กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)

โรคเกาต์เทียมแตกต่างจากโรคเกาต์อย่างไร เกิดจากสาเหตุเดียวกันใช่หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 9 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเกาต์เทียม หรือ CPPD คือ ภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต (Calcium Pyrophosphate) สะสมภายในข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ ในขณะที่โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของผลึกยูริก (Uric) ภายในข้อ
  • การเกิดผลึกสะสมในข้อที่ทำให้เกิดโรคเกาต์เทียมนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่ากันทั้งผู้ชาย และผู้หญิง โดยเกิดขึ้นในประชากรประมาณ 3% ของผู้ที่มีอายุประมาณ 60 ปี โดยสัดส่วนของจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 50% ในผู้ที่มีอายุ 90 ปี 
  • โรคเกาต์เทียมมักจะเกิดที่เข่า ในขณะที่โรคเกาต์มักจะเกิดที่นิ้วโป้งเท้า แต่โรคเกาต์เทียมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกข้อ รวมถึงนิ้วโป้งเท้า ถึงแม้ว่าเวลาที่อาการโรคเกาต์เทียมกำเริบอาจรุนแรงคล้ายกับโรคเกาต์ แต่ก็มักจะปวดน้อยกว่า
  • เนื่องจากลักษณะของโรคเกาต์เทียมคล้ายคลึงกับโรคข้ออักเสบชนิดอื่น จึงควรพบผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อเพื่อทำการวินิจฉัยโรค เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว จะทำให้มีโอกาสป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายข้ออย่างรุนแรงได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจข้อเข่า

โรคเกาต์เทียม (Pseudogout) เป็นโรคที่มักเกิดความสับสนกับโรคเกาต์ และโรคข้ออื่นๆ ดังนั้นการวินิจฉัยโรคที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะผู้ป่วยโรคเกาต์เทียมที่ไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เกิดอาการข้อเสื่อมรุนแรง อักเสบเรื้อรัง และนำไปสู่การพิการได้ 

ความแตกต่างของโรคเกาต์เทียมกับโรคเกาต์ 

โรคเกาต์เทียม หรือที่เรียกว่า CPPD (Calcium pyrophosphate dihydrate) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต (Calcium Pyrophosphate) สะสมภายในข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในขณะที่โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของผลึกยูริก (Uric) ภายในข้อ

ผู้ป่วยที่มีการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตประมาณ 25% จะป่วยเป็นโรคเกาต์เทียม ผู้ป่วยโรคเกาต์เทียมไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน แต่ผู้ป่วยประมาณ 5% อาจมีอาการที่คล้ายโรคข้ออักเสบรูห์มาติก และผู้ป่วยอีกประมาณ 50% เกิดอาการที่คล้ายกับโรคข้อเสื่อมได้

การเกิดผลึกสะสมในข้อที่ทำให้เกิดโรคเกาต์เทียมนี้ เกิดขึ้นในประชากรประมาณ 3% ของผู้ที่มีอายุประมาณ 60 ปี โดยสัดส่วนของจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 50% ในผู้ที่มีอายุ 90 ปี 

โรคเกาต์เทียมมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่ากันทั้งผู้ชาย และผู้หญิง

อาการของโรคเกาต์เทียม

โรคเกาต์เทียมมักจะเกิดที่เข่า ในขณะที่โรคเกาต์มักจะเกิดที่นิ้วโป้งเท้า อย่างไรก็ตาม โรคเกาต์เทียมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกข้อ รวมถึงนิ้วโป้งเท้า

ถึงแม้ว่าเวลาที่อาการโรคเกาต์เทียมกำเริบอาจรุนแรงคล้ายกับโรคเกาต์ แต่ก็มักจะปวดน้อยกว่า โดยมีลักษณะอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มีอาการปวด ตั้งแต่หลายวันจนถึง 2 สัปดาห์
  • อาจมีไข้ตามมาได้
  • มักเกิดขึ้นได้เอง หลังการเจ็บป่วยรุนแรง การผ่าตัด หรือการได้รับอุบัติเหตุ
  • ทำให้กระดูกอ่อน และข้อต่อถูกทำลาย อาการจะแย่ลงเรื่อยๆ หลังจากที่อาการกำเริบได้หลายปี

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์เทียม

นอกจากปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อโรคเกาต์เทียมแล้วนั้น ปัจจัยอื่นที่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดโรค ประกอบด้วย

  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากไป (Hyperparathyroidism)
  • ภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis)
  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยไป (Hypothyroidism)
  • ภาวะ Amyloidosis (แอมีลอยโดซิส)
  • ภาวะพร่องแมกนีเซียมในเลือด  (Hypomagnesemia)
  • ภาวะฟอสเฟตต่ำ (Hypophosphatasia)

การวินิจฉัยโรคเกาต์เทียม 

เนื่องจากลักษณะของโรคเกาต์เทียมคล้ายคลึงกับโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ดังนั้นจึงควรพบผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อ (Rheumatologist) เพื่อทำการวินิจฉัยโรค เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว จะทำให้มีโอกาสป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายข้ออย่างรุนแรงได้

การวินิจฉัยทำได้โดยการดูดน้ำจากข้อที่มีอาการ และนำมาส่องหาผลึกลักษณะรูปแท่ง หรือรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งจะทำให้สามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคได้ 

หากตรวจพบว่า มีแคลเซียมสะสมที่กระดูกอ่อนและภายในข้อ (Chondrocalcinosis) ภายใต้การมองด้วยรังสีเอกซเรย์ก็สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้เช่นกัน 

นอกจากนั้นอาจพิจารณาส่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่า ไม่ได้เป็นโรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น

การรักษาโรคเกาต์เทียม

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการให้หายขาด แต่มีวิธีการรักษาที่สามารถควบคุมอาการได้

  • โรคเกาต์เทียมสามารถควบคุมได้โดยการใช้ยา ซึ่งแพทย์มักจ่ายยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) เพื่อควบคุมอาการปวด และการอักเสบ เมื่ออาการกำเริบ 
  • ใช้ Colchicine (โคลชิซิน) ร่วมกับ NSAIDs ปริมาณน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบในครั้งหน้า 
  • อาจฉีด Cortisone (คอร์ติโซน) เข้าในข้อที่อักเสบ เพื่อควบคุมอาการปวด และการอักเสบได้เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาอื่นได้ 
  • การผ่าตัดเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาของผู้ป่วยที่มีการทำลายของข้ออย่างรุนแรง

ถึงแม้ว่าผลึกที่มีการสะสมในโรคเกาต์เทียมจะมีส่วนประกอบของแคลเซียม แต่การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมจำนวนมากก็ไม่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์เทียม ดังนั้นการเปลี่ยนอาหารจึงไม่ได้ช่วยควบคุมอาการของโรคด้วยเช่นกัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจข้อเข่า จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MacMullan, P., and McCarthy, G. Treatment and management of pseudogout: insights for the clinician.Ther Adv Musculoskeletal Dis. 2012 Apr; 4(2): 121-131. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3383522/), 3 May 2020.
Corinna Underwood, Pseudogout (https://www.healthline.com/health/pseudogout), 15 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีอาหารใดที่จะช่วยควบคุมโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่?
มีอาหารใดที่จะช่วยควบคุมโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่?

อาหารที่ช่วยลดโรคเกาท์สามารถช่วยโรคเกาท์เทียมได้หรือไม่

อ่านเพิ่ม
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด

เมื่อข้อเข่าใช้การไม่ได้ดั่งเดิม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อให้กลับมาใช้งานเข่าได้ดังเดิม

อ่านเพิ่ม