ทน. ปภัสรา กัลปพฤกษ์ นักเทคนิคการแพทย์
เขียนโดย
ทน. ปภัสรา กัลปพฤกษ์ นักเทคนิคการแพทย์

NGAL ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยไตวาย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) เครื่องมือใหม่ ที่ช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury: AKI)
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
NGAL ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยไตวาย

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury: AKI) เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ ปัจจุบันยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้น ภาวะไตวายเฉียบพลันคือภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการคั่งค้างของของเสียภายในร่างกาย

เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลันนั้นยังมีความหลากหลาย ทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจุบันจึงเริ่มมีการใช้เกณฑ์ RIFLE เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังตารางด้านล่าง

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลันโดยใช้ RIFLE

 

 

 

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะเกณฑ์ในการจำแนกภาวะไตวายเฉียบพลันปริมาณปัสสาวะที่ขับออก
Riskระดับซีรัมครีเอตินิน (Creatinine) เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าจากค่า Baseline หรืออัตราการกรองของไตลดลงมากกว่า 25%น้อยกว่า 0.5 มล./กก./ชั่วโมง เป็นเวลา 6 ชั่วโมง
Injuryระดับซีรัมครีเอตินิน เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากค่า Baseline หรืออัตราการกรองของไตลดลงมากกว่า 50%น้อยกว่า 0.5 มล./กก./ชั่วโมง เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
Failureระดับซีรัมครีเอตินิน เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากค่า Baseline
หรืออัตราการกรองของไตลดลงมากกว่า 75%
หรือมีค่าซีรัมคริเอตินิน มากกว่า 4 มก./ดล.หลังจากนั้นค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 มก./ดล.
น้อยกว่า 0.3 มล./กก./ชั่วโมง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือไม่มีปัสสาวะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
Lossไตวายเฉียบพลันติดต่อกันมากกว่า 4 สัปดาห์
ESKDไตวายเฉียบพลันติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน

จากนั้นต่อมาได้มีการปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยเป็นเกณฑ์ AKIN ดังตารางด้านล่าง

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลันโดยใช้ AKIN

 

 

 

ระยะเกณฑ์ในการจำแนกภาวะไตวายเฉียพลันปริมาณปัสสาวะที่ขับออก
1ระดับซีรัมครีเอตินิน เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 0.3 mg/dl หรือเพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่าจากค่า baselineน้อยกว่า 0.5 มล./กก./ชั่วโมง เป็นเวลา 6 ชั่วโมง
2ระดับซีรัมครีเอตินิน เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าจากค่า baselineน้อยกว่า 0.5 มล./กก./ชั่วโมง เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
3ระดับซีรัมครีเอตินิน เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากค่า baseline ระดับซีรัม creatinine เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 4 mg/dl
ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของค่าซีรัมครีเอตินิน อย่างน้อย 0.5 mg/dl อย่างรวดเร็ว
น้อยกว่า 0.3 ml/kg/hour เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือไม่มีปัสสาวะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

ยิ่งระยะความรุนแรงของภาวะไตวายเฉียพลันมากขึ้น อัตราการเสียชีวิตยิ่งเพิ่มขึ้น แม้จะมีเกณฑ์การวินิจฉัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และได้มาตรฐานเดียวกัน แต่ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลันลดลงไม่มาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มีการศึกษาว่า การที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป ทำให้ไตได้รับการบาดเจ็บและเสียหายไปมาก ส่งผลให้ตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดี

เกณฑ์วินิจฉัยภาวะไตวายในปัจจุบันมีข้อจำกัดอย่างไร?

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลัน โดยใช้ RIFLE และ AKIN จะวินิจฉัยโดยดูจากการเพิ่มขึ้นของซีรัมครีเอตินิน และการลดลงปริมาณปัสสาวะที่ขับออก

แต่ระดับซีรัมครีเอตินินและปริมาณปัสสาวะที่ขับออกเป็นตัวที่ใช้สำหรับดูการทำงานของไตเท่านั้น ไม่สามารถบ่งบอกถึงการบาดเจ็บของไตได้

กว่าที่ระดับของซีรัมครีเอตินินและปริมาณปัสสาวะที่ขับออกจะมีการเปลี่ยนแปลง ไตจะต้องสูญเสียการทำงานมากกว่า 50% แล้ว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป ระยะแรกที่เซลล์ของไตได้รับการบาดเจ็บ เซลล์ของไตจะหลั่งตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ซึ่งสารที่บ่งชี้ถึงความเสียหายของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายจะสามารถตรวจพบได้ 48-72 ชั่วโมงก่อนที่ระดับซีรัมครีเอตินินจะเพิ่มขึ้นสูง

NGAL คืออะไร และใช้ในการวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียพลันได้อย่างไร?

NGAL ย่อมาจาก Neutrophil Gelatinase-associated Lipocalin เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ชนิดหนึ่งที่เป็นโปรตีนขนาด 25 กิโลดาลตัน สร้างขึ้นจากอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ไต ปอด ตับ

ในภาวะปกติสามารถตรวจพบ NGAL ได้ในระดับต่ำ สามารถกรองผ่านไต และถูกดูดซึมกลับที่ท่อไตส่วนต้น (Proximal tubule) ได้ทั้งหมด แต่เมื่อไตได้รับบาดเจ็บ ไตจะผลิต NGAL เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด และไตที่ได้รับบาดเจ็บจะสูญเสียความสามารถในดูดซึมสาร ทำให้สามารถตรวจพบ NGAL ได้ในปัสสาวะได้เช่นกัน

ระดับของ NGAL ที่สูงขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความเสียหายของไตที่มากขึ้นตามไปด้วย การตรวจพบ NGAL ตั้งแต่ระยะแรกที่ไตได้รับการบาดเจ็บก่อนที่ระดับของซีรัมครีเอตินินจะเพิ่มขึ้น จะช่วดลดอุบัติการณ์เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ถึง 15%

นอกจากนี้ระดับของ NGAL ยังสามารถใช้เพื่อทำนายผลการรักษาของคนไข้ได้

กล่าวคือ ระดับ NGAL ที่สูงสามารถทำนายถึงอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน และระดับ NGAL ที่ต่ำสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของการทำงานของไตหลังเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

การตรวจ NGAL ในเลือดเป็นตัวบ่งชี้ให้แพทย์ตัดสินใจเริ่มรักษาทดแทนไต ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้นกว่าการใช้ระดับซีรัมครีเอตินิน และการลดลงปริมาณปัสสาวะที่ขับออก ถึง 48 ชั่วโมง

แต่การใช้ NGAL ยังมีข้อจำกัดในการใช้เช่นกัน เช่น โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease: CKD) ภาวะความดันโลหิตสูง การติดเชื้อหรืออักเสบภายในร่างกาย ซึ่งสามารถตรวจเจอได้เช่นกัน ดังนั้นการวินิจฉัยและแปลผลภาวะไตวายเฉียบพลันจำเป็นที่ต้องดูอาการของคนไข้ร่วมด้วย


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Singer E, Elger A, Elitok S, Kettritz R, Nickolas TL, Barasch J, Luft FC, Schmidt-Ott KM. Urinary neutrophil gelatinase-associated lipocalin distinguishes pre-renal from intrinsic renal failure and predicts outcomes. Kidney Int. 2011 Aug;80(4):405-14. doi: 10.1038/ki.2011.41. Epub 2011 Mar 16. PMID: 21412214; PMCID: PMC3870593.
Sanjeevani S, Pruthi S, Kalra S, Goel A, Kalra OP. Role of neutrophil gelatinase-associated lipocalin for early detection of acute kidney injury. Int J Crit Illn Inj Sci. 2014 Jul;4(3):223-8. doi: 10.4103/2229-5151.141420. PMID: 25337484; PMCID: PMC4200548.
Ronco C. Biomarkers for acute kidney injury: is NGAL ready for clinical use? Crit Care. 2014 Dec 10;18(6):680. doi: 10.1186/s13054-014-0680-0. PMID: 25672254; PMCID: PMC4331151.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป