พื้นฐานการป้องกันฟันผุในเด็ก

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
พื้นฐานการป้องกันฟันผุในเด็ก

ด้วยวิถีชีวิตและนิสัยการรับประทานของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้ปัญหาฟันผุในเด็กเป็นเรื่องธรรมดามาก

ฟันผุเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

เมื่อเด็กรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต (แป้งกับน้ำตาล) เข้าไป แบคทีเรียในช่องปากจะเปลี่ยนให้มันกลายเป็นกรดที่ไปละลายสารเคลือบฟันจนไปถึงพื้นผิวฟัน และจะสร้างโพรงไปสู่เนื้อฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันเด็กวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การป้องกันฟันผุจะมีระยะเวลานานเท่าไร?

เด็กแต่ละคนต้องการวิธีป้องกันฟันผุแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยอย่างกิจจะลักษณะการทานอาหารของครอบครัว นิสัยการดูแลความสะอาดช่องปาก แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดฟันผุ และอื่น ๆ ทางครอบครัวต้องให้ร่วมมือกับทันตแพทย์ในการจัดสร้างหลักปฏิบัติที่เหมาะสมให้แก่บุตรหลานของพวกเขา อย่างการสอนลูกให้รักษาความสะอาดในช่องปากเป็นกิจวัตร ใช้เจลฟลูออไรด์ ทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ปรับเปลี่ยนอาหารการกินที่บ้าน และเข้าตรวจฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำ เป็นต้น

ฉันควรเริ่มทำความสะอาดฟันของลูกเมื่อไร?

เร็วเท่าไรก็ยิ่งดี! หากเป็นทารกอายุแรกเริ่มไปจนถึงหนึ่งขวบให้ทำความสะอาดเหงือกและฟันพวกเขาด้วยผ้าสะอาด หลังจากอายุหนึ่งขวบก็ค่อยใช้แปรงสีฟันขนนุ่มกับยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์ปริมาณเท่าเม็ดถั่ว เมื่อพวกเขาอายุสองขวบ ให้ใช้ยาสีฟันเด็กที่มีฟลูออไรด์ปริมาณ 500 ppm แล้วจึงเปลี่ยนเป็นยาสีฟันฟลูออไรด์ 1000 ppm เมื่อเด็กเริ่มบ้วนหรือกลั้วคอเป็นแล้ว

ลูกของฉันจะแปรงฟันด้วยตัวเองได้หรือไม่?

เด็กเล็กยังคงมีทักษะการเคลื่อนไหวไม่ดีเท่าไรนัก ทำให้พวกเขาไม่อาจแปรงฟันให้สะอาดหมดจดได้ จึงแนะนำว่าทางผู้ปกครองควรดูแลแปรงฟันพวกเขาให้ก่อน หรือจนกว่าเด็กจะมีอายุอย่างน้อย 6 ปี สำหรับเด็กที่อายุมากกว่านี้ ผู้ปกครองควรสอนวิธีการแปรงฟันและขัดฟัน (รวมไปถึงการแปรงลิ้นด้วย) อย่างถูกวิธี และแนะนำให้พวกเขาแปรงฟันหลังอาหารหรือทานขนมทุกครั้ง

อาหารประเภทใดบ้างที่ทำให้ฟันผุ?

อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงจะทำให้เด็กเสี่ยงต่อฟันผุ ซึ่งคาร์โบไฮเดรตประกอบไปด้วยแป้งและน้ำตาล แป้งนั้นรวมไปถึงอาหารจำพวกขนมปัง บิสกิต ขนมขบเคี้ยว พาสต้า และอื่น ๆ ส่วนน้ำตาลนั้นไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะของหวานและช็อคโกแลตเท่านั้น อาหารทุกประเภทที่แฝงความหวานไว้นั้นสามารถก่อให้เกิดฟันผุได้ แต่กระนั้นก็ไม่ควรกีดกันคาร์โบไฮเดรตออกไปโดยสมบูรณ์เนื่องจากเด็ก ๆ ต้องได้รับสารอาหารให้สมดุลเพื่อใช้ในการเสริมสร้างฟันและช่วยบำรุงเหงือกของพวกเขา

ควรพาบุตรหลานไปพบทันตแพทย์บ่อยแค่ไหน? และทำไมต้องไปพบทันตแพทย์สองครั้งต่อปีหากบุตรหลานไม่เคยมีปัญหาฟันผุมาก่อน?

เด็กควรเข้ารับการตรวจฟันสองครั้งต่อปี แต่สำหรับบางกรณีก็อาจมากกว่านั้นอย่างกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงสูง มีรูปแบบการเจริญเติบโตที่ผิดปรกติ หรือกลุ่มที่ขาดการดูแลความสะอาดในช่องปาก

ยิ่งมีการตรวจพบฟันผุเร็วเท่าไรก็ยิ่งป้องกันปัญหาที่อาจลามปามไปได้เร็วเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้กุมารทันตแพทย์ทำความสะอาดสิ่งตกค้างแฝงที่อาจเป็นอีกสาเหตุในการก่อฟันผุไปด้วย รวมไปถึงการรักษาด้วยฟลูออไรด์ เพื่อเสริมปริมาณฟลูออไรด์ให้แก่ชั้นเคลือบฟันของเด็ก ซึ่งช่วยป้องกันฟันผุ และยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะให้ทันตแพทย์พัฒนาเทคนิคการแปรงฟันและขัดฟันที่ดีแก่พวกเขา

รายการต่อไปนี้คือคำแนะนำที่ช่วยให้เด็ก ๆ ไม่ต้องประสบกับปัญหาฟันผุ:

  1. ระวังการกินขนมขบเคี้ยวบ่อย ๆ ของพวกเขา
  2. แปรงฟันสองครั้งต่อวัน (แนะนำให้หลังอาหารทุกมื้อ) ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
  3. ขัดฟันหนึ่งครั้งต่อวัน
  4. ทำการเคลือบหลุมร่องฟันตามความเหมาะสม
  5. เข้าตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ
  6. มองหาและใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับช่องปากที่มีฟลูออไรด์

10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Children's Oral Health | Basics | Children's Oral Health | Division of Oral Health. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/oralhealth/basics/childrens-oral-health/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก

ฟัน อวัยวะสำคัญของร่างกาย เมื่อฟันลูกน้อยเริ่มมีปัญหาจะรักษาอย่างไร พร้อมบอกวิธีดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็กในเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม