริ่มตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน ไปจนถึง 1 ปี

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพี มีข้อดีอย่างไร?

เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ เช่น การรับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ การฉีดสเตียรอยด์แล้ว การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีโพรโลเทอราพีมีข้อดีคือไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายมากนัก เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร
  • ผลเสียต่อสุขภาพไตในระยะยาว
  • ภาวะเอ็นเปื่อยยุ่ย
  • กระดูกผิวข้อกร่อนจากสารสเตียรอยด์

นอกจากนี้โพรโลเทอราพียังเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านข้อเข่าเสื่อมรุนแรง แต่ไม่สามารถรับภาระจากการผ่าตัดได้ เพราะเป็นการรักษาที่ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย

ผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี

ผู้มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมจากการติดเชื้อ มีการติดเชื้อบริเวณที่จะทำการฉีด การอักเสบจากภาวะภูมิต้านทานตนเอง หรือข้ออักเสบจากโรคเกาต์ มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรใช้เลือกใช้วิธีโพรโลเทอราพีรักษา 

เนื่องจากจะกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงขึ้นได้ หรืออาจเกิดเลือดออกไม่หยุดหรือหยุดยากจากการฉีดได้

อย่างไรก็ตาม การแพทย์ทางเลือกในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมยังมีอีกหลายวิธี เช่น การฉีดน้ำไขข้อเทียม การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือที่เรียกว่า การฉีดพีอาร์พี (Platelet Rich Plasma: PRP) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินให้เหมาะกับอาการของแต่ละคน และเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมให้

การดูแลตัวเองก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี

ก่อนเข้ารับการรักษา ควรหยุดรับประทานยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal antiinflammatory drugs: NSAIDs) อย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

การรับประทานยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ยาแก้ปวดข้อ หรือยาแก้ข้ออักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) หรือ นาโพรเซน (Naproxen) ฤทธิ์ยาจะเข้าไปยับยั้งการอักเสบซึ่งขัดต่อการรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี

นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวิตามินซีและโปรตีน เพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารที่ใช้ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่ออย่างเพียงพอ

การดูแลตัวเองหลังการรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี

หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี หรือหลังจากฉีดสารกระตุ้นการอักเสบภายใน 48-72 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการรักษาจะมีอาการปวดระบมจากการเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

ผู้เข้ารับการรักษาสามารถรับประทานยาแก้ปวดอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "พาราเซตามอล (Paracetamol)" ขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการปวดได้โดยที่ไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

การรักษาด้วยโพรโลเทอราพี ราคาเท่าไร?

การรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี หรือการฉีดสารละลายเข้มข้น ราคาเริ่มต้นที่ครั้งละ 1,000 บาท

โพรโลเทอราพี เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาข้อต่อและเอ็นยึดข้อที่ทำได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น นักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บ ผู้ที่ปวดข้อเท้าข้อศอก กระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกเสื่อม ก็สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้

อย่างไรก็ตาม คุณควรเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีโพรโลเทอราพี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sanderson, LM; Bryant, A (2015). "Effectiveness and safety of prolotherapy injections for management of lower limb tendinopathy and fasciopathy: a systematic review". Journal of Foot and Ankle Research. 8: 57. doi:10.1186/s13047-015-0114-5.
Rabago, D; Slattengren, A; Zgierska, A (March 2010). "Prolotherapy in primary care practice". Primary Care. 37 (1): 65–80. doi:10.1016/j.pop.2009.09.013. PMC 2831229. PMID 20188998.
Rabago, D; Nourani, B (2017). "Prolotherapy for Osteoarthritis and Tendinopathy: a Descriptive Review". Current Rheumatology Reports. 19 (6): 34. doi:10.1007/s11926-017-0659-3. PMID 28484944.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)

โรคเกาต์เทียมแตกต่างจากโรคเกาต์อย่างไร เกิดจากสาเหตุเดียวกันใช่หรือไม่

อ่านเพิ่ม
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด

เมื่อข้อเข่าใช้การไม่ได้ดั่งเดิม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อให้กลับมาใช้งานเข่าได้ดังเดิม

อ่านเพิ่ม