ความอยากกินอาหารเพิ่มมากขึ้นในสุนัข

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความอยากกินอาหารเพิ่มมากขึ้นในสุนัข

เมื่อสุนัขสามารถกินอาหารได้เพิ่มมากขึ้นเกือบหรือตลอดเวลา เราจะเรียกอาการนี้ว่า polyphagia ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สัตวแพทย์จะต้องแยกให้ออกว่าความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากความอยากทางจิตใจหรือว่ามาจากโรค ถ้าหากว่าเป็นผลจากทางด้านจิตใจสุนัขจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะอ้วนตามมา แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าสาเหตุนั้นมาจากโรคต่างๆ จะต้องพบว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงโดยอาจจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือน้ำหนักลดลงก็เป็นได้ ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถเกิดได้กับทั้งสุนัขและแมว ถ้าหากคุณเจ้าของท่านใดสนใจศึกษาภาวะนี้ในแมว สามารถศึกษาได้ที่ PetMD health library 

อาการ

  • อ้วน
  • อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • น้ำหนักเพิ่มหรือลด
  • ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น
  • ปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • ดูดซึมอาหารได้ไม่ดี

สาเหตุ

ถ้าหากว่าการที่สุนัขกินอาหารเพิ่มมากขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางพฤติกรรม สาเหตุอาจจะมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในสุนัขอายุมากบางตัวจะมีความหิวที่มากกว่าเดิม หรือในบางตัวอาจจะเป็นผลมาจจากยาที่กินอยู่ที่ส่งผลให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจเป็นผลมาจากช่วงแรกของการเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ระดับน้ำตาลอาจต่ำกว่าปกติเนื่องจากเป็นผลมาจากเนื้องอกที่มีผลเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลินซึ่งจะมีผลโดยตรงกับความอยากอาหารด้วย 

หรืออาจมีความเป็นไปได้ที่สุนัขจะมีการดูดซึมอาหารที่ไม่ดีภายในระบบทางเดินอาหารทำให้น้ำหนักลด เช่น ลำไส้อักเสบ การขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือการเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งการไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้นั้นจะทำให้ร่างกายสูญเสียสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย 

การวินิจฉัย

สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายสุนัขอย่างละเอียด ได้แก่ การตรวจค่าเลือด การตรวจปัสสาวะ การถ่ายภาพทางรังสี และการส่องกล้อง

ในการตรวจทางชีวเคมี เราจะตรวจการทำงานของตับและไต และความผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อจะมีความเกี่ยวข้องกับการสูญเสียการทำงานของอินซูลิน ซึ่งอาจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำลงซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับเนื้องอกที่ผลิตอินซูลินและอาจส่งผลต่อการทำงานของตับอ่อนด้วย 

การนับเม็ดเลือดจะช่วยบอกการติดเชื้อ ภาวะโลหิตจาง หรือการอักเสบที่หลอดเลือด ซึ่งถ้าหากว่าไม่พบปัญหาดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าความอยากอาหารนั้นมาจากปัญหาทางด้านพฤติกรรม หรือ ปัญหาทางกายภาพ

สัตวแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะดูว่ามีโปรตีนหลุดออกไปพร้อมกับปัสสาวะมากแค่ไหน ผลจากการวิเคราะห์ปัสสาวะอาจพบว่ามีการติดเชื้อที่ระบบทางขับถ่าย หรือมีการติดเชื้อที่อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการขับทิ้งของเสีย และในสุนัขที่มีภาวะเบาหวานจะพบว่าปัสสาวะของสุนัขจะมีน้ำตาลออกมาด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สัตวแพทย์จะทำการส่องกล้องขนาดเล็กเข้าไปยังกระเพาะอาหารเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก  

การรักษา

เมื่อสัตวแพทย์สามารถวินิจฉัยได้แล้ว สัตวแพทย์จะช่วยคุณในการวางแผนการดูแลสุนัขเพื่อที่คุณเจ้าของจะได้สามารถดูแลสุนัขที่บ้านได้ ถ้าหากมีความเกี่ยวข้องกับระทางเดินอาหารสัตวแพทย์จะแนะนำให้ทำการเปลี่ยนอาหาร หรือทำการจ่ายยา แต่ถ้าหากว่ามาจากเบาหวาน สุนัขจะต้องได้รับอินซูลินฉีดเป็นประจำซึ่งสามารถทำที่บ้านได้ 

แต่ถ้าหากว่าการวินิจฉัยออกมาแล้วว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาทางพฤติกรรม คุณเจ้าของจะต้องทำการควบคุมการกินอาหารของสุนัข โดยอาหารที่กินควรเป็นอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและจะต้องจำกัดปริมาณในการให้ทุกครั้งเพื่อควบคุมความอยากอาหารของสุนัข และคุณเจ้าของควรมั่นใจว่ายาที่สัตวแพทย์จ่ายให้ สุนัขควรได้รับในเวลาที่ถูกต้องและครบถ้วน 

การจัดการและความเป็นอยู่

ภายหลังจากการที่ความอยากอาหารลดลงแล้ว คุณเจ้าของควรที่จะติดตามการกินอาหารของสุนัขอย่างต่อเองเพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสมและครบตามโภชนาการ นอกจากนี้สัตวแพทย์ยังจะช่วยวางแผนสำหรับอาหารของสุนัขในระยะยาวอีกด้วย 

การป้องกัน

ความอยากอาหารที่เพิ่มของสุนัขนั้นอาจมีสาเหตุมาจากนิสัยการให้อาหารที่ถูกหลักการ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเช่นนี้คุณเจ้าของควรที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการให้อาหารเพื่อไม่ให้สุนัขกินมากจนเกินไป แต่ถ้าหากเป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีความผิดปกติคุณควรที่จะทำการนัดหมายกับสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจเช็คและเพื่อให้มั่นใจว่าคุณมีการวางแผนการให้อาหารที่เหมาะสมแก่สุนัขที่บ้าน 

 


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bromide therapy in refractory canine idiopathic epilepsy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8263851)
Polyphagia: Symptoms, Causes and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/polyphagia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผู้ป่วยกลุ่มใดที่ต้องใช้ หรือไม่ใช้ยาอินซูลิน
ผู้ป่วยกลุ่มใดที่ต้องใช้ หรือไม่ใช้ยาอินซูลิน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ต้องการอินซูลินต่างกัน

อ่านเพิ่ม