กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรค Osgood-Schlatter และอาการปวดเข่า

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรค Osgood-Schlatter และอาการปวดเข่า

ความรู้ทางกุมารเวชขั้นพื้นฐาน

การบาดเจ็บของเข่านั้นพบได้บ่อยในเด็กที่เล่นกีฬา ซึ่งรวมถึงการบาดเจ็บของเส้นเอ็น อาการเคล็ด และประเภทของการบาดเจ็บดังกล่าว โดยเฉพาะถ้าทำให้เด็กไม่สามารถเดินได้หรือทำให้ข้อเข่าไม่มั่นคงก็อาจกลายเป็นเป็นเรื่องร้ายแรงได้ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมพ่อแม่จึงมักพาลูกไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดเข่า 

โรค Osgood-Schlatter ก็เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการปวดเข่า แต่ต่างจากอาการเคล็ดและการบาดเจ็บอื่น ๆ คือมักไม่ร้ายแรงและมีผลระยะยาวแค่เพียงเล็กน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของโรค Osgood-Schlatter

เด็กที่เป็นโรค Osgood-Schlatter จะมีก้อนปวดบวมใต้เขาที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง (tibial tuberosity) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเข่าข้างเดียว แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้

สิ่งที่แตกต่างจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าคือ เด็กที่เป็นโรค Osgood-Schlatter มักจะมีอาการปวดแค่ระหว่างกิจกรรมจำเพาะบางอย่าง เช่น การวิ่ง การคุกเข่า กระโดด นั่งยอง ๆ และการขึ้นบันได การนั่งนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดได้ ถึงแม้ว่าเด็กที่เป็นโรคอาจสามารถเดินได้ตามปกติโดยไม่มีอาการปวดหรือเดินกะเผลก

นี่เป็นความแตกต่างที่ตรงข้ามกับการหักหรืออาการเคล็ด ซึ่งกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม แม้แต่การเดินก็อาจทำให้เจ็บและเดินกะเผลกได้  

การวินิจฉัยโรค Osgood-Schlatter

ถึงแม้ว่าสามารถถ่ายภาพ x ray ได้ แต่โรคดังกล่าวมักได้รับการวินิจฉัยโดยอ้างอิงจากประวัติของเด็กวัยรุ่นที่มีก้อนปวดเหนือปุ่มกระดูกหน้าแข้งที่อาการปวดแย่ลงเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ภาวะอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่านี้และอาจทำให้เกิดก้อนที่มีอาการปวดในบริเวณนี้ได้เช่นกัน เช่น เนื้องอก การติดเชื้อ หรือกระดูกหัก ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดเมื่อลูกของคุณอยู่เฉย ๆ หรือเพียงแค่เดินได้

การรักษาสำหรับโรค Osgood-Schlatter

การรักษาหลักคือการรักษาตามอาการ ทั้งการใช้ยาแก้ปวดชนิด NSIADs เช่น ibuprofen การพัก และการประคบน้ำแข็งที่บริเวณดังกล่าวหลังการเล่นกีฬา

ถึงแม้ว่าการพักจะเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดแย่ลง แต่จริง ๆ แล้วการที่ลูกของคุณจะเลี่ยงกิจกรรมดังกล่าวได้มากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดนั้นเป็นมากแค่ไหน หากลูกของคุณยังวิ่งเหยาะ ๆ หรือวิ่งและเล่นกีฬาได้โดยไม่เดินกะเผลกและไม่ได้มีอาการปวดมากนัก เขาก็อาจจะทำกิจกรรมต่อไปได้ตามปกติ แต่หากลูกมีอาการปวดมากหรือเดินกะเผลกระหว่างการทำกิจกรรม การพักในระดับสัปดาห์หรือเดือนก็อาจเป็นสิ่งจำเป็น อย่างน้อยที่สุด ลูกของคุณควรเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างมาก โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องมีการกระโดดมาก ๆ การนั่งยอง ๆ หรือการคุกเข่า ซึ่งเป็นการพักประเภทหนึ่ง

หากไม่ได้มีอาการปวดมาก ลูกของคุณสามารถเล่นกีฬาได้แม้จะเป็นโรคนี้อยู่ก็ตาม สนับเข่าหรือผ้าพันก็อาจช่วยได้สำหรับเด็กที่เป็นโรค ตัวเลือกที่ดีที่สุดคือชนิดที่มีสายรัดเข่าใต้ลูกสะบ้า แผ่นรองตามรูปร่างที่ปกป้องบริเวณที่ปวดก็อาจช่วยได้เช่นกัน ในบางครั้งสำหรับกรณีที่ร้ายแรง การเข้าเฝือกก็อาจมีความจำเป็น การผ่าตัดนั้นแทบไม่มีความจำเป็นเลย

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรค Osgood-Schlatter

  • สิ่งอื่น ๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับเด็กที่เป็นโรคดังกล่าว ได้แก่:
  • โรค Osgood-Schlatter มักเริ่มขึ้นในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (growth spurt) ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปีที่เล่นกีฬาเป็นประจำ
  • ถึงแม้จะเคยคิดกันว่าโรคนี้มักเป็นในเด็กผู้ชาย แต่เด็กผู้หญิงก็หันมาเล่นกีฬากันมากขึ้น โรคดังกล่าวจึงเริ่มพบได้มากขึ้นในเด็กผู้หญิงเช่นกัน และดูเหมือนว่าจะเริ่มมีอาการได้เร็วกว่า ที่ 10-11 ปี เมื่อเทียบกับ 13-14 ปีในเด็กผู้ชาย ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าเด็กผู้หญิงมีช่วงเวลา growth spurt เร็วกว่าเด็กผู้ชาย
  • โรค Osgood-Schlatter คาดว่าเกิดจากการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื้อรัง (chronic microtrauma) และจัดเป็นโรคที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse disorder)
  • อาการมักคงอยู่ราว 12-18 เดือน โดยในเด็กหลายคนจะยังคงมีก้อนอยู่แต่ไม่มีอาการปวดแล้ว
  • การออกกำลังยืดกล้ามเนื้อและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า (quadriceps) และกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหลัง (hamstring) อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรค Osgood-Schlatter และเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาตามแนวทางของการกายภาพบำบัดได้
  • การวินิจฉัยอย่างเหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยป้องกันให้ไม่ต้องทำการตรวจและการรักษาที่ไม่จำเป็นได้
  • โรค Sinding-Larsen-Johansson หรือ jumper’s knee เป็นภาวะที่คล้ายคลึงกัน แต่อาการปวดมักเป็นที่ส่วนล่างของลูกสะบ้า และไม่ต่ำไปกว่านั้นเหมือนในโรค Osgood-Schlatter 

หากลูกของคุณเป็นโรค Osgood-Schlatter คุณควรจะต้องระวังภาวะอื่นที่คล้ายกันคือโรค Sever ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีภาวะนี้ก็ตาม

ลูกของคุณเล่นกีฬาหลายชนิดในเวลาเดียวกันหรืออยู่ทีมกีฬาหลายทีมสำหรับกีฬาชนิดเดียวกันหรือไม่ ? ลูกต้องฝึกซ้อมทุกวันหรือไม่เคยได้พักระหว่างปีเลยหรือไม่ ? สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคการใช้งานมากเกินไปการเล่นกีฬาเป็นประจำเป็นเรื่องดี แค่อย่าทำมากเกินไปเท่านั้นเอง


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Osgood-Schlatter Disease. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/a_to_z/osgood-schlatter-disease-a-to-z)
Long-term Prognosis and Impact of Osgood-Schlatter Disease 4 Years After Diagnosis: A Retrospective Study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6823982/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป