ยาต้านไวรัส HIV แบบฉุกเฉิน คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงจะพอรู้จักเจ้าไวรัส HIV กันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับยาต้านไวรัสอย่าง PEP อาจเป็น เรื่องใหม่ที่ใครหลายคนไม่คุ้นหูมากนัก วันนี้ Honestdocs เลยขอนำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ
ยาต้านไวรัส hiv คืออะไร ? ใช้กับใครได้บ้าง ?
ยา PEP นั้นมีชื่อย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis หรือหากจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ ยานี้จะถูก ให้แก่ผู้ที่สงสัยว่าได้รับเชื้อ HIV หรือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มบุคคลที่ถูกล่วง ละเมิดทางเพศ (โดนข่มขืน) กลุ่มบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับคนแปลกหน้า กลุ่มบุคคลที่เกิด อุบัติเหตุจากอุปกรณ์ป้องกันเช่น ถุงยางรั่ว หรือถุงยางหลุดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยัง ใช้ในบุคลากรของแพทย์ที่มีความเสี่ยง เช่นการโดนเข็มตำระหว่างปฎิบัติหน้าที่ การโดนมีดผ่าตัดบาด จากคนไข้ที่ไม่ทราบผลเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ยา PEP ยังสามารถให้ได้ในกรณีที่กลุ่มบุคคลที่ประสบ อุบัติเหตุ แล้วมีเลือดออกหลายคนโดยแต่ละบุคคลมีการสัมผัสเลือดกันผ่านบาดแผลที่เกิด เช่น การ ประสบอุบัติเหตุรถชนแล้วผู้โดยสารส่วนมากเกิดบาดแผลขึ้น ทั้งนี้ในทางการแพทย์จะมีหลักในการ พิจารณาการจ่ายยาเป็นไปตามแต่ละกรณี
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาต้านไวรัส hiv ใช้อย่างไร ?
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คนไข้ที่ต้องสงสัยว่าได้รับเชื้อจะต้องรับประทานยาต้านไวรัส (PEP) อย่าง เร็วที่สุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน ภายใต้การดูแล และนำของแพทย์ เหตุผลที่จะต้องทานยานี้ให้เร็วที่สุด ก็เพื่อให้ยาเข้าไปต่อสู้กับเชื้อไวรัส และสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันที่จะสามารถป้องกัน HIV ได้นั่นเอง
โดยยา PEP ที่ทำการแจกจ่ายให้แก่คนไข้แต่ละคนนั้น จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วยยาต้าน ไวรัสประมาณ 3ชนิด โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดให้เป็นรายบุคคล
ยาต้านไวรัส hiv มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงการรับยา PEP จะมีผลข้างเคียงของการรับประทานยา เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิด โรย คลื่นไส้และอาเจียน ดังนั้นคนไข้จึงควรทำความเข้าใจและทานยาให้ครบเวลาที่กำหนด
ยาต้านไวรัส hiv ต้องทานนานเท่าไหร่ ? เมื่อครบแล้ว ทำอย่างไร ?
เมื่อได้รับยาตามกำหนดเวลา และรับประทานอย่างต่อเนื่องจนครบ 28 วัน คนไข้ต้องไปพบแพทย์อีก ครั้ง โดยแพทย์จะทำการตรวจ HIV ซ้ำ โดยจะตรวจที่ 4-6 สัปดาห์หลังจากที่มีการสัมผัสกับเชื้อ HIV และตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากนั้น 3 เดือน ซึ่งในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้มีการตรวจซ้ำที่ 6 เดือน ต่อมาเพื่อติดตามอาการและลดความผิดพลาดของการไม่ปรากฎเชื้อ
ระหว่างรับยาต้านไวรัส hiv เราจะไม่เสี่ยงการติดเชื้อ HIV ใช่หรือไม่ เพราะเป็นยาต้านไวรัส HIV แบบ ฉุกเฉิน ดังนั้นจึงมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างสบายใจแม้ไม่ป้องกัน ?
ไม่ใช่ค่ะ ระหว่างช่วงเวลาของการรับยา คนไข้ต้องเลี่ยงการเพิ่มภาวะเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเพิ่มขึ้น โดยการ ทานยา PEP ไม่ได้มีผลให้ร่างกายคุณต่อต้านเชื้อ HIV ที่จะได้รับเพิ่มเข้ามาในระหว่างทาง ดังนั้นหาก ต้องมีเพศสัมพันธ์ระหว่างนี้ ก็ควรมีการป้องกัน (แต่ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระยะนี้)
ทำไมทานยาหมดแล้วจึงต้องมาพบแพทย์อีก ?
สิ่งสำคัญที่สุดของการมาตรวจซ้ำคือการยืนยันว่ายา PEP นั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งหากในระหว่าง 28 วันที่คุณทานยา และเกิดประสิทธิภาพ ผลเลือดของคุณจะออกมาเป็นลบ (Negative) ซึ่งนั่นแปลว่า คุณเองไม่ติดเชื้อ HIV ซึ่งหลังจากนี้คุณจะต้องป้องกันตัวเองจากเชื้อ HIV อยู่เสมอ โดยการใช้ถุงยาง อนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลแปลก หน้า และหมั่นตรวจเลือดเป็นประจำ หากคิดว่าตนเองมีภาวะเสี่ยง เพราะหากทราบได้เร็วจะส่งผลให้การ รักษาทำได้เร็ว และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น