กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หญิงตั้งครรภ์สามารถรับวัคซีนได้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หญิงตั้งครรภ์สามารถรับวัคซีนได้หรือไม่

การรับวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์นั้นสามารถทำได้แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน วัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอกรน สามารถรับได้ในช่วงตั้งครรภ์ บางชนิด เช่น วัคซีนบาดทะยัก สามารถรับได้ในช่วงตั้งครรภ์หากมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและจำเป็นต้องได้รับ

ทั้งนี้ หากวัคซีนเป็นชนิด วัคซีนเชื้อเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรค หัด คางทูม หัดเยอรมัน จะให้วัคซีนแก่เด็กทารกเมื่อเด็กคลอด เนื่องจากการให้ตอนทารกยังอยู่ในครรภ์อาจจะทำให้ทารกพิการได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับวัคซีนใดก่อนเสมอ โดยมากแล้วหญิงตั้งครรภ์จะได้รับคำแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอาการของโรคในหญิงตั้งครรภ์นั้นรุนแรงกว่าหญิงปกติ และรวมถึงการรับวัคซีนไอกรน เพื่อป้องกันทารกในครรภ์หลังจากคลอดให้ปลอดจากโรคไอกรน วัคซีนไอกรนมักจะให้เมื่ออายุครรภ์ 20-32 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

การรับวัคซีนไอกรนในหญิงตั้งครรภ์

โรคไอกรนสามารถเป็นอันตรายต่อเด็กทารกหลังคลอดได้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่มีการรับวัคซีนป้องกัน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรับวัคซีนคือช่วงอายุครรภ์ 16-32 สัปดาห์ แต่หากไม่ได้รับในช่วงนี้ก็สามารถรับช่วงหลักคลอดได้เช่นกัน ภูมิคุ้มกันที่ได้รับนั้นจะส่งต่อไปยังทารกได้ โดยผ่านทางรกของมารดา และสามารถป้องกันโรคไอกรนได้ จนทารกเติบโต และรับวัคซีนอีกครั้งเมื่อเด็กอายุครบ 2 เดือน

หญิงตั้งครรภ์จึงควรรับวัคซีนไอกรนเมื่อใด

การรับวัคซีนใหญิงตั้งครรภ์จะมีประสิทธิภาพมากในการส่งต่อภูมิคุ้มกันไปสู่ทารกในครรภ์ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรับวัคซีนคือช่วงอายุครรภ์ 16-32 สัปดาห์ แต่หากไม่ได้รับในช่วงนี้ก็สามารถรับช่วงหลังคลอดได้เช่นกันแต่อย่างไรก็ตามทารกยังคงมีโอกาสเป็นโรคไอกรนได้หากรับวัคซีนช่วงหลังคลอด

การรับวัคซีนไอกรนในหญิงตั้งครรภ์จะได้ผลจริงหรือไม่

มีการศึกษาพบว่าการรับวัคซีนไอกรนมีประสิทธิภาพมากในหญิงตั้งครรภ์ สามารถป้องกันโรคไอกรนในเด็กทารกได้ 91% เมื่อเทียบกับเด็กที่แม่ไม่ได้รับวัคซีน และมีประสิทธิภาพป้องกันได้จนเด็กมีอายุ 2 เดือน และวัคซีนสามารถป้องกันโรคไอกรนในแม่ได้เช่นกัน

หญิงตั้งครรภ์จะได้รับวัคซีนไอกรนชนิดใด

วัคซีนไอกรนจะเป็นวัคซีนชนิดผสม โดยจะรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ บาดทะยักและคอตีบ ซึ่งวัคซีนจะมีชื่อว่า บูสทริกซ์ ไอวีพี (Boostrix IPV) ซึ่งจะให้แก่เด็กทุกรายก่อนจะเริ่มเข้าโรงเรียน

ผลข้างเคียงของวัคซีนไอกรนคืออะไร

ในบางรายอาจเกิดผลข้างเคียงระดับไม่รุนแรงได้บ้าง เช่น บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีนคือต้นแขนด้านบน ซึ่งเิดขึ้นได้กับวัคซีนทุกชนิด โดยจะหายได้ในไม่กี่วัน ผลข้างเคียงอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น มีไข้ ระคายเคืองบริเวณที่ฉีด แขนบวม เบื่ออาหาร ปวดศรีษะ ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงนั้นไม่มี

โรคไอกรนคืออะไร

ไอกรน (Pertussis) คือโรคติดเชื้อร้ายแรง ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการไอรุนแรงและหายใจไม่ทัน และมีเสียงไอที่มีลักษณะเฉพาะ (เสียงดังวู้ป) จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อในภาษาอังกฤษทั่วไปว่า Whooping cough หรือ ไอกรน หากไม่ทำการรักษา การติดเชื้อจะรุนแรงขึ้นและนำไปสู่การเป็นโรคปอดบวมและสมองเสียหายได้ ดังนั้นการรับวัคซีนของแม่จึงสำคัญมาก ซึ่งจะสามารถลดโอกาสการติดเชื้อในเด็กได้ เพราะในเด็กทารกยังไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยตัวเอง โดยแม่จะต้องรับวัคซีนในช่วงตั้งครรภ์ หรือเด็กสามารถรับวัคซีนหลังคลอดได้ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรก

การรับวัคซีนไอกรนในหญิงตั้งครรภ์จะทำให้แม่มีโอกาสเป็นโรคไอกรนหรือไม่

ไม่ เนื่องจากวัคซีนไอกรนเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย นั่นหมายถึง วัคซีนไม่สามารถก่อการติดเชื้อได้ ทั้งในแม่และเด็กทารก

หากแม่เคยได้รับวัคซีนไอกรนจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน แม่จำเป็นต้องรับวัคซีนซ้ำอีกครั้งหรือไม่

ต้องได้รับวัคซีนซ้ำ เนื่องจากจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กคนใหม่ และรับวัคซีนเมื่อแม่มีอายุครรภ์ 16 สัปดาห์

จะทราบได้อย่างไรว่าทารกเป็นโรคไอกรนหรือไม่

ทราบได้โดยหมั่นสังเกตุอาการต่างๆดังนี้ อาการไอรุนแรงจนหายใจไม่ทัน หรือไม่หายใจ อาจมีการอาเจียนหลังการไอ และมีเสียงดังวู้ปหลังการไอ หากพบหรือสงสัยว่ามีอาการไอกรน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can I have vaccinations when I'm pregnant?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/vaccinations-pregnant/)
Vaccines and Pregnancy: Top 7 Things You Need to Know. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/vaccines/pregnancy/pregnant-women/need-to-know.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม