คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่ได้ทำข้อผิดพลาดสำหรับการดูแลสุขภาพปาก 10 ประการ

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่ได้ทำข้อผิดพลาดสำหรับการดูแลสุขภาพปาก 10 ประการ

ขณะที่คนทั่วๆไปได้ทำกิจวัตรประจำวันปกติ พวกเขาอาจจะไม่รู้เลยว่า พวกเขาได้ดูแลสุขภาพปากอย่างไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง

มนุษย์อย่างพวกรามีความโชคดีกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆเนื่องจากมีสมองอันชาญฉลาดซึ่งทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากมนุษย์ถ้ำ ไปสู่มนุษย์ที่มีบ้านอันหรูหรา อย่างไรก็ตามพวกเราต่างจากสัตว์ตรงที่ พวกเรามีความจำเป็นต้องทำกิจวัตรประจำวัน เช่นการแปรงฟัน อย่างใส่ใจ ในขณะที่ทุกคนได้ทำกิจวัตรประจำวันที่แสนปกตินี้ก็ยังมีอีกหลายคนที่มีความรู้ไม่เพียงพอในการดูแลสุขอนามัยช่องปาก และบ่อยครั้งมักทำผิด นี่เป็นตัวอย่างของข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยในปัจจุบันที่มนุษย์มักทำในการดูแลสุขภาพช่องปาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. แปรงฟันมากเกินไป แปรงฟันบ่อยเกินไป

คุณอาจคิดว่าการแปรงฟันบ่อยๆอาจช่วยให้ฟันขาวขึ้น สะอาดขึ้น อย่างไรก็ตาม การแปรงฟันบ่อยเกินไปอาจทำให้เคลือบฟันสึก และทำให้เกิดผลเสียมากกว่าข้อดี เราขอแนะนำว่าควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2-3 นาที

2. การกดแปรงสีฟันแรงๆในขณะแปรงฟัน

คนที่ไม่ใส่ใจในสุขภาพช่องปากเป็นเวลานานๆ มีแนวโน้มที่จะแปรงฟันโดยใช้แรงมากๆในการแปรงฟัน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ผิด การกดแปรงโดยใช้แรงมากเกินไปอาจทำให้เคลือบฟันสึก ซึ่งอาจส่งผลเสียให้ฟันผุได้

3. การแปรงฟันทันทีหลังทานอาหารเสร็จ

คุณควรที่จะรอเวลาระยะหนึ่งหลังทานอาหารเสร็จแล้วค่อยแปรงฟัน เพราะอาหารมีสภาพเป็นกรด การแปรงฟันทันทีหลังการทานอาหารอาจเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ฟันถลอก หากคุณรอเวลาซักระยะหนึ่งน้ำลายในปากจะปรับสภาพกรดเหล่านี้ให้เป็นกลาง หากคุณอยากทำความสะอาดทันทีก็ควรทำด้วยการบ้วนน้ำเปล่า

4. การแปรงเฉพาะบริเวณพื้นผิวของฟันที่ใช้ในการเคี้ยว

การแปรงเฉพาะบริเวณพื้นผิวของฟันที่ใช้ในการเคี้ยว เป็นข้อผิดพลาดอีกข้อหนึ่งที่พบได้บ่อย เนื่องจากอาหารสามารถไปติดที่บริเวณใดก็ได้ในช่องปาก ดังนั้นคุณควรจะแปรงทั้งภายในและภายนอก และบริเวณพื้นผิวของฟันที่ใช้ในการเคี้ยวของฟันคุณ

5. การไม่ทำความสะอาดลิ้น

ลิ้นสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และคุณไม่ควรที่จะละเลยในการดูแล การบ้วนปากเป็นเรื่องที่ดี แต่คุณไม่ควรที่จะลืมแปรงลิ้นด้วย.

6. การเลือกใช้แปรงสีฟันที่ผิด

การเลือกใช้แปรงที่แข็งเกินไปอาจส่งผลเสียให้กับสุขภาพช่องปาก แม้ว่าคุณจะใช้วิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องก็ตาม ไม่เพียงแต่จะกัดกร่อนเคลือบฟัน อาจจะส่งผลเสียต่อเหงือกอีกด้วย ดังนั้นคุณควรลองแปรงสีฟันที่หลากหลาย และเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะกับปากและฟันของคุณ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ 3 เดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. การเก็บแปรงสีฟันที่ไม่สะอาด

ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถซื้อแปรงสีฟันได้ทุกวัน ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำความสะอาดแปรงด้วยน้ำทุกครั้งหลังจากการแปรงฟัน

8. การไม่ขัดฟัน

คุณอาจแปรงฟันได้อย่างถูกต้อง แต่อาหารและเชื้อแบคทีเรียอาจติดบริเวณซอกฟันและไม่แปรงไม่ทั่วถึง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องใช้ไหมขัดฟันวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อที่จะทำความสะอาดฟันได้อย่างถูกต้อง

9. การไม่บ้วนปากหลังจากรับประทานอาหาร

การบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าภายหลังจากรับประทานอาหารทันที จะช่วยให้เศษอาหารที่ติดอยู่ในช่องปากหลุดออกไป และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการลดความเป็นกรดในช่องปาก และยังสามารถช่วยลดกลิ่นปากได้อีกด้วย

10. การไม่ยอมไปพบทันตแพทย์อย่างเป็นประจำ

มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน เนื่องจากเป็นเวลาที่สิ่งสกปรกตามซอกฟันได้ก่อตัวเป็นหินปูนซึ่งไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยการแปรงฟันแบบปกติ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oral health of the elderly: reality, myth, and perspective. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7951363)
Dental Myths, Debunked. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/healthy-teeth-guide/dental-myths/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป