กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก

ฟัน อวัยวะสำคัญของร่างกาย เมื่อฟันลูกน้อยเริ่มมีปัญหาจะรักษาอย่างไร พร้อมบอกวิธีดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็กในเบื้องต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ทำฟันเด็ก วิธีรักษาฟัน การดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง ค่าทำฟันเด็ก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การพาเด็กไปพบทันตแพทย์นับเป็นสิ่งสำคัญมาก หากเป็นการทำฟันครั้งแรกๆ ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เด็กเพราะอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการไปพบทันตแพทย์ทั่วไป
  • การทำฟันเด็กในครั้งแรก ทันตแพทย์จะพยายามทำฟันเด็กด้วยขั้นตอนง่ายๆ และใช้เวลาไม่นาน เช่น ขัดฟัน เคลือบหลุมร่องฟันซี่ที่ยังไม่ผุ เคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ รวมทั้งชื่นชมและมีรางวัลให้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี
  • สามารถพาเด็กไปพบทันตแพทย์ได้ทันทีเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น หรืออายุประมาณ 6 เดือน เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากสอนการแปรงฟัน หรือการทำความสะอาดช่องปากอย่างเหมาะสม และแนะนำพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ 
  • ปัญหาสุขภาพฟันที่พบในเด็กโดยส่วนใหญ่คือ ปัญหาฟันผุ ซึ่งพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือนเป็นต้นไป และจะผุมากขึ้นอย่างรวดเร็วในเด็กวัย 1-3 ปี แต่หากผู้ปกครองสามารถพาเด็กไปพบทันตแพทย์ได้เร็วก็จะช่วยให้รักษาได้ง่ายขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน

ฟันผุ ปวดฟัน ปัญหาพื้นฐานของเด็กๆ แม้จะดูเป็นปัญหาธรรมดา แต่กลับสร้างความหนักใจให้ผู้ปกครองไม่น้อย เพราะหลายคนอาจกังวลว่าหากไปพบทันตแพทย์แล้วเด็กกลัวการทำฟัน หรือถ้าเด็กไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาจะทำอย่างไร 

ไม่แน่ใจว่า ต้องพาเด็กไปพบทันตแพทย์เด็กเฉพาะทางหรือไม่ หรือไม่ทราบว่า ควรต้องพาเด็กไปพบทันตแพทย์เมื่อไร และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเท่าไร สารพัดความกังวลของผู้ปกครอง HD มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันเด็กวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำฟันเด็ก จำเป็นต้องพบทันตแพทย์เด็กหรือไม่ ทำอย่างไรไม่ให้เด็กกลัวการทำฟัน?

การพาเด็กไปพบทันตแพทย์นับเป็นสิ่งสำคัญมาก หากเป็นการทำฟันครั้งแรกๆ ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เด็กเพราะอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการไปพบทันตแพทย์ทั่วไป

ทันตแพทย์เด็กจะไม่เพียงรักษาฟันเท่านั้น แต่จะใช้หลักจิตวิทยาในการพูดคุย แนะนำเครื่องมือต่างๆ รวมถึงวิธีการรักษาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ทำให้เด็กรู้สึกว่า "การทำฟันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด" รวมถึงสร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึกสนุก ผ่อนคลาย จนเกิดความประทับใจและพร้อมให้ความร่วมมือในการรักษา

โดยส่วนใหญ่ การทำฟันเด็กในครั้งแรก ทันตแพทย์จะพยายามทำฟันเด็กด้วยขั้นตอนง่ายๆ และใช้เวลาไม่นาน เช่น ขัดฟัน เคลือบหลุมร่องฟันซี่ที่ยังไม่ผุ เคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ รวมทั้งชื่นชมและมีรางวัลให้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี

ยังมีอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามคือ นอกจากผู้ปกครองจะต้องแปรงฟันให้เด็กทุกวันแล้ว ผู้ปกครองควรหมั่นตรวจดูสุขภาพฟันของเด็กด้วยตนเองในเบื้องต้น 

หากเห็นลักษณะที่ผิดปกติไป เช่น เห็นฟันมีรู มีคราบ สีเหลือง น้ำตาล หรือดำ เหงือกแดงบวม หรือมีหนอง ในเด็กที่เริ่มพูดได้อาจบอกอาการได้ หากเด็กเริ่มมีอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันแม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรพาไปพบทันตแพทย์เด็กโดยเร็วที่สุด 

เพราะหากฟันผุน้อยจะรักษาง่ายใช้เวลาไม่นาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความรู้สึกของเด็กทั้งสิ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรพาลูกไปทำฟันเด็ก พบทันตแพทย์เด็กเมื่อไร?

ผู้ปกครองหลายคนมักพาเด็กไปพบทันตแพทย์ก็ต่อเมื่อเริ่มมีปัญหาสุขภาพฟัน เช่น ฟันผุ ปวดฟัน หรือฟันน้ำนมใกล้หลุดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วสามารถพาเด็กไปพบทันตแพทย์ได้ทันทีเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น หรืออายุประมาณ 6 เดือน 

ทั้งนี้เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากและอาจเคลือบฟลูออไรด์ แม้ว่าช่วงเวลานั้นเด็กอาจยังไม่มีปัญหาสุขภาพฟันใดๆ เลยก็ตาม

ทันตแพทย์จะสอนการแปรงฟัน หรือการทำความสะอาดช่องปากอย่างเหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย และแนะนำพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ รวมทั้งสร้างความคุ้นเคยในการมาพบทันตแพทย์ อุปกรณ์ทำฟัน ห้องทำฟัน และเพื่อไม่ให้เด็กเกิดความกลัว

ทันตแพทย์เด็กจะดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้เด็กไปจนถึงอายุ 12 ปี เมื่อพ้นจากช่วงวัยนี้แล้ว ผู้ปกครองก็สามารถพาไปพบทันตแพทย์ทั่วไปได้

หากเด็กไม่ยินยอมทำฟัน ทันตแพทย์จะมีวิธีรักษาอย่างไร?

ปัญหาหลักที่พบในการทำฟันเด็กคือ เด็กหลายๆ คนมักกลัวคนแปลกหน้า กลัวการทำฟัน และไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะมีการพูดคุย สร้างความคุ้นเคยกับเด็กในเบื้องต้น จนเด็กรู้สึกผ่อนคลายและยินยอมรับการรักษา

แต่หากการสื่อสารไม่สำเร็จและจำเป็นต้องทำการรักษาเร่งด่วน ทันตแพทย์จะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองเพื่อทำการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากเด็กดิ้นมาก บางครั้งอาจต้องใช้ผ้าห่อตัวเด็กไว้ขณะรักษา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ทำ เพราะอาจทำให้เด็กมีทัศนคติไม่ดีต่อการทำฟัน

ทำฟันเด็ก ปัญหาหลักที่พบคืออะไร?

ปัญหาสุขภาพฟันที่พบในเด็กโดยส่วนใหญ่คือ ปัญหาฟันผุ ซึ่งพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือนเป็นต้นไป และจะผุมากขึ้นอย่างรวดเร็วในเด็กวัย 1-3 ปี

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุขระบุว่า กว่า 50% ของเด็กวัย 3 ปี มีปัญหาฟันผุเฉลี่ย 2.7 ซี่ต่อคน ขณะที่กว่า 78% ของเด็กวัย 5 ปี มีปัญหาฟันผุเฉลี่ย 4.4 ซี่ต่อคน

ส่วนใหญ่ปัญหาฟันผุในวัยเด็กมักเกิดจากการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ถูกวิธี เช่น ไม่แปรงฟัน ชื่นชอบการรับประทานลูกอม ขนมหวาน หรือขนมขบเคี้ยว ไม่ใช้ไหมขัดฟัน แปรงฟันไม่ถูกวิธี

การเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันสำหรับเด็กให้ห่างไกลจากฟันผุ

แปรงสีฟันและยาสีฟันเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการช่วยดูแลสุขภาพฟันของเด็ก ป้องกันปัญหาฟันผุ ซึ่งแปรงสีฟันและยาสีฟันของเด็กแต่ละช่วงวัยก็มีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ช่วงแรกเกิด 

ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ผู้ปกครองสามารถดูแลช่องปากด้วยการหมั่นใช้ผ้าก๊อซสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดเหงือกและลิ้นให้ทารก ไม่ควรปล่อยให้ลิ้นมีฝ้าขาวหนาจนเกินไป เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

ช่วง 6 เดือน (หรือตั้งแต่มีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น) ถึง 3 ปี 

ควรเลือกแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม หน้าตัดตรง แต่ก็ไม่ควรเลือกขนแปรงที่นุ่มจนเกินไป ซึ่งอาจไม่สามารถกำจัดคราบแบคทีเรียออกได้เลย ทั้งนี้ใช้ร่วมกับยาสีฟันเด็กที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1000 ppm ได้เลยตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรก

โดยบีบยาสีฟันลงบนแปรงสีฟันขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหรือแค่เป็นฟิล์มบางๆ บนแปรงสีฟัน แปรงบนตัวฟันให้ถึงขอบเหงือกหลังจากแปรงเสร็จแล้วใช้ผ้าก๊อซสะอาดเช็ดฟองออก

เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 2 ปี ผู้ปกครองควรเริ่มสอนให้เด็กรู้จักการบ้วนน้ำและแปรงฟันเองในเบื้องต้น เพื่อให้เด็กคุ้นเคย แต่ผู้ปกครองต้องช่วยแปรงฟันซ้ำด้วยทุกครั้ง เพราะเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้ทั่วถึง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้ปกครองแปรงฟันซ้ำให้เด็กจนถึงอายุ 8 ปี ทั้งนี้เพราะพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก มือ และนิ้วมือ ซึ่งใช้ควบคุมการแปรงฟันจะพัฒนาสมบูรณ์ที่ช่วงเวลานี้

ช่วง 3-6 ปี 

ควรเลือกแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม หน้าตัดตรง ใช้ร่วมกับยาสีฟันเด็กที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1000 ppm โดยบีบยาสีฟันลงบนแปรงสีฟันขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด แปรงบริเวณฟัน

ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟัน ในบางรายที่มีฟันผุมาก ทันตแพทย์จะนัดรักษาต่อเนื่อง และอาจต้องนัดมาตรวจสุขภาพฟันทุก 3 เดือน

นอกจากนี้ผู้ปกครองควรใช้ไหมขัดฟันขัดฟันทุกซี่ให้เด็กทุกครั้งก่อนการแปรงฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารที่อาจติดอยู่ตามร่องเหงือกและฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฟันผุ

ปรับพฤติกรรม บอกลาปัญหาฟันผุ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กมีปัญหาฟันผุเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานและการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่เหมาะสม แต่หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นได้ ก็จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง โดยควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หรืออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ผู้ปกครองต้องสอนให้เด็กแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยการแปรงฟันแต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที ดังนี้
    • วางขนแปรงแนบกับตัวฟันถึงของเหงือก โดยเอียงขนแปรงเป็นมุมประมาณ 45 องศากับตัวฟัน
    • สำหรับเด็ก ใช้วิธีการขยับแปรงไป-มาเล็กน้อยสั้นๆ ในแนวนอน ขยับไปเรื่อยๆจนครบทุกซี่ (Bass Technique) 
    • แปรงให้ทั่วทุกซี่ ทั้งด้านนอก ด้านในของฟันบนและฟันล่างให้สะอาด
    • ส่วนด้านบดเคี้ยวให้ถูไปมาตามแนวฟันทั้งซ้าย-ขวา จนสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานและขนมขบเคี้ยวระหว่างวัน เพราะโดยส่วนใหญ่เด็กจะไม่มีโอกาสแปรงฟันในตอนกลางวัน ทำให้เศษขนมสะสมอยู่บนตัวฟันและตามซอกฟันจนเกิดฟันผุได้
  • หากให้เด็กดื่มนมก่อนนอน ควรให้เด็กแปรงฟันหลังดื่มนมทุกครั้ง เพราะแบคทีเรียสามารถนำน้ำตาลจากนมไปทำปฏิกิริยาจนเกิดกรดกัดกร่อนฟัน ทำให้ฟันผุได้
  • อย่ารอให้ฟันน้ำนมที่ที่ผุหลุดออกไปเอง แต่ควรพบทันตแพทย์เพื่ออุดฟันในกรณีที่ยังอุดได้ เพราะการผุอาจรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลต่อรากฟัน หรือโพรงประสาทฟันได้
  • พบทันตแพทย์เด็กอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพฟันและเคลือบฟลูออไรด์ หากพบฟันผุ จะได้รีบรักษาอย่างทันท่วงที

ค่าใช้จ่ายในการทำฟันเด็ก

ค่าใช้จ่ายในการทำฟันเด็กนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เด็กมีปัญหาทางช่องปากมากน้อยแค่ไหน หากเป็นการตรวจสุขภาพฟันธรรมดา พร้อมเคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ประมาณ 500 บาทขึ้นไป แต่หากมีปัญหาฟันผุ ปวด หรือต้องรักษาโรคใดเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นตามการรักษานั้น

การพาเด็กไปพบทันตแพทย์เด็กเป็นประจำ คือหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟันไปได้ แต่การทำฟันเด็กก็เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้น 

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ข้อนี้จะช่วยป้องกันโรคทางช่องปากและฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
CHAPTER 14 - Pediatric Dentistry: Dentistry for Children (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780323014830500183), 21 July 2020.
คลินิกทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, แนะนำคลินิกทันตกรรมเด็ก, (https://dt.mahidol.ac.th/th/โรงพยาบาลทันตกรรม-คณะทันตแพทยศาสตร์-มหาวิทยาลัยมหิดล/คลินิกทันตกรรมเด็ก/), 19 ธันวาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม
การผุกร่อนบนฟันน้ำนม

เตรียมความพร้อมดูแลฟันชุดแรกในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานดูแลฟันแท้ต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่ม