ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วันก่อน… ขณะขับรถกลับบ้าน ดิฉันสังเกตเห็นว่าบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยม ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับโรงพยาบาลนั้น มีป้ายสัญลักษณ์ใหม่ตั้งอยู่ (อันที่จริง… ป้ายนี้อาจมีมาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์แล้วล่ะค่ะ แต่ “คนช่างสังเกต…ซะเมื่อไหร่” อย่างดิฉัน เพิ่งเห็นนี่แหละ แหะ…แหะ…)เป็นป้าย…
…ดิฉันเห็นแล้วก็ได้แต่ชื่นชมในใจว่า “เข้าทีดีแฮะ” เพราะเวลาที่ขับรถมาทำงาน เนื่องจากโรงพยาบาลอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนมัธยม ดิฉันจึงได้พบเห็นว่าน้อง ๆ (ขอใช้คำว่า “น้อง ๆ” เพราะแสลงใจที่จะเรียกตามความจริงที่เหมาะสมกว่าว่า “หลาน ๆ” ฮ่า…) ไม่ค่อยจะสวมหมวกกันน็อคกันเลยแล้วดิฉันก็นึก(ฟุ้งซ่าน)ต่อไปอีกว่า “แล้วในโรงพยาบาลล่ะ… นอกจากป้ายที่เป็นสัญลักษณ์สากล อย่างป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือป้ายบังคับทางจราจรแล้ว …ควรมีป้ายบังคับอะไรอีกบ้าง???”
...
ถ้าเป็นที่ตึกสูติ-นรีเวช ซึ่งจะมีการรณรงค์ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ …ไม่ใช้นมผงเลี้ยงทารก ก็คงต้องเป็นป้ายนี้…
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนบริเวณหน้าห้องเอกซเรย์ ก็จะเห็นป้ายคุ้นหน้าคุ้นตา อย่างนี้…
ในตึกผู้ป่วยใน หากมีผู้ป่วยนอนรักษาตัวด้วยโรคติดต่อรุนแรง ก็จะมีป้ายหน้าห้อง อย่างนี้…
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ที่ไหน ๆ ก็มีป้ายกำกับ แล้วทำไมหน้าห้องยาของเราถึงไม่มีป้ายกะเค้ามั่งอ่า…
เอาป้ายนี้ไหมล่ะเจ้…
กรี๊ดดดดดดดด…. ชั้นไม่ใช่ลิงนะยะ จะได้มีป้ายห้ามให้อาหารน่ะ!
เนื่องจากดิฉันเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ (เป็นคำที่ดูดีกว่า “ฟุ้งซ่าน + เพี้ยน” น่ะค่ะ ฮ่า…) ก็เลยคิดไปเรื่อยเปื่อยว่า บริเวณหน้าห้องยาควรจะมีป้ายอะไรบ้างน้า…อันแรกที่ดิฉันคิดถึง…
ดิฉันเข้าใจค่ะว่าผู้ป่วยบางท่าน อาจมีธุระจำเป็นที่ต้องใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารจริงจริ๊งงงงงง …อันนี้ก็ไม่ได้ว่ากันหรอกค่ะ แต่อยากวอนขอให้ท่านกรุณาคุยธุรกิจพันล้านให้เรียบร้อยเสียก่อนเถอะนะคะ เพราะในการรับยานั้น เพื่อความถูกต้อง ปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ยา เภสัชกรจำเป็นต้องสอบถามข้อมูลบางอย่างจากท่าน เช่น…
- ทวนชื่อ…เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วย จะได้ไม่เกิดปัญหาจ่ายยาผิดคน
- สอบถามโรคประจำตัว, ประวัติการใช้ยาเดิม หรือการแพ้ยา เพื่อตรวจสอบความต่อเนื่องและครบถ้วนของยาที่ใช้ หรือหลีกเลี่ยงยาบางรายการที่เป็นข้อห้ามใช้
- แนะนำวิธีใช้ยา, ข้อควรรู้ และข้อควรระวังในการใช้ยา ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ที่อาจเป็นข้อแนะนำเพิ่มเติมจากที่ระบุไว้ในฉลากยา
การที่ท่านเดินมารับยา ทั้งที่หูยังแนบอยู่กับเครื่องโทรศัพท์ แถมปากก็สนทนาพาทีอยู่กับคนปลายสาย มันทำให้เภสัชกรแสนจะอ่อนใจเหลือเกินค่ะ อยากจะร้องเพลงตัดพ้อไปว่า “ตัวเธออยู่(หน้าห้องยา)นี่ แต่ใจเธออยู่ไหน” แต่ติดที่ดิฉันมีปมด้อยว่า ‘ร้องเพลงเหมือนท่องอาขยาน’ เลยได้แต่ทำมือเป็นรูปโทรศัพท์ พร้อมกับทำปากขมุบขมิบช้า ๆ ว่า “กรุณาโทรศัพท์ให้เสร็จก่อนค่ะ” (จะพูดออกเสียงก็เกรงใจว่าเสียงจะดังรบกวนการสนทนาของเค้าน่ะสิคะ ฮ่า…)
ป้ายอันแรกดูจะออกแนวจิกกัดผู้ป่วยอันเป็นที่รักไปสักนิด ฮ่า… แต่ไม่พอค่ะ! ยังมีป้ายที่ดิฉันอยากจะติดไว้หน้าห้องยาอีก ก็คือ…
เอ้า! ไม่ใช่เล่าเอาขำนะคะ ผู้ป่วยที่น่ารักของดิฉันหลาย ๆ คนลืมพกปากมารับยาจริง ๆ ค่ะ ทั้งที่จริงแล้วปากนั้นช่วยให้หายป่วยได้แท้ ๆ โดยการใช้ปาก…
เล่า ให้เภสัชกรฟังในเรื่องต่อไปนี้…
- โรคประจำตัวที่ท่านเป็น
- ยาที่ท่านใช้อยู่
- ยาที่ท่านแพ้
- ปัญหาอื่น ๆ เช่น กลืนยาได้ลำบาก เป็นต้น
…เพื่อให้ได้รับยาที่เหมาะสมและสะดวกในการใช้
ถาม เภสัชกรเมื่อไม่แน่ใจเรื่องวิธีใช้ยา ข้อดี-ข้อเสียของยา และข้อควรระวังบางอย่าง เช่น…
- ยานี้มีชื่อว่าอย่างไร หรือใช้ยานี้แก้อะไร
- ยานี้ใช้อย่างไร และจะต้องใช้จนหมดเลยหรือไม่
- ถ้าลืมรับประทานยา จะทำอย่างไร
- ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงอะไรไหม
- จะเก็บยาไว้ได้นานเท่าใด และจะต้องเก็บยานี้ไว้ที่ไหน
- รับประทานยานี้ตอนท้องว่างหรือหลังอาหารจึงจะดี
…เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และได้รับประโยชน์สูงสุดในการใช้ยา
รับประทาน หรือใช้ยาตามที่แพทย์สั่งโดยดูฉลากทุกครั้ง
...ใช้ยาถูกวิธีจะทำให้การรักษาได้ผลดีนะคะ
และป้ายบังคับอันสุดท้ายที่ดิฉัน อยาก…ย้าก…อยาก… ติดไว้หน้าห้องยา ก็คือ…
แหม… ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของดิฉันก็น่ารักดีค่ะ ให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาดีมาก แต่ก็มีบางท่าน (ที่คล้าย ๆ จะเป็น ‘เจ้ากรรมนายเวร’ …เป็นผลกรรมที่สมัยเด็ก ๆ ดิฉันเคยดื้อกับคุณพ่อคุณแม่ ฮ่า…) ที่เวลาให้คำปรึกษาเรื่องยาจะไม่ตั้งใจฟัง ถามไม่ค่อยตอบ หรือตอบก็ไม่ตรงตามจริง
ก็เลยอยากจะชี้แจงให้ทราบโดยทั่วกันนะคะว่า ขออภัยหากหน้าตาดิฉันจะดูไม่น่าไว้วางใจ แต่โปรดเชื่อใจเถอะค่ะ และขอความกรุณาสละเวลาสักนิดเพื่อรับฟังหรือตอบข้อซักถาม เพราะสิ่งที่เภสัชกรเราแนะนำหรือซักถามจากท่าน ก็เพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการรักษาด้วยยาของแต่ละท่าน ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย
หากท่านไม่ให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง คำแนะนำที่ได้รับก็อาจมีเกิดประโยชน์ต่อท่านอย่างแท้จริง
ไม่ใช่ถามเพราะจุ้นจ้านหรอกนะคะ …แต่ด้วยรักและปรารถนาดีค่ะ (เบ๋ย….)
แต่จะว่าไปแล้ว… ถ้าดิฉันนำป้าย “ห้ามดื้อ” มาติดจริง ๆ ผู้ป่วยที่น่ารักของดิฉัน คงแอบเอาป้ายนี้…
มาติดไว้ข้าง ๆ กันแน่เลย ฮ่า…
แหม… ไม่อยากจะยอมรับ แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งเภสัชกรก็ทำหน้าดุเวลาจ่ายยาจริง ๆ แหละ ก็นะ… เวลาหิว ๆ หรือเหนื่อย ๆ หน้ามันตึง ๆ ยังไงพิกลค่ะ แยกเขี้ยว เอ๊ย… ฉีกยิ้มไม่ค่อยจะไหว
และหากบางครั้งท่านได้ยินเภสัชกรเสียงดังเวลาจ่ายยา (พี่ ๆ พยาบาลถึงกับเคยเดินมาดูว่าดิฉันทะเลาะกับผู้ป่วยอยู่หรือเปล่า …คงกะมาห้ามศึกน่ะค่ะ ฮ่า… ซึ่งทำให้ดิฉัน สูญเสียความมั่นใจในตัวเองไปพักใหญ่ ๆ เพราะดิฉันเชื่อเสมอมาว่า ตัวเองเป็น “เภสัชกรผู้อ่อนหวาน” ฮ่า…) ก็อย่าเพิ่งตกใจกลัวนะคะ
ส่วนมากที่ต้องเสียงดังคับห้องนั้น ไม่ใช่ดุด่าอะไรเลยค่ะ แต่เป็นเพราะเมื่อประเมินความสามารถในการฟังของผู้ป่วยจากการซักถามข้อมูลเบื้องต้นแล้ว บางทีเภสัชกรก็จะพบว่าผู้ป่วยบางรายหูหนักหูตึง แต่อาย… ไม่กล้าบอกว่าฟังไม่ได้ยิน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะอาศัยการอ่านปากของเภสัชกรที่พูดอยู่แทนการฟังเสียง
ในเมื่อทราบปัญหาและเห็นว่าผู้ป่วยไม่อยากให้กล่าวถึงปัญหาในการได้ยิน เภสัชกรก็จะอาจจะแก้ปัญหาโดยการเพิ่มระดับเสียงในการพูดไปเรื่อย ๆ จนสังเกตอากัปกิริยาตอบสนองของผู้ป่วยที่ทำให้เรามั่นใจว่าท่านได้ยินเราพูดชัดเจนดีน่ะค่ะ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความดังของเสียงแล้ว เราก็อาจจะพูดช้า ๆ และใช้คำสั้น ๆ ที่ดูเหมือนพูดห้วน ๆ เพราะเผื่อว่าถ้าผู้ป่วยฟังเสียงไม่ค่อยได้ยินจริง ๆ ก็จะใช้การอ่านปากช่วยได้ง่ายขึ้นไงคะ
แม้ว่าเภสัชกรจะหน้าบูดไปนิด หรือเสียงดังไปหน่อย แต่ไม่ต้องกลัวหรอกค่ะ เราไม่กระโจนข้ามเคาน์เตอร์จ่ายยามากัดท่านแน่นอน …รับรองได้ ฮ่า….
.
.