หล่อฮังก๊วย (Monk friut)

หล่อฮังก๊วย สมุนไพรรสหวานที่รู้จักกันในฐานะเครื่องดื่มแก้ร้อนในจากประเทศจีน
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หล่อฮังก๊วย (Monk friut)

หล่อฮังก๊วย เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ชาวจีนคุ้นเคยและรู้จักเป็นอย่างดี ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากในการใช้เป็นสารแทนความหวานจากน้ำตาล เนื่องจากมีรสหวานกว่าน้ำตาลในธรรมชาติกว่า 250 เท่า โดยรสหวานดังกล่าวไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งให้พลังงานต่ำ และตัวผลหล่อฮังก๊วยเองก็มีสรรพคุณทางยารวมอยู่ด้วย

สรรพคุณทางยาของหล่อฮังก๊วย

หล่อฮังก๊วย สมุนไพรฤทธิ์เย็น เป็นผลไม่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทางการแพทย์ในประเทศจีน และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าสามารถใช้เป็นสารให้ความหวานได้อย่างปลอดภัย และยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ในเด็ก สตรีตั้งครรภ์ หรือในหญิงให้นมบุตร ในผลหล่อฮังก๊วยมีสารที่ชื่อว่าโมโกรไซด์ (Mogroside) เป็นน้ำตาลจากธรรมชาติกลุ่มฟรุกโตสและกลูโคสเป็นหลัก รสหวานชุ่มคอ แก้ไอขับเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงกำลัง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้อาการท้องผูกได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำหล่อฮังก๊วยเพื่อสุขภาพ

หล่อฮังก๊วยในรูปแบบผลสดให้รสชาติค่อนข้างขม ดังนั้นการดื่มในรูปแบบน้ำสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่บริโภคได้ง่ายกว่า ดังที่ได้รับความนิยมกันในปัจจุบัน นอกจากน้ำหล่อฮังก๊วยจะให้พลังงาน ความสดชื่น และแก้กระหายน้ำจากน้ำตาลแล้ว ยังให้คุณประโยชน์จากสารพฤกษเคมีในสมุนไพร สามารถดื่มเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

วิธีทำน้ำหล่อฮังก๊วย คือ นำลูกหล่อฮังก๊วยฉีกหรือทุบเป็นชื้นๆ ประมาณครึ่งลูก ต้มในน้ำสะอาดประมาณ 1 ลิตร อาจจะใส่ดอกเก๊กฮวยแห้งหรือใบเตยเพื่อเพิ่มความหอมก็ได้ เมื่อต้มจนน้ำเดือดแล้วให้กรองด้วยผ้าขาวบาง สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น เคล็ดลับการต้มหล่อฮังก๊วยไม่ให้มีรสขม คือ ต้องทุบผลหล่อฮังก๊วยให้แตก และเมื่อต้มน้ำสมุนไพรจนเดือดให้รีบปิดแก๊สทันที หากต้มนานเกินไปจะทำให้น้ำมีรสขมจนไม่สามารถดื่มได้ 

งานวิจัยเกี่ยวกับหล่อฮังก๊วย

ปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของหล่อฮังก๊วย ซึ่งให้ผลการวิจัยดังนี้

  • สารสกัดโมโกรไซด์ (Mogroside) ในหล่อฮังก๊วยอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ไกลโคไซด์ (Glycosides) ซาโปนิน (Saponins) มีสารต้านการอักเสบ กระบวนการคือยับยั้งโมเลกุลที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และช่วยป้องกันความเสียหายต่อสารพันธุกรรม (DNA)
  • จากกการทดลองในห้องปฏิบัติการกับหนูที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อให้สารสกัดจากหล่อฮังก๊วยแก่หนู พบว่ามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินที่ตับอ่อน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) ได้อีกด้วย
  • ในการทดสอบการเกิดมะเร็งในหนูทดลอง พบว่าสารโมโกรไซด์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกบริเวณผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สามารถต้านการมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ด้วย

ข้อควรระวังในการบริโภคหล่อฮังก๊วย

ควรระมัดระวังการบริโภคหล่อฮังก๊วยในผู้ที่ตับอ่อนทำงานผิดปกติ คือทำงานหนักมากเกินไป เพราะหากรับประทานหล่อฮังก๊วยปริมาณมาก ร่างกายสร้างอินซูลินมากเกินความต้องการ จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ตัวเย็นหรืออาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้

แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่บอกว่าสารในหล่อฮังก๊วยมีผลต่อสุขภาพในการรักษาโรคต่างๆ อย่างไรก็ตามการใช้หล่อฮังก๊วยในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้เป็นสารให้ความหวานมากกว่าประโยชน์ทางการรักษา จึงแนะนำให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและหากมีโรคประจำตัวก็ควรไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อินทิรา ลิจันทร์พร, กมลชนก เล็กมณี และบุศรา บึงสว่าง, การผลิตเครื่องดื่มชาชงจากเปลือกลองกองผสมหล่อฮั๊งก้วย (http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202013/CRDC7/data/313-316.pdf), 2556.
เครือวัลย์ พรมลักษณ์, สถาบันอาหาร, Monk fruit (ผลหล่อฮังก้วย) ทางเลือกใหม่ของสารให้ความหวานจากธรรมชาติ (http://fic.nfi.or.th/data57/february/IN-28-02-57.pdf), 28 กุมภาพันธ์ 2557.
Jon Johnson, What are monk fruit and stevia? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322769.php), 15 August 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?

น้ำตาลจากมะพร้าวเหมาะสำหรับคนต้องการอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือไม่?

อ่านเพิ่ม