ภาวะสูญเสียการรับกลิ่น (Olfactory impairment)

ภาวะสูญเสียการรับกลิ่น สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วคราวจากอาการแพ้หรือติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าหากเกิดจากโรคทางระบบประสาทและเนื้องอก อาจทำให้สูญเสียการรับกลิ่นอย่างถาวร
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะสูญเสียการรับกลิ่น (Olfactory impairment)

ภาวะสูญเสียการรับกลิ่น คือ ภาวะที่ไม่สามารถรับรู้กลิ่นได้เช่นเดิม ภาวะนี้เป็นอาการของความผิดปกติทางการแพทย์หลายอย่าง อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วน หรือสูญเสียการรับกลิ่นอย่างสมบูรณ์ และอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

สาเหตุของภาวะสูญเสียการรับกลิ่น

ภาวะสูญเสียการรับกลิ่น มักเกิดขึ้นจากการแพ้หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะสูญเสียการรับกลิ่น ได้แก่

  • โรคสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคฮันติงตัน
  • เนื้องอกในสมอง
  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • เนื้องอกในจมูก
  • การผ่าตัดเสริมปรับจมูก
  • การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อ
  • การได้รับรังสีรักษา
  • การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบน
  • โรคฮอร์โมนบกพร่อง
  • การยาตามสั่งของแพทย์บางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะและยารักษาโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำให้การรับรู้รสชาติ หรือการรับรู้กลิ่นผิดเพี้ยนไป

การวินิจฉัยสาเหตุของภาวะสูญเสียการรับกลิ่น

หลังจากการซักประวัติทางการแพทย์ แพทย์จะตรวจจมูกเพื่อดูว่ามีการอุดตันในทางเดินจมูกของหรือไม่ โดยอาจเลือกใช้วิธีตรวจดังต่อไปนี้

  • การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)
  • การสแกนเอ็มอาร์ไอ (MRI)
  • การถ่ายภาพรังสีทั่วไป
  • การส่องกล้องตรวจจมูก (Nasal Endoscopy)

การตรวจเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ได้เห็นโครงสร้างภายในจมูกอย่างละเอียด ส่วนการถ่ายภาพรังสีชนิดต่างๆ จะช่วยบอกได้ว่ามีติ่งเนื้อหรือการเจริญเติบโตผิดปกติอื่นๆ ที่มากีดกันทางเดินอากาศในจมูกหรือไม่ และในบางกรณี แพทย์อาจต้องตัดตัวอย่างเซลล์ภายในจมูกเพื่อทำการวินิจฉัยร่วมด้วย

การรักษาสำหรับภาวะสูญเสียการรับกลิ่น

ภาวะสูญเสียการรับกลิ่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียมักเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน และยาลดอาการคัดจมูก แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการคัดจมูกและไม่สามารถสั่งน้ำมูกได้ ให้ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อช่วยละลายเมือกที่ค้างอยู่และช่วยบรรเทาความอึดอัดภายในจมูก

หากภาวะสูญเสียการรับกลิ่นเกิดจากโรคทางระบบประสาท เนื้องอก หรือความผิดปกติอื่นๆ แพทย์จะรักษาตามสาเหตุที่พบ ซึ่งโรคบางโรคอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการรับกลิ่นอย่างถาวรได้

วิธีป้องกันภาวะสูญเสียการรับกลิ่น

ไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันภาวะสูญเสียการรับกลิ่นได้อย่างแน่นอน แต่สามารถลดความเสี่ยงของการติดโรคหวัดหรือการติดเชื้อแบคทีเรียได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสพื้นที่สาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่เป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
April Kahn, Impaired smell (https://www.healthline.com/health/smell-impaired), November 28, 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การห้ามเลือดและดูแลบาดแผล
การห้ามเลือดและดูแลบาดแผล

วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผลและการห้ามเลือด

อ่านเพิ่ม