กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัญญาณปัญหาเรื่องเข่าและกระดูก สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สัญญาณปัญหาเรื่องเข่าและกระดูก สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคเข่าเสื่อม ถือได้ว่าเป็นโรคที่มักจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะมีการใช้งานในส่วนของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายอย่างหนักหน่วงในช่วงชีวิตที่ผ่านมา และแน่นอนว่าถึงแม้ว่าโรคนี้ จะไม่เป็นอันตรายถึงขนาดทำให้เสียชีวิต แต่ก็ส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคนี้เกิดความทรมาน จนกระทั่งไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตได้เป็นปกติ

นับว่าโชคดีที่ในปัจจุบันนี้ ทางการแพทย์ของเมืองไทยได้มีการพัฒนาไปมาก ซึ่งนั่นหมายความว่า หากเราเริ่มรู้สึกตัวว่ามีความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคเข่าเสื่อม สามารถที่จะเข้าพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันที และโอกาสที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งในส่วนของลักษณะหรืออาการ ที่เป็นสัญญาณเตือนว่า เราควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูปัญหาเรื่องเข่าและกระดูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัญญาณปัญหาเรื่องเข่าและกระดูก

  1. ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยตามตัว อาการของโรคข้อเข้าเสื่อม มักจะเริ่มแสดงให้เราเห็น โดยการที่เราอาจจะรู้สึกเจ็บปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย ในบางครั้ง และการเจ็บปวดนั้น อาจจะไม่รุนแรงตลอดเวลา แต่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเราจำเป็นต้องใช้ร่างกาย ในการทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อกระดูกและข้อบริเวณเข่า อย่างเช่น การวิ่ง , การเดิน , การนั่งยอง ๆ ,การนั่งพับเพียบ , การงอหัวเข่า เป็นต้น
  1. ผู้ที่มีอาการหลังตึงอย่างเป็นประจำ ด้วยลักษณะของข้อเข่า นับได้ว่าเป็นส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักร่างกายอย่างมหาศาลในแต่ละวัน และด้วยความที่ต้องทำงานร่วมกันกับกระดูกสันหลัง อาจจะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มักจะมีอาการปวดเกร็งที่บริเวณหลัง หรือบริเวรเอวเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่อาการของข้อเข่าเสื่อม จะแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งการบรรเทาอาการในระยะสั้น จะเน้นไปที่การออกกำลังกายเบา ๆ หรือการนวดประคบด้วยความร้อน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น
  1. การค้นพบสภาวะของกระดูกอ่อนทำงานไม่ปกติ เราอาจจะได้ยินเสียงกระดูกดัง เวลาที่มีการขยับตัว หรือได้ยินเสียงเหมือนกระดูกลั่นเป็นประจำ ซึ่งในวัยหนุ่มสาวเสียงนี้อาจจะยังไม่มี แต่เมื่อร่างกายของเราเสื่อมลง ส่งผลทำให้การทำงานของกระดูกอ่อน ย่อมทำได้ไม่ดีนัก ซึ่งอาจจะมีผลในส่วนของน้ำเลี้ยงข้อต่อ ที่มีน้อยลงด้วยก็เป็นได้ เมื่อมีการขยับบริเวณข้อต่อ จึงทำให้เกิดเสียงจากความฝืดของกระดูก
  2. ข้อต่อขาดความยืดหยุ่น จากที่เราเคยงอเข่า งอศอก หรือข้อมือได้อย่างปกติ ก็อาจจะทำได้ยากขึ้น หรือในบางรายจะพบว่าไม่สามารถที่จะงอข้อเข่า ข้อศอกได้อย่างที่ควรจะเป็น หรือบางครั้งเมื่องอเข้าไปได้ ก็ไม่สามารถที่จะเหยียดแขนขาได้อย่างปกติ และจะมีอาการปวดร่วมด้วย โดยในระยะแรกอาจจะเป็นไม่นาน แต่หลังจากนั้นจะมีอาการปวดที่มากขึ้น และนานขึ้น ซึ่งหากมีอาการมาถึงจุดนี้ การเข้าพบแพทย์เป็นเรื่องที่จำเป็นแล้ว เพราะไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน

[caption id="" align="aligncenter" width="556"]

กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย[/caption]

ปัญหาเรื่องข้อต่อและกระดูก นับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของกลุ่มคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกทรมานแล้ว ยังทำให้เสียสุขภาพจิตด้วย แต่การป้องกันสามารถที่ทำได้ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่ช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยง กับการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคตได้


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bone Cancer: Signs, Symptoms, and Complications. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/bone-cancer-signs-symptoms-and-complications-4161169)
Knee Pain: Symptoms, Signs, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/knee_pain/symptoms.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด

เมื่อข้อเข่าใช้การไม่ได้ดั่งเดิม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อให้กลับมาใช้งานเข่าได้ดังเดิม

อ่านเพิ่ม