น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด - 1 ขวบ

สำรวจน้ำหนักของทารกในแต่ละช่วงวัย พร้อมสำหรับการดูแลลูกน้อย
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของทารกวัยแรกเกิด - 1 ขวบ

พ่อแม่หลายคนเวลาเจอเด็กทารกคนอื่นที่รูปร่างอวบอ้วน จ้ำม้ำน่าหยิก ก็อาจจะกังวลว่า ลูกของเรานั้นมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า หรือบางคนก็กังวลว่าลูกของเราจะกินนมน้อยไปไหมทำให้น้ำหนักตัวน้อย วันนี้เราจะแนะนำเกณฑ์น้ำหนักมาตราฐานของเด็กในวัยแรกเกิดจนอายุ 1 ปีเพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่

เด็กวัยแรกเกิดควรมีน้ำหนักตัวประมาณเท่าไร?

โดยปกติเด็กวัยแรกเกิดที่คลอดตามปกติ (ไม่ได้คลอดก่อนกำหนด) จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม (3 กิโลกรัม) แต่ก็มีไม่น้อยที่เด็กเกิดมาแล้วมีน้ำหนักตัวถึง 4,000 กรัม (ทีมงานเราท่านหนึ่งเกิดมาน้ำหนักตัวตั้ง 4,200 กรัม แหนะ) ดังนั้นหากลูกของเรามีน้ำหนักตัวระหว่าง 3,000 - 4,000 กรัมก็ถือว่าเป็นปกติสำหรับเด็กแล้ว ไม่ต้องกังวลไป แต่หากลูกของเราเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โดยมากน้ำหนักตัวจะไม่ถึง 3,000 กรัม แต่ไม่ต้องห่วง เมื่อเขาเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็จะเพิ่มไวกว่าเด็กทั่วไปเช่นกัน

เมื่อทารกแรกเกิดเข้าสู่วัย 3 เดือน

น้ำหนักตัวหลักจากแรกเกิดนั้น โดยเฉลี่ยจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 - 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อลูกของเรามีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกก็ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 - 2,400 กรัม นับจากตอนแรกเกิด แต่ทั้งนี้เด็กบางคนก็อาจจะมีเกณฑ์เพิ่มมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ได้

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 4 - 6 เดือน

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในแต่ละเดือนในช่วงนี้จะอยู่ที่ 500 - 600 กรัมต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 1 - 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไป แต่หากเด็กบางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์นี้ ก็ต้องดูว่าลูกกินอะไรไปเป็นพิเศษหรือเปล่า

เมื่อทารกเข้าสู้วัย 7 - 9 เดือน

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมีมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อย

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 9 - 12 เดือน

น้ำหนักตัวที่เพิ่มในแต่ละเดือนจะลดลงอีก เหลือเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัมต่อเดือน

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 1 ขวบ

ช่วงนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงเดือนละ 200 กรัม ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากหรือน้อยในแต่ละเดือนด้วย

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น

  • ฟันกำลังจะขึ้น
  • ไม่สบายหรือมีอาการเจ็บป่วย
  • เพิ่งกินนมหรืออาหารเสร็จ
  • เพิ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไป
  • ถอดหรือใส่เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แล้วเราควรจะชั่งน้ำหนักลูกบ่อยแค่ไหน?

หากที่บ้านมีเครื่องชั่งที่เหมาะสมอยู่แล้วก็สามารถชั่งน้ำหนักได้ทุกวัน แต่หากไม่มีก็ชั่งตอนที่เราพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดปกติก็ได้ หากน้ำหนักตัวของลูกต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย แต่เขายังคงกินนมได้ตามปกติ ร่าเริง นอนหลับได้ตามปกติแม้น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยกว่าเกณฑ์เล็กน้อยก็ยังไม่ต้องกังวลมากเกินไป แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ ก็อาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอตอนที่เราพาลูกไปฉีดวัคซีนก็ได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parsons TJ et al., Fetal and early life growth and body mass index from birth to early adulthood in 1958 British cohort: Longitudinal study. BMJ. 2001;323:1331–1335. [PMC free article] [PubMed]
John W et al., Maternal Behavior and Infant Weight Gain in the First Year (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2695680/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป