ยาปฏิชีวนะอื่น ๆ
นอกเหนือจากยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมียาบางตัวที่มีการใช้แต่ไม่ได้เข้ากลุ่มยาปฏิชีวนะใด ๆ ที่กล่าวแล้ว ได้แก่
- โพลิมิกซิน
ยากลุ่มนี้ที่ใช้อยู่มี 2 ชนิดคือ โพลิมิกซิน บี และโคลิสตินหรือเรียกอีกอย่างว่าโพลิมิกซิน อี ยาทั้ง 2 ชนิดอาจเรียกได้ว่าเป็นยาที่มีพิษต่อร่างกายสูงมาก เพราะยาออกฤทธิ์ต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย ซึ่งทั้งคนและแบคทีเรียต่างมีเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งสิ้น ยาจึงมีผลต่อการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของคนด้วยเช่นกัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โพลิมิกซิน บี
- ข้อบ่งใช้
โพลิมิกซิน บี มักผสมอยู่ในรูปของยาทาที่ใช้ภายนอกส่วนใหญ่ โดยให้ผลดีในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบทุกชนิด รวมทั้ง Pseudomonas spp. ข้อควรระวังคือ ไม่ควรทาในปริมาณมากหรือบ่อย โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่ถลอกหรือถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพราะผิวหนังที่มีรอยเปิด ยาจะดูดซึมเข้าร่างกายได้มากจนอาจเกิดพิษต่อร่างกายไม่ต่างจากการรับประทาน
โคลิสติน
โคลิสติน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โพลิมิกซิน อี เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียแกรมลบ และมักนำมาใช้กับอาการท้องเดินในทารกและเด็กที่มาจากการติดเชื้ออีโคไล (E.coli) โดยให้ขนาด 10-20 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แบ่งให้ทุก 6-8 ชั่วโมง ยานี้ถ้าใช้ในขนาดที่กำหนดจะไม่พบอาการข้างเคียง แต่ถ้าใช้มากกว่าที่กำหนดจะเป็นพิษต่อไต
ตัวอย่างชื่อการค้า เช่น โคลิมัยซินชนิดยาน้ำแขวนตะกอน (Colimycin® oral suspension) เป็นต้น
- อาการข้างเคียง
- เป็นพิษต่อไตสูงมาก อาจทำให้ไตพิการถาวรได้ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิต
- เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ชารอบ ๆ ปากและมีอาการเดินเซ
- มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจหยุดทำงานโดยเฉพาะในกรณีที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง
- พบอาการแพ้ยาได้บ้าง อาการที่พบคือไข้และเกิดผื่นที่ผิวหนัง
- คลินดามัยซิน
คลินดามัยซิน เป็นยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายอิริโธรมัยซิน มีประสิทธิภาพดีต่อการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจาก Staphylococcus spp. และแบคทีเรียกลุ่มแอนแอโรปส์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ข้อบ่งใช้
- ในรูปของการรับประทานจะใช้ได้ดีกับเชื้อที่ทำให้เกิดบาดทะยัก ฝี หนอง และปอดบวม
- ในรูปยาทาที่ใช้กับผิวหนังจะนิยมใช้ทาสิวที่มีการอักเสบ
- อาการข้างเคียง
อาจเกิดอาการแพ้ยาในลักษณะผื่นคัน และมีความผิดปกติของเม็ดเลือด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการรุนแรงที่เรียกว่า ซูโดเมนบรานัสโคไลติส คือ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน อาเจียน และอุจจาระเป็นมูกเลือด
- ขนาดยาที่ใช้
คลินดามัยซิน มีทั้งรูปที่ใช้ภายนอกโดยทำเป็นยาทา รูปแบบที่ใช้รับประทานและรูปแบบที่เป็นยาฉีด เช่น คลินดามัยซิน ไฮโดรคลอไรด์ไฮเดรต ในชื่อการค้า ดาลาซิน ซี (Dalacin®C) โดยชนิดแคปซูลจะมีขนาดแคปซูลละ 150 มก. ชนิดฉีดขนาด 150 มก. ชนิดฉีดขนาด 150 มก.ต่อมล.
ขนาดยาชนิดรับประทาน คือ ครั้งละ 600-1200 มก. ต่อวัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง เด็กใช้ขนาด 10-40 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง
ส่วนชนิดใช้ทาสิว จะทาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
- แวนโคมัยซิน
เป็นยาปฏิชีวนะที่มีผลยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ทำให้ผนังเซลล์ถูกทำลายและยับยั้งการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก ยามีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีผลต่อแบคทีเรียแกรมลบ เหมาะสำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus spp. ยามีเฉพาะในรูปยาฉีดเท่านั้น