มีลูกแฝด ยุ่งสองเท่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลพวกเขาอย่างไรดี

มีลูกแฝด ยุ่งสองเท่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลพวกเขาอย่างไรดี
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มีลูกแฝด ยุ่งสองเท่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลพวกเขาอย่างไรดี

มีลูกแฝดเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเลี้ยงทารกน้อยให้เติบโตพร้อมกันสองคนเป็นเรื่องหนักเอาการ มาดูวิธีที่จะช่วยให้การดูแลลูกแฝดง่ายขึ้น

การพาลูกแฝดกลับบ้าน

การพาลูกแฝดกลับบ้านเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านจริงๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าการดูแลลูกแฝดนั้นยากลำบากไม่น้อย อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำต่อไปนี้ที่จะช่วยให้การดูแลลูกแฝดง่ายดายขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ลูกทุกวัน การอาบน้ำให้เขา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็นับว่าเพียงพอ
  • คุณอาจอาบน้ำให้ลูกแฝดแบบสลับคืน เพื่อที่จะได้ทำความรู้จักกับเด็กทีละคน
  • หากอยู่ในบ้านสองชั้น ควรเตรียมอุปกรณ์เปลี่ยนผ้าอ้อมไว้ทั้งชั้นบนและชั้นล่างเพื่อความสะดวก
  • เมื่อไรก็ตามที่คุณทำอาหารให้ตัวเอง ให้ทำอาหารเพิ่มเป็น 2 เท่าไว้เลย แล้วแช่อาหารไว้ในตู้เย็น
  • ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยตัวเองตลอดเวลา ยอมรับความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นในครอบครัวหรือเพื่อนๆ บ้าง เพื่อคุณจะได้พักผ่อน

ทำไมลูกแฝดถึงนอนยาก?

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เด็กแฝดนอนยากกว่าเด็กทั่วไป เช่น แฝดสองและแฝดสามมีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนด ทำให้ได้ใช้เวลาในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด ซึ่งจะได้รับการสัมผัสและดูแลบ่อยครั้ง ดังนั้นพวกเขาอาจคิดถึงช่วงเวลานั้น จนเป็นเรื่องยากที่จะทำตัวให้สงบเมื่อกลับมาบ้าน

ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กทารก 2 คนขึ้นไป

  • ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดจะมีกระเพาะอาหารที่เล็กมาก และจำเป็นต้องกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง
  • ในช่วงที่ทารกอายุ 4-6 เดือน พวกเขายังไม่จำเป็นต้องกินนมตอนกลางคืน
  • เป็นธรรมดาที่เมื่อเด็กถูกอุ้มแล้วอาจไม่อยู่นิ่ง อีกทั้งหากมีคนช่วยเลี้ยง เด็กอาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อปรับตัวให้คุ้นเคยกับคนอุ้มหรือวิธีอุ้ม
  • เมื่อเด็กคนหนึ่งเริ่มร้อง คุณอาจต้องทำให้เขารีบสงบลงโดยเร็ว เนื่องจากเสียงร้องอาจปลุกเด็กอีกคนให้ตื่นด้วย

วิธีช่วยให้ลูกแฝดนอนหลับ

มีหลายวิธีที่ช่วยให้เด็กมีกิจวัตรการนอนที่เหมาะสม เพื่อที่ทุกคนจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ดังนี้

  • ให้ทารกนอนในท่าที่ปลอดภัย เช่น นอนหงายหลัง ฝ่าเท้าสัมผัสกับด้านล่างของเปลหรือตะกร้าใส่เด็ก
  • ดูแลให้ร่างกายของเด็กไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป โดยเฉพาะหากให้ทารกนอนด้วยกัน
  • เด็กแฝดก็อาจมีความชอบต่างกันได้ ควรยืดหยุ่นหากลูกคนหนึ่งชอบนอนเปล อีกคนชอบนอนในตะกร้าสำหรับทารก
  • พยายามฝึกให้เด็ก 2 คนหรือมากกว่ากินนมพร้อมกันตั้งแต่เนิ่นๆ คุณสามารถวางเปลเด็กติดกันเพื่อที่เขาจะได้มองเห็นและจับร่างกายของอีกฝ่ายได้ รวมถึงควรฝึกให้เด็กกินนมตอนกลางคืนพร้อมกันตั้งแต่เล็ก
  • ไม่ต้องรีบกอดทันทีเมื่อทารกร้องไห้ ฝึกให้เขาหยุดร้องด้วยตัวเองบ้าง

ควรให้ทารกนอนด้วยกันหรือไม่?

คุณอาจให้ลูกแฝดนอนในเปลเดียวกันได้อย่างปลอดภัย ในช่วงที่พวกเขายังตัวเล็กๆ อยู่ ซึ่งการทำเช่นนั้นจะเรียกว่า Co-Beding การให้ฝาแฝดนอนเปลเดียวกันสามารถช่วยให้พวกเขาควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและวงจรการนอน อีกทั้งยังช่วยให้เด็กๆ สงบลงได้อีกด้วย

หากคุณให้ลูกแฝดนอนเปลเดียวกัน อาจให้เด็กนอนหงาย โดยที่ศีรษะของเด็กทั้งสองคนหันเข้าหากัน ส่วนขาชี้ไปตรงกันข้ามและชิดกับด้านล่างของเปล หรือคุณจะให้ลูกนอนข้างๆ กันก็ได้

เมื่อลูกแฝดของคุณโตขึ้น คุณสามารถให้พวกเขานอนแยกเปล โดยที่วางเปลใกล้กัน หากเด็กคนที่มีอายุมากกว่ารบกวนเด็กอีกคน ก็อาจเริ่มให้พวกเขาอยู่กันคนละห้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ทารกควรนอนในห้องเดียวกับพ่อแม่ในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไหลตายในทารก

การเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่

ในช่วงเดือนแรกๆ คุณจะใช้เวลาไปกับการให้นมลูกเสียเป็นส่วนมาก แต่ไม่ว่าคุณจะให้ลูกกินนมจากเต้าหรือนมผง คุณแม่ก็ยังจำเป็นต้องกำหนดกิจวัตรการกินนมที่เหมาะสำหรับตัวเองและลูก

คุณไม่ควรผลัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพียงเพราะมีลูกมากกว่า 1 คน ทั้งนี้การให้ลูกกินนมแม่เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้ทารกสงบลง รวมถึงช่วยสร้างสายใยรักระหว่างแม่กับลูก แฝดสองหลายคนกินนมแม่ไปจนกระทั่งพวกเขาเริ่มกินอาหารแข็ง

คุณอาจลองจัดท่าทางการให้นม เพื่อที่จะได้รู้ว่าท่าใดที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด คุณจะได้รับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาลเกี่ยวกับการให้นมลูก

สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด นมแม่ถือว่าเป็นอาหารที่ดี เพราะลำไส้ของลูกน้อยจะยังเติบโตไม่เต็มที่ และนมแม่ก็สามารถย่อยได้ง่ายกว่า นอกจากนี้นมแม่ยังมีโปรตีนและแอนติบอดีที่ช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อ

หากลูกของคุณตัวเล็กมากหรือป่วยเมื่อแรกเกิด คุณแม่อาจจำเป็นต้องปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกกินในช่วงแรก โดยให้นมผ่านทางสายยางบางๆ ซึ่งจะผ่านเข้าไปในจมูกและลงสู่กระเพาะอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมผง

คุณอาจต้องให้นมผงกับนมจากเต้าควบคู่กันไป หรือหากมีลูกแฝดสาม ก็สามารถเลือกให้แต่นมผงเท่านั้น ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมผงคือ คนอื่นสามารถช่วยคุณได้

การให้ลูกกินนมจากขวดก็สามารถช่วยสร้างความใกล้ชิดและสายใยรักได้ โดยให้คุณแม่อุ้มลูกแนบชิดกับลำตัว ในระหว่างที่ให้เขากินนมให้มองดวงตา และพูดกับเขา รวมถึงให้คอยสังเกตสัญญาณที่บอกว่าเขากำลังหิวนม หรือกินนมพอแล้ว

การให้ฝาแฝดกินอาหารแข็ง

เด็กส่วนใหญ่จะกินอาหารแข็งได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่หากลูกของคุณเริ่มกินได้เร็วกว่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ สำหรับคุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด แล้วไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารแข็งเมื่อไหร่ดี สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

การป้อนอาหารให้ลูกแฝดด้วยช้อนหรือใช้ภาชนะเดียวกันสามารถทำได้ เว้นเสียแต่ว่ามีเด็กคนหนึ่งติดเชื้อร้ายแรง

ฝาแฝดที่คลอดก่อนกำหนด และการดูแลแบบพิเศษ

หากลูกแฝดของคุณเกิดก่อนกำหนดมาก เขาก็อาจต้องใช้เวลาอยู่ในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด ทั้งนี้ลูกของคุณจะต้องอยู่ในตู้อบ และอาจมีสายและท่อโยงอยู่รอบตัว

หากลูกของคุณตัวเล็กเกินกว่าที่จะกินนมด้วยตัวเอง พยาบาลจะสอนวิธีปั๊มนมให้คุณ และลูกจะได้กินนมผ่านทางสายยางทางจมูกและลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งลูกจะไม่รู้สึกเจ็บ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bringing Your Newborn Twins Home From the Hospital. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/bringing-twins-home-for-the-first-time-2447432)
Caring for newborn twins or multiples. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/0_caring-for-newborn-twins-or-multiples_3590.bc)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป