Blood gas คืออะไร?
Blood gas เป็นการตรวจเลือดชนิดหนึ่งที่ดูค่าความเป็นกรด/เบสและระดับออกซิเจนในเลือด การตรวจนี้เป็นหนึ่งในการตรวจเลือดที่ใช้บ่อยที่สุดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตเพราะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของทารกได้อย่างมากมายโดยใช้เลือดเพียงแค่ไม่กี่หยด
ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต คุณอาจจะได้ยินการพูดถึงการตรวจนี้ด้วยหลายชื่อเรียก เช่น ABG ย่อมาจาก Arterial blood gas, CBG ย่อมาจาก capillary blood gas หรือสั้นๆ แค่ gas และแต่ละที่ก็อาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตที่ฉันทำงานอยู่ บางครั้งจะเรียกว่า i-STAT ตามเชื่อยี่ห้อของเครื่องที่วิเคราะห์การทดสอบนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เจ้าหน้าที่ของหอผู้ป่วยจะทำการเก็บตัวอย่างเลือดสำหรับการตรวจได้จากหลายช่องทาง หากทารกของคุณมีสาย umbilical artery catheter (UAC) ก็สามารถดูดเลือดผ่านทางนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเจาะใหม่ หรืออาจจะทำการเจาะเลือดจากส้นเท้าหรือการแทงเข็มเข้าเส้นเลือดแดงหรือดำเส้นใดเส้นหนึ่ง
ทำความเข้าใจกับผล Blood gas
เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยจะได้ข้อมูลมากมายจากการตรวจ Blood gas ในทารกของคุณ ค่าที่เราดูประกอบด้วย
- pH : เป็นการประเมินค่าความเป็นกรด/เบส การที่ค่า pH ต่ำแสดงว่าเลือดเป็นกรด ในขณะที่หาก pH สูงแสดงว่าเป็นเบส ซึ่งทั้ง 2 ภาวะอาจเป็นอันตรายได้
- คาร์บอนไดออกไซด์ : คาร์บอนไดออกไซด์จะเริ่มคั่งในเลือดเมื่อทารกหายใจได้ไม่ดีและอาจทำให้เลือดเป็นกรดได้ แพทย์จะลดระดับของคาร์บอนไดออกไซด์โดยการทำให้แน่ใจว่าทางเดินหายใจของทารกเปิดหรือเพิ่มการช่วยหายใจ ตัวอย่างเช่นทารกที่มีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงอาจจะต้องใส่เครื่อง CPAP หรือปรับเครื่องช่วยหายใจ
- Bicarbonate : bicarbonate หรือ bicarb เป็นการวัดการทำงานของร่างกาย การที่มีระดับ bicarb สูงหรือต่ำอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นมีการติดเชื้อ มีการขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน หรือมีปัญหาเกิดขึ้นที่หัวใจ ไต หรือทางเดินอาหาร
- ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน : การตรวจ Blood gas จากเส้นเลือดแดงเป็นการวัดปริมาณออซิเจนในเลือดของทารกที่แม่นยำ ในขณะที่หากนำเลือดมาจากเส้นเลือดดำหรือจากการเจาะที่ส้นเท้าจะได้ค่าที่ไม่แม่นยำ
การตรวจ Blood gas ทั้งหมดจะเป็นการประเมินค่าต่างๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น บางการทดสอบอาจทำเพื่อตรวจวัดค่าการทำงานอื่นๆ ของร่างกายจากเลือดเช่นการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคส ระดับเกลือแร่ และความเข้มข้นของเลือด
ทำไมทารกที่คลอดก่อนกำหนดจึงต้องมีการตรวจ Blood gas หลายครั้ง
เมื่อทารกเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต พ่อแม่มักจะเกิดความกังวลว่าลูกจะต้องถูกเจาะเลือดกี่ครั้ง แพทย์และพยาบาลก็เช่นเดียวกัน เพราะการเจาะเลือดบ่อยๆ อาจทำให้เกิดภาวะซีดได้โดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนดซึ่งมีปริมาณเลือดในร่างกายตั้งต้นน้อยกว่า
การตรวจ Blood gas บ่อย ๆ นั้นเป็นเรื่องปกติภายในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตแต่ก็เป็นไปด้วยความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าทารกกำลังได้รับการช่วยเหลือด้านการหายใจที่เหมาะสมโดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนดซึ่งจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องช่วยหายใจและระดับออกซิเจนแม้เพียงเล็กน้อย การดูดเลือดจากสาย umbilical artery catheter หรือจากสายที่อยู่ในเส้นเลือดแดงจะไม่ได้ทำให้ทารกเจ็บปวด แต่หากจำเป็นต้องเจาะเลือดจากส้นเท้า เจ้าหน้าที่ของหอผู้ป่วยก็จะทำอย่างนุ่มนวลที่สุดและนำเลือดไปทดสอบหลายอย่างเพื่อให้ทารกเจ็บตัวน้อยที่สุด