กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Methazolamide (เมทาโซลาไมด์)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เมทาโซลาไมด์ (Methazolamide) เป็นยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) ออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์คาร์บอนิก แอนไฮเดรส (Carbonic anhydrase) ชนิดออกฤทธิ์แรง ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นกรดคาร์บอนิก โปรตอน และไบคาร์บอเนตไอออน ส่งผลต่อการลดการหลั่งของของน้ำในช่องลูกตา มีข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันภาวะความดันในลูกตาสูง และป้องกันภาวะรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากความดันในลูกตาสูง เช่น การสูญเสียการมองเห็น ภาวะประสาทตาถูกทำลาย ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั้งในต้อหินมุมเปิด และต้อหินมุมปิดที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดซึ่งจำเป็นต้องทำให้ความดันของลูกตาลดต่ำ 

ยาเมทาโซลาไมด์ ได้รับการอนุมัติข้อบ่งใช้ดังกล่าว และมีวางจำหน่ายในต่างประเทศโดยใช้ชื่อการค้า Neptazane® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 50 มิลลิกรัม ส่วนในประเทศไทย ยาเมทาโซลาไมด์จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ตามการจำแนกโดยคณะกรรมการอาหารและยา และในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดนี้วางจำหน่ายในท้องตลาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Methazolamide

  • รักษาภาวะความดันในลูกตาสูง (High intraocular pressure) จากโรคต้อหิน

ขนาดและวิธีการใช้ยา Methazolamide 

การใช้ Methazolamide มีข้อบ่งใช้สำหรับภาวะความดันในลูกตาสูงจากโรคต้อหิน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ขนาด 50-100 มิลลิกรัม (1-2 เม็ด) วันละ 2-3 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 300 มิลลิกรัม (6 เม็ดต่อวัน)

ไม่แนะนำให้ใช้ยาเมทาโซลาไมด์ในเด็ก เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาในกลุ่มตัวอย่าง

ผลข้างเคียงของยา Methazolamide 

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของ Methazolamide ได้แก่ 

  • รู้สึกเหมือนมีของแหลมทิ่มบริเวณมือ เท้า ลิ้น (Paresthesia) จากการกดทับของระบบประสาท 
  • หูอื้อ 
  • อ่อนแรง 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • ภาวะความผิดปกติของการรับประทานอาหารโดยทำให้อยากรับประทานอาหารน้อยลง (Anorexia) 
  • ท้องไส้ปั่นป่วน 
  • การรับรู้รสเปลี่ยนแปลงไม่ตรงกับรสจริง (Dysgeusia) 
  • ง่วงซึม สับสน 
  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย (Metabolic acidosis) 
  • ภาวะเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในกระแสเลือด 
  • เกร็ดเลือดต่ำ 
  • เม็ดเลือดขาวต่ำ 

ข้อควรระวังของยา Methazolamide 

  • ยา Methazolamide ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category C ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ควรใช้ยานี้เฉพาะเมื่อแพทย์มีความเห็นว่า ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากยามากกว่าความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร และในเด็ก
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) 
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) ในขนาดสูง เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง จากพิษของกรดซาลิไซลิกจากยาแอสไพรินได้ ซึ่งได้แก่ ภาวะบกพร่องของพฤติกรรมการกิน (Anorexia) หายใจเร็ว ซึม และอาการโคม่า ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการบกพร่องของตับ ไต หรือต่อมหมวกไต ระดับรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยเลือดเป็นกรดจากภาวะคลอรีนในเลือดสูง (Hyperchloremic acidosis)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิด เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
  • ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำได้
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องของระบบทางเดินหายใจ เช่น การอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ โรคถุงลมโป่งพอง
  • แนะนำให้ตรวจผลทางห้องปฏิบัติการถึงค่า baseline ของเม็ดเลือด (Complete blood count) และเกล็ดเลือด (Platelet) ก่อนเริ่มใช้ยาและระหว่างที่ใช้ยา Methazolamide
  • แนะนำให้มีการตรวจระดับอิเล็กทรอไลท์ในกระแสเลือดเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเสียสมดุลของอิเล็กทรอไลต์
  • ยานี้อาจมีผลต่อการขับออกของยาบางชนิดผ่านทางไต โดยยา Methazolamide จะยับยั้งการขับออกผ่านทางไตของยาที่มีคุณสมบัติเป็นเบส และเพิ่มการขับออกผ่านทางไตของยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรด

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicinenet, methazolamide - oral, Neptazane (https://www.medicinenet.com/methazolamide-oral/article.htm), August 2013.
medlineplus, Methazolamide (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a613034.html), 15 February 2017.
pubchem, Methazolamide (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/4100), 25 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)