ประจำเดือนทำให้โลหิตจางได้หรือไม่?

การมีประจำเดือน สามารถทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ เนื่องจากมีการสูญเสียเลือดเป็นประจำทุกเดือน ถ้าหากรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พอ ก็จะทำให้เป็นภาวะโลหิตจางในที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประจำเดือนทำให้โลหิตจางได้หรือไม่?

ภาวะโลหิตจาง เกิดจากการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดแดง หรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ภายในร่างกาย โดยฮีโมโกลบินคือโปรตีนที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ยึดติดและขนส่งโมเลกุลของออกซิเจนเข้ากับเซลล์ของร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง ร่างกายและสมองจะเริ่มขาดแคลนออกซิเจน จนไม่สามารถทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น

อาการของภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจาง โดยเฉพาะประเภทที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก สามารถทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้เหน็ดเหนื่อย อ่อนแรง หายใจลำบาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ทำสมาธิจดจ่อลำบาก
  • หน้ามืด
  • ขี้หนาว
  • ใจสั่น
  • ผิวหนังซีด โดยเฉพาะบนเปลือกตาใน
  • ผมร่วง
  • ขอบปากแตก
  • เล็บเปลี่ยน
  • การไหลเวียนเลือดไม่ดี (นิ้วมือและนิ้วเท้าเย็น)

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง

เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกผลิตออกมาจากไขกระดูกจะมีอายุขัยประมาณ 110 วัน ระหว่างที่เซลล์เหล่านี้ไหลเวียนไปทั่วร่างกายเพื่อขนส่งออกซิเจน เซลล์ก็จะมีอายุมากขึ้นและจะถูกทำลายโดยม้าม ต่อมน้ำเหลือง และตับ ส่วนที่เหลือของเซลล์เม็ดเลือด ก็จะถูกหมุนเวียนใหม่ภายในร่างกาย

เมื่อเกิดการรบกวนวงจรชีวิตของเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น การสร้างใหม่ การทำงานตามอายุขัย หรือการทำลาย จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางขึ้นมา สาเหตุทั่วไปของภาวะโลหิตจาง ได้แก่ การสูญเสียเลือด การติดเชื้อปรสิต ภาวะพร่องสารอาหาร ปัญหาการดูดซึม และโรคเรื้อรังต่าง ๆ

ประจำเดือนและภาวะโลหิตจาง

ผู้หญิงที่มีประจำเดือน มีความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง เนื่องจากการสูญเสียเลือดเป็นประจำทุกเดือนอย่างน้อย 80 มิลลิลิตร จึงทำให้ธาตุเหล็กในเซลล์เม็ดเลือดแดงสูญหายไปด้วย และถ้าหากไม่ได้มีการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กอย่างมาชดเชยปริมาณธาตุเหล็กที่สูญเสียไปอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

ในกรณีที่มีประจำเดือนมาก โดยเกิดจากภาวะทางการแพทย์ เช่น เนื้องอก (Fibroids) ภาวะเนื้อเยื่อมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) หรือติ่งเนื้อ จะยิ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางมากยิ่งขึ้น

การมีประจำเดือน ไม่ใช่ภาวะที่เกิดในเพศหญิงเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียธาตุเหล็ก เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์ และการให้นมบุตรก็ทำให้ร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้หญิงมีครรภ์และแม่ที่ต้องนมบุตรต้องได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ เพราะถ้าหากมีระดับธาตุเหล็กในร่างกายต่ำ ก็อาจเป็นอันตรายให้ทั้งกับแม่และเด็กได้

หากมีภาวะโลหิตจาง ที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กควรทำอย่างไร?

การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานธาตุเหล็กเสริมชนิดเม็ด หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก โดยอาหารที่อุดมธาตุเหล็ก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. เหล็กในรูปของฮีม (Heme Iron) ธาตุเหล็กรูปแบบนี้ จะถูกดูดซึมได้ง่ายกว่าเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม พบได้ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อไก่งวง ปลา อาหารทะเล, และหอยนางรม โดยเนื้อแดงจะมีเหล็กในรูปของฮีมเข้มข้นที่สุด
  2. เหล็กที่ไม่ใช่ฮีม (Nonheme Iron) พบได้มากในอาหารจำพวกพืชต่างๆ เช่น ธัญพืช ถั่ว เต้าหู้ และผักบางชนิด แนะนำให้ทานอาหารประเภทนี้พร้อมกับวิตามิน C เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว เพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กมากขึ้น และไม่ควรรับดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และสารแทนนิน เช่น ชา หรือกาแฟ เพราะสารทั้งสองชนิดนี้จะไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น

ที่มาของข้อมูล

Nicole Telfer, Can your period cause anemia? (https://helloclue.com/articles/cycle-a-z/can-your-period-cause-anemia), 17 ตุลาคม 2017


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Are You Anemic? Signs & Symptoms. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/anemia/anemia-basics.aspx)
The prevalence and impacts heavy menstrual bleeding on anemia, fatigue and quality of life in women of reproductive age. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6500811/)
NHS, Menorrhagia (heavy menstrual bleeding) (https://www.nhs.uk/conditions/heavy-periods/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป