กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สิวที่หน้าผาก รักษาอย่างไรให้หายขาด?

แนะนำยาทาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้สิวที่หน้าผากน้อยลงจนถึงหายไปในที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สิวที่หน้าผาก รักษาอย่างไรให้หายขาด?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สิวที่หน้าผาก หว่างคิ้ว และไรผม เป็นหนึ่งในสิวที่พบมากที่สุด เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด อากาศร้อน เหงื่อ พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรือเกิดจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม
  • สามารถใช้ยาทารักษาสิวได้ โดยใช้ยา Benzoyl peroxide ทาก่อนล้างหน้า 5-15 นาที เพื่อกำจัดหัวสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และทายา Retinoic acid ก่อนเข้านอน เพื่อละลายหัวสิว สอบถามรายละเอียดการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่เภสัชกร
  • เพื่อให้การรักษาสิวมีประสิทธิภาพ คุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม และผิวหน้าที่อ่อนโยนต่อผิว หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนจัด หรืออับชื้น พักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ ไม่สวมหมวกบ่อยๆ หรือหากต้องใส่ ก็ให้หมั่นทำความสะอาดเสมอ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง คือ อีกปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวบริเวณหน้าผาก คุณจึงไม่ควรรับประทานอาหารประเภทนี้มากเกินไป และควรเปลี่ยนมารับประทานผักใบเขียว หรืออาหารที่มีประโยชน์ประเภทอื่นบ้าง
  • เมื่อเกิดสิวควรรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการกด หรือบีบสิวเอง เพราะอาจทำให้สิวอักเสบ เกิดรอยดำ หรือเป็นสิวเรื้อรังได้ (ดูแพ็กเกจรักษาสิวได้ที่นี่)

สิว เป็นปัญหาไขมันอุดตันที่เกิดได้บนผิวหนังทุกบริเวณที่มีต่อมไขมัน ซึ่งบริเวณที่เรามักจะพบสิวได้มากที่สุด ได้แก่ หน้าผาก หว่างคิ้ว ไรผม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวนั้นมีอยู่หลายแห่งด้วย เช่น ความเครียด อากาศร้อนอบอ้าว การสะสมของเหงื่อ พักผ่อนไม่เพียงพอ อาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการจัดแต่งทรงผมบางชนิด ยังมีสารเคมีที่ทำให้เกิดสิวได้ หรืออาจเกิดจากการสะสมรวมกับคราบเหงื่อ และฝุ่นละออง จนกลายเป็นสิ่งสกปรกอุดตันอยู่ในรูขุมขนนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหลุมสิว ลดรอยสิว วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาสิวบริเวณหน้าผาก

สิวบริเวณหน้าผากสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทา โดยตัวยารักษาสิวในบริเวณนี้ไม่ได้ต่างจากบริเวณอื่นทั่วไป แนะนำให้ใช้ตัวยาทาเฉพาะที่ เพื่อช่วยลดการทำงานของต่อมไขมัน เช่น

  • เบนโซอิลเพรอกไซด์ (Benzoyl peroxide) 
  • ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อสิว (Antibiotic) 
  • ยาทาสิวกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) 

หรือคุณอาจใช้ BHA หรือกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) โดยเริ่มต้นใช้ที่ประมาณ 2% เป็นต้นไป ก็สามารถช่วยลดการเกิดสิวอุดตันที่บริเวณหน้าผากได้เช่นเดียวกัน และควรทายาร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้ควบคู่ไปด้วย

1. ตรวจดูผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการจัดแต่งทรงผม

หากไม่แน่ใจว่า สาเหตุของการเกิดสิวที่หน้าผากเกิดจากอะไร ให้คุณลองตรวจผลิตภัณฑ์บำรุง และจัดแต่งทรงผมของตนเอง ว่ามีสารชนิดใดที่น่าจะทำให้คุณแพ้ หรือสะสมเป็นสิ่งสกปรกบนหน้าผากหรือไม่ เช่น แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมหมักผม น้ำมันใส่ผม สเปรย์ฉีดจัดแต่งทรงผม 

เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่สัมผัสบริเวณหน้าผากได้มากกว่าบริเวณอื่นๆ ทั้งสิ้น หากมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในช่วงที่ผ่านมาไม่นานแล้วมีสิวขึ้น ควรเปลี่ยนกลับเป็นผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยใช้ 

และอีกวิธี คือ ลองเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหลากหลายน้อยลง อ่อนโยนมากขึ้น เช่น แชมพูสำหรับเด็ก หรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมตัวยารักษาสิวเข้าไปร่วมด้วยแล้ว ซึ่งมักแสดงข้อมูลอยู่ที่ฉลากบรรจุภัณฑ์

2. ลดการสะสมของเหงื่อบริเวณหน้าผาก และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

เมื่อคุณทำกิจกรรม หรือเล่นกีฬาแล้วเหงื่อออก คุณจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า เหงื่อจะไหลลงมาตามบริเวณหน้าผาก ไรผม และตามขนคิ้ว ซึ่งหากมีเหงื่อออกมาก และเกิดการหมักหมม ไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างรวดเร็ว ก็สามารถทำให้เกิดสิวได้ ทั้งสิวอุดตันและสิวเชื้อรา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. พักผ่อนให้เพียงพอ

หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ ฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดสิวก็จะสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ และเกิดสิวผดได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อพักผ่อนเพียงพอแล้ว ฮอร์โมนนี้จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงให้สิวผดในบริเวณต่างๆ รวมถึงสิวผดที่หน้าผากขึ้นน้อยลงได้

4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณอากาศร้อนเป็นเวลานาน

อากาศร้อนชื้นมักกระตุ้นให้สิวผดขึ้นได้ง่าย ดังนั้นจึงควรทาครีมกันแดดทุกวัน และหลีกเลี่ยงการตากแดด หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ

5. สวมใส่หมวกให้น้อยลง

หมวกเป็นอีกเครื่องแต่งกายที่สัมผัสบริเวณหน้าผากโดยตรง รวมไปถึงบริเวณใกล้กับขนคิ้ว และกรอบหน้าด้านข้างไรผม 

คุณจึงควรลดการสวมใส่หมวกให้น้อยลง และหากจำเป็นต้องสวมหมวกซึ่งทำให้อับชื้นในบริเวณหน้าผากแล้ว ก็ให้หมั่นซักทำความสะอาดหมวกอยู่เสมอ ทุก 2-3 วัน หรือถี่มากกว่านั้น

6. ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง

อาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดสิวบริเวณหน้าผากได้ ดังนั้นคุณจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ จะช่วยลดการเกิดสิวได้ดียิ่งขึ้น เช่น ลดอาหารทอด หรือที่มีน้ำมันมาก รับประทานผักใบเขียวมากขึ้น เลือกรับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว 

สิวที่เกิดขึ้นในแต่ละบริเวณมีสาเหตุที่ทำให้เกิดแตกต่างกันไป ให้คุณลองหาเหตุผลเบื้องต้นที่สามารถเกิดขึ้นได้ และปรับเปลี่ยนตามสาเหตุนั้นๆ สิวก็จะดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

ดูแพ็กเกจรักษาสิว เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Aaron Kandola, https://www.medicalnewstoday.com/articles/322130.php (www.medicalnewstoday.com, articles, what causes forehead acne?), 14 June 2018.
Emil A. Tanghetti, MD Understanding the Burden of Adult Female Acne J Clin Aesthet Dermatol. 2014 Feb; 7(2): 22–30.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป