เลือดข้นคืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ?

"ภาวะเลือดข้นเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง อาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร รวมทั้งวิธีการรักษา และป้องกันการเกิดภาวะนี้สามารถทำได้อย่างไร? "
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลือดข้นคืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ?

เลือดข้น (Polycythemia) คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ทำให้เลือดหนืดและส่งผลต่อการขนส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เลือดข้นเกิดจากอะไร?

ภาวะเลือดข้นสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณี ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำเลือดลดลง (Relative polycythemia)

น้ำเลือดหรือพลาสมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเลือด เมื่อปริมาณของน้ำเลือดลดลง จะทำให้ค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb) และค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit: Hct) มีค่าผิดปกติไป แต่ปริมาณของเม็ดเลือดแดงในร่างกายไม่ได้เพิ่มขึ้น

สาเหตุมาจากภาวะขาดน้ำจากการท้องเสียหรืออาเจียน ความเครียด การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาขับปัสสาวะ

2. ภาวะที่ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (Absolute polycythemia)

ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ความผิดปกติที่เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดแดง (Primary polycythemia หรือ Polycythemia Vera) พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนเจเอเคทู (JAK2) ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ร่วมกับปริมาณเม็ดเลือดขาวกับเกล็ดเลือดที่มากขึ้นด้วย การสร้างเม็ดเลือดนั้นไม่อยู่ภายใต้กลไกการควบคุมที่ปกติ ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  2. ความผิดปกติจากสาเหตุอื่นๆ (Secondary polycythemia) มีการกระตุ้นให้สร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน (Erythropoietin: EPO) ซึ่งฮอร์โมนนี้ส่วนใหญ่สร้างจากไต เพื่อไปกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเมื่อเซลล์ในร่างภายอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) เช่น โรคปอดเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด การอยู่บนที่สูง หรือความผิดปกติของฮีโมโกลบิน

เมื่อเซลล์ขาดออกซิเจนจะไปกระตุ้นให้มีการสร้าง EPO มากขึ้น กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง เพื่อขนส่งออกซิเจนมาให้เซลล์อย่างเพียงพอ

อาการของภาวะเลือดข้นเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น มีอาการปวดหัว วิงเวียน เหนื่อยง่าย หรือมีอาการคันตามผิวหนังเมื่อสัมผัสกับน้ำอุ่น

ภาวะเลือดข้นอันตรายหรือไม่ จะรักษาเลือดข้นได้อย่างไร?

ภาวะเลือดข้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการแทรกซ้อนที่พบได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การเกิดลิ่มเลือด ปริมาณของเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เลือดไหลเวียนในร่างกายช้าลง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือด ลิ่มเลือดทีเกิดขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หรือลิ่มเลือดหลุดแล้วไปอุดตันที่หลอดเลือดปอด
  • ม้ามโต ม้ามเป็นอวัยวะที่กำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ เมื่อปริมาณของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นสูงจะทำให้ม้ามทำงานมากกว่าปกติ จนม้ามมีขนาดทีใหญ่ขึ้นได้
  • เกิดพังผืดที่ไขกระดูก เมื่อมีภาวะเลือดข้น ก็มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดขึ้นที่บริเวณไขกระดูก ส่งผลให้เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ไม่เจริญเติบโตและทำหน้าที่ผิดปกติ นำไปสู่การเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)

วิธีรักษาและป้องกันภาวะเลือดข้น?

การรักษาภาวะเลือดข้น จะเน้นที่การลดปริมาณของเม็ดเลือดแดง ซึ่งการรักษานี้ยังสามารถลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นด้วย

วิธีการรักษาภาวะนี้ ได้แก่

  • การถ่ายเลือดออกจากร่างกาย (Phlebotomy) เป็นการรักษาแรกที่ใช้ในการรักษาภาวะเลือดข้น โดยจะเจาะที่เส้นเลือดดำเพื่อถ่ายเลือดออกจากร่างกาย ทำให้ลดจำนวนของเม็ดเลือดแดงและปริมาณของเลือด

    วิธีนี้อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเมื่อยล้าหลังจากการรักษา ความถี่ในการรักษาด้วยนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะเลือดข้นในแต่ละคน
  • การใช้ยาเพื่อลดระดับความเข้มข้นของเลือด ในกรณีที่รักษาด้วยการถ่ายเลือดออกจากร่างกายไม่เพียงพอที่จะควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ แพทย์จำเป็นที่จะต้องจ่ายยาเพื่อช่วยลดปริมาณเม็ดเลือดแดงร่วมด้วย

    เช่น ยาไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea) จะช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดภายในไขกระดูกได้ หรือยาอินเตอร์เฟอรอนอัลฟ่า (Interferon-Alpha) ที่จะกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเม็ดเลือดแดงที่ผลิตมากจนเกินไป
  • การใช้ยาเพื่อลดลิ่มเลือด ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอย่างนึงคือการเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือด ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและลดอาการคัน แสบร้อนที่บริเวณมือและเท้าได้

ผลข้างเคียงของยาแอสไพริน จะทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ดังนั้นการรับประทานยาแอสไพรินควรอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์

เลือดข้นแล้วเกิดอาการคัน รักษาได้อย่างไร?

ภาวะเลือดข้นทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคันตามผิวหนังได้ เนื่องจากปริมาณของเม็ดเลือดแดงจำนวนมากไปกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ปล่อยสารฮิสทามีน (Histamine) อาการคันเพราะเลือดข้นนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาในกลุ่มแก้แพ้ (Antihistamine) หรือการฉายรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet light treatment)

เลือดข้น ป้องกันได้อย่างไร?

ภาวะเลือดข้นที่สาเหตุเกิดจากร่างกายมีปริมาณน้ำเลือดลดลง (Relative polycythemia) สามารถป้องกันโดยแก้ที่สาเหตุของการสูญเสียปริมาณน้ำเลือด เช่น การให้สารน้ำทดแทนกรณีที่สูญเสียน้ำจากการท้องเสียหรืออาเจียน ลดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน กระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการขนส่งออกซิเจนไปตามเนื่อเยื่อต่างๆ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Charache S, Weatherall DJ, Clegg JB. Polycythemia associated with hemoglobinopathy. J Clin Invest. 1966;45(6):813–822. PMID: 5913291
DiMarco A. Carbon monoxide poisoning presenting as polycythemia. N Engl J Med. 1988 Sep 29;319(13):874. PMID: 3412421
Tefferi A, Schrier SL. Diagnostic approach to the patient with polycythemia. In Up to Date 18.3, 2011.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม