การแพทย์เฉพาะเจาะจง (Precision Medicine)

รู้จัก “การแพทย์เฉพาะเจาะจง” การรักษาที่ออกแบบตามพันธุกรรมของผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การแพทย์เฉพาะเจาะจง (Precision Medicine)

“ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ยังคงเป็นคำกล่าวที่แสนจริงและไม่อิงกับกระแสของยุคสมัย เพราะทุกคนล้วนปรารถนาถึงสุขภาพที่ดีกันทั้งสิ้น ด้วยเทคโนโลยีและวิชาการต่างๆที่พัฒนาขึ้นอย่างกว้างขวางทำให้ผู้คนในสังคมโลกสมัยใหม่มีอายุขัยโดยเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นดังจะเห็นได้จากที่หลายๆประเทศเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวการณ์ที่จะกลายสู่ลักษณะ “สังคมผู้สูงอายุ” ในอนาคตอันใกล้ในขณะเดียวกันกับที่วิทยาการทางการแพทย์สามารถยืดอายุของประชากรให้นานขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้คุณภาพของสุขภาพสมบูรณ์นานตามไปได้ด้วย ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มักจะต้องเข้ารับการดูแลรักษาอาการป่วยเรื้อรังเป็นระยะเวลาหลายปี ผู้ป่วยบางรายอาจต้องพบแพทย์และกินยารักษาอาการไปตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ประจำสถานพยาบาลต่างๆที่จะต้องรองรับหน้าที่ในส่วนนี้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆกับรักษาผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน ผลตามมาคือปัญหาขั้นบุคคลากรรองรับเคสผู้ป่วยไม่เพียงพอ จึงเกิดเป็นแนวคิดเพื่อให้ประชาชนป้องกันสุขภาพมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง (Precision Medicine) เป็นการแพทย์แนวใหม่ ที่มีการวินิจฉัยจนถึงการจ่ายยาและผลิตยาให้เป็นไปตามลักษณะพันธุกรรม(Genes และข้อมูลสุขภาพเฉพาะของแต่ละบุคคลในระดับโมเลกุล เพื่อทำการดูแลรักษารวมถึงป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของคนไข้เป็นรายบุคคลมาประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การใช้ชีวิต สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยของคนไข้ เป็นต้นต่างจากการรักษาในอดีตที่ใช้วิธีรักษาที่เป็นกลางๆ ใช้ได้กับทุกคน เพราะปัจจัยความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน

แนวความคิดเรื่องการแพทย์เฉพาะเจาะลงมีการนำมาใช้เป็นระยะเวลานานแล้ว เช่น กรณีการถ่ายเลือด และการปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ต้องมีการตรวจเช็กถึงการเข้ากันได้ทางพันธุกรรมระหว่างผู้ให้และผู้รับว่าเป็นไปได้ไหม รวมทั้งการใช้ยารักษาที่จะต้องตรวจหาผลตอบรับในร่างกายของผู้รับยาว่าจะมีปฏิกิริยาเฉพาะตัวต่อตัวยาไปในทิศทางใด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน และจะนำมาขยายเป็นการวินิจฉัยเพื่อป้องกันการเกิดโรคจนเกิดเป็นแนวทางการวินิจฉัยใหม่นี้โดยการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของยีนมาใช้นั้น ทำได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจและพิจารณาประกอบกับข้อมูลเฉพาะบุคคล เช่น ประวัติการรักษาของครอบครัวว่าเคยเป็นโรคอะไรมาก่อนบ้าง และตรวจหาโอกาสเสี่ยงภายในยีนส์ของบุคคลนั้น เช่น เช่น ผู้หญิงที่มี BRCA1 หรือ BRCA2 mutation จะมีโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่สูง ในขณะที่คนมี Lynch syndrome จะมีโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ หรือคนที่มี Familial hypercholesterolemia ก็มักจะเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเมื่อทราบถึงผลที่อาจเกิด จะได้หาวิธีป้องกันโรคแต่เนิ่นๆ ได้ซึ่งพบว่าการรักษาเฉพาะคนนี้ได้ผลดีขึ้นมากถึง 70-80% คนไข้มีอายุยาวขึ้น และเมื่อใช้ยาเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย พบว่าสามารถตอบสนองได้ยาวกว่า

กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัด คือโรคพันธุกรรมเด่นที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นถึง 50% หนึ่งในนั้นคือ มะเร็ง มีการกล่าวถึงการรักษาและป้องกันโดยวินิจฉัยผ่านกระบวนการการแพทย์เฉพาะเจาะจงนี้ ดังบทสัมภาษณ์ของ นพ.ภูชัย พิทักษ์กิจนุกูร แพทย์อายุรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมามีความก้าวหน้าเรื่องการตรวจและรักษามากขึ้น ทั้งการผ่าตัด ฉายแสง ใช้ยา จากแต่ก่อนที่มีเฉพาะเคมีบำบัดซึ่งใช้วิธีการนี้รักษาทุกคนเหมือนกันหมด แต่พบว่าได้ผลเฉพาะบางคน ดังนั้นการรักษาวันนี้จึงมุ่งเน้นไปเฉพาะเจาะจงถึงระดับพันธุกรรม ซึ่งพบว่าการรักษาเฉพาะคนนี้ได้ผลดีขึ้นมากถึง 70-80% คนไข้มีอายุยาวขึ้น และเมื่อใช้ยาเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย พบว่าสามารถตอบสนองได้ยาวกว่าจากเดิมโรคมะเร็งปอดสามารถคุมการแพร่กระจายได้ 6 เดือน แต่เมื่อใช้วิธีนี้สามารถควบคุมได้ 2-3 ปี ซึ่งเป็นการฉีดเพื่อให้เม็ดเลือดขาวไปฆ่ามะเร็งได้ดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รวมถึงคำกล่าวจาก ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาโมเลกุลการแพทย์ ที่กล่าวถึงว่า มะเร็ง ที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมโดยกำเนิด 5% ปัจจุบันประเทศไทยมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน เราสามารถถอดรหัสพันธุกรรมที่มากถึง 20,000 ยีนทั้งร่างกาย หรือการตรวจมะเร็ง 30-50 ยีนไปพร้อมๆ กัน ซึ่งผู้ที่ควรได้รับการตรวจยีนเพื่อหาความเสี่ยงมะเร็ง คือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเสียชีวิตโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ผู้ที่ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วไม่พบความผิดปกติแต่มีสัญญาณเหนื่อยเรื้อรัง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ท้องผูกสลับท้องเสีย มีตุ่มหรือก้อนเนื้อ เป็นต้น

ในประเทศไทยการแพทย์เฉพาะเจาะจงเริ่มมีการศึกษาและวางโครงการวินิจฉัยเพื่อการป้องกันและรักษาและนำออกสื่อประชาสัมพันธ์ตามโรงพยาบาลที่เริ่มนำเข้ามาใช้ ดังนี้

  • โรงพยาบาล สมิติเวช สุขุมวิท
  • ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การแพทย์เฉพาะเจาะจงนับเป็นนวัตกรรมที่อาจปฏิวัติกระบวนการรักษาและวงการสาธารณสุข เพื่ออนาคตที่ปราศจากและป้องกันความเสี่ยงได้ตั้งแต่ระดับยีนส์ แต่ทั้งนี้นับเป็นรูปแบบใหม่ที่ยังคงต้องศึกษาและทดลองในเชิงปฏิบัติ รวมทั้งบริหารจัดการสู่ผู้ใช้บริการในวงกว้างกันต่อไป ทั้งนี้ทั้งนั้นการใส่ใจสุขภาพโดยพื้นฐานด้วยตัวเองก็ยังคงเป็นวิธีป้องกันการเกิดโรคที่ดีที่สุดที่เราควรตระหนักและปฏิบัติอย่างตั้งใจก่อนเข้าสู่กระบวนการรักษาของแพทย์ สุขภาพที่ดีเกิดได้จากตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MGR Online, สมิติเวช เปิดตัวการแพทย์ยุคใหม่ Precision Medicine เฉพาะเจาะจงแต่ละบุคคลลึกถึงระดับยีน รักษามะเร็งได้ผลดีกว่า พร้อมหยุดยั้งการส่งต่อโรคทางพันธุกรรม https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000020005, 27 กุมภาพันธ์ 2561.
The Matter, การแพทย์สมัยใหม่ Precision Medicine ออกแบบมาเฉพาะคุณลึกระดับยีน (https://thematter.co/sponsor/precision-medicine/44600), 6 กุมภาพันธ์ 2561.
โรงพยาบาลสมิติเวช, Precision Medicine การแพทย์เฉพาะเจาะจง ( https://www.samitivejhospitals.com/th/precision-medicine/), อ้างอิงเมื่อ 7 มีนาคม 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป