กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หลังมีเพศสัมพันธ์แล้วมีอาการแปลกๆ แสดงว่าท้องเสมอไปหรือไม่?

หลังมีเพศสัมพันธ์แล้วมีอาการท้องอืด รู้สึกเหมือนมีอะไรหนักๆ ในท้อง กินเยอะผิดปกติหรืออยากอาหาร แสดงว่าท้องแน่ๆ...จริงหรือ?
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หลังมีเพศสัมพันธ์แล้วมีอาการแปลกๆ แสดงว่าท้องเสมอไปหรือไม่?

หลังจากมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้ป้องกัน แล้วมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย อยากกินนั่นกินนี่มากกว่าปกติ หรือเบื่ออาหาร บางคนอาจเริ่มมีความสงสัยว่า "ฉันจะท้องหรือเปล่า?" HonestDocs หาคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้

คำถาม: ฉันจะตั้งครรภ์หรือไม่ถ้าฉันมีอาการของการตั้งครรภ์ภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่นาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำตอบ: อาการอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์นอกจากการขาดประจำเดือนมักเริ่มเกิดเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 หรือ 6 ของการตั้งครรภ์ หรือประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการขาดประจำเดือนรอบล่าสุด หรือ 6 สัปดาห์หลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย บางครั้งคุณอาจจะได้ยินบางคนที่มีอาการเกิดขึ้นพร้อมๆกับการขาดประจำเดือน

มันง่ายกว่าที่จะมองย้อนกลับไปถึงช่วงก่อนที่จะขาดประจำเดือนและบอกว่าไม่มีอาการของการแพ้ท้องเลย แต่ขณะนั้น คุณไม่สามารถทำให้เชื่อได้ แต่ว่าอาการเหล่านั้นไม่ใช่อย่างอื่นนอกจากอาการแพ้ท้อง จนเมื่อตอนนี้ได้รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์และรู้สึกถึงสิ่งที่ควรรู้สึกซึ่งไม่เหมือนแต่ก่อน ทำให้รู้ว่าอาการตอนนั้นเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นกับร่างกายตามรอบเดือน

อาการคลื่นไส้หลังจากมีเพศสัมพันธ์เป็นหนึ่งในคำถามที่เคยถูกถามบ่อยตลอดการทำงาน ความจริงก็คืออาการคลื่นไส้นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งนั้นแต่อย่างไร ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้ตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้และเพิ่งเริ่มมีอาการคลื่นไส้จากการตั้งครรภ์ แค่ว่าก่อนหน้านี้ร่างกายยังไม่แสดงอาการ ผู้หญิงส่วนมากมักจะไม่มีอาการจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 5 หรือ 6 ของการตั้งครรภ์

ทำไมคุณถึงรู้สึกเหมือนว่าตั้งครรภ์

คุณมักจะต้องรอให้เข้าสู่ช่วงเวลารอ 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างการตกไข่และการมีประจำเดือนรอบถัดไป ก่อนที่จะมีอาการทางกาย อาการเหล่านี้ประกอบด้วย

  • รู้สึกท้องอืด
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • ปวดหัวมากขึ้น
  • มีการเปลี่ยนแปลงความอยากอาหาร
  • มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม
  • รู้สึกหนัก ๆ ในช่องท้อง

ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้สามารถเป็นอาการของการตั้งครรภ์ แต่ก็อาจจะสามารถอธิบายได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างรอบเดือนเช่นกัน หรือเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต เหตุการณ์ต่าง ๆ นี้เช่นความเจ็บป่วย ความเครียด หรือแม้แต่เรื่องง่าย ๆ เช่นพักผ่อนไม่เพียงพอหรือออกกำลังกายมากเกินไป

ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนซึ่งอาจคิดว่าเป็นอาการของการตั้งครรภ์ เพราะอาจจะไม่เคยมีอาการเหล่านี้มาก่อนในแต่ละรอบเดือน เมื่อคุณมีอาการใด ๆ ก็ตามที่ผิดปกติไปจากการมีรอบเดือนโดยทั่วไปก็อาจทำให้เกิดการสับสนกับอาการของการตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ในช่วงกำลังพยายามมีบุตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีคนกล่าวว่า “ฉันไม่เคยมีอาการปวดหัวระหว่างรอบเดือนมาก่อน ดังนั้นพอฉันเริ่มมีอาการปวดหัวหลายครั้งในช่วงอาทิตย์ก่อนที่จะมีประจำเดือน ฉันเลยคิดว่าฉันอาจจะตั้งครรภ์ แน่นอนว่าฉันแปลกใจมากที่ผลการทดสอบการตั้งครรภ์ออกมาเป็นลบ 2 ครั้งก่อนที่ประจำเดือนของฉันจะมาตามปกติ”

ดังนั้นการมีอาการ 1 หรือ 2 หลังจากมีเพศสัมพันธ์มักไม่ใช่อาการของการตั้งครรภ์ การทดสอบการตั้งครรภ์ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกได้ว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่ ถึงแม้ว่าคุณจะต้องรอจนกว่าจะถึงกำหนดการมีประจำเดือนรอบหน้าเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ คุณอาจใช้การตรวจครรภ์ที่บ้านหรือตรวจกับแพทย์ ผดุงครรภ์ หรือสถานที่ดูแลสุขภาพก็ได้ และในผู้ป่วยส่วนมากคุณไม่จำเป็นต้องแจ้งการมาทดสอบหรือผลกับใคร

อาการที่อาจแสดงว่ามีการตั้งครรภ์ก่อนการมีรอบเดือน

นอกจากการตรวจการตั้งครรภ์ที่แม่นยำแล้ว อาการที่คุณอาจใช้เพื่อระบุว่าคุณตั้งครรภ์ก่อนที่จะทดสอบการตั้งครรภ์ก็คือระดับอุณหภูมิกายปกติ (Basal Body Temperatures – BBT) ค่านี้สามารถใช้ได้หากคุณเคยมีการวัดมาก่อนวันที่จะตกไข่ ยิ่งคุณมีข้อมูลของค่านี้มากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถบอกรูปแบบของค่านี้ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น หากพบว่าอุณหภูมิของคุณอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง คุณอาจจะคิดว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ได้จนกว่าจะสามารถพิสูจน์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

ไม่ได้กำลังพยายามที่จะตั้งครรภ์?

หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงที่จะตั้งครรภ์ ควรมองหาวิธีการคุมกำเนิดเช่นการใช้ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด การใช้โฟม การฉีดยาคุมกำเนิด หรือวิธีการคุมกำเนิดอีกหลายรูปแบบ ควรสอบถามแพทย์ ผดุงครรภ์ หรือศูนย์สุขภาพในพื้นที่ของคุณเพื่อให้ได้วิธีการคุมกำเนิดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Soon After Sex Can You Get Pregnant?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/does-lying-on-your-back-after-sex-help-with-conception-1960291)
Can You Feel Pregnancy Symptoms Soon After Sex?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/pregnancy-symptoms-soon-after-sex-2758457)
5 DPO: Early symptoms and when to take a pregnancy test. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322696)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม