ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นการติดเชื้อที่ชั้นเยื่อหุ้มที่ปกป้องสมองกับไขสันหลังอยู่ ภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน แต่จะพบบ่อยกับเด็กทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่อายุน้อย
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะกลายเป็นภาวะร้ายแรงหากไม่รีบเข้ารับการรักษาในทันที ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษและสร้างความเสียหายถาวรแก่สมองหรือประสาทได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีวัคซีนจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ป้องกันการเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
อาการของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันมีดังนี้:
- มีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
- รู้สึกไม่สบาย
- ปวดศีรษะ
- ผื่นบวมที่ไม่ยุบลงเมื่อถูกกด (อาจไม่เกิดขึ้นเสมอไป)
- เจ็บคอ
- อ่อนไหวต่อแสงจ้า
- ง่วงนอนหรือไม่ตอบสนอง
- ชัก
อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นตามลำดับข้างต้น และบางอาการอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่ทำได้หากมีความกังวลว่าคุณหรือลูกของคุณป่วยเป็นภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยที่ไม่จำเป็นต้องรอจนมีผื่นเกิดขึ้นมา
หากคุณคาดว่าตนเองหรือลูกป่วยรุนแรงควรเรียกรถพยาบาลมารับตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลแทน
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบแพร่กระจายได้อย่างไร?
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักจะเกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส สำหรับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียจะหายากกว่าแต่จะมีความรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อจากไวรัส
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การติดเชื้อที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถแพร่เชื้อต่อได้ผ่าน:
- การจาม
- การไอ
- การจูบ
- การใช้ช้อนส้อมและแปรงสีฟันร่วมกัน
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักจะติดมาจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในจมูกหรือลำคอ แต่การแพร่กระจายจากผู้ป่วยไปสู่ผู้ที่สุขภาพดีนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
คุณสามารถป่วยเป็นภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
การฉีดวัคซีนป้องกันภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัคซีนสำหรับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะสามารถป้องกันภาวะนี้ที่มาจากสาเหตุบางอย่างเท่านั้น เช่น:
- วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ B: จะจัดให้กับเด็กทารกอายุ 8 สัปดาห์ ตามด้วยเข็มที่สองที่ 16 สัปดาห์ และจะมีการฉีดกระตุ้นอีกครั้ง 1 ปี
- วัคซีน 5-in-1: จะจัดให้กับเด็กทารกอายุ 8, 12 กับ 16 สัปดาห์
- วัคซีนปอดอักเสบ: จะจัดให้กับเด็กทารกอายุ 8 สัปดาห์ 16 สัปดาห์ และ 1 ปี
- วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ C: จะจัดให้กับเด็กอายุ 12 สัปดาห์ กับ 1 ปี
- วัคซีน MMR: จะจัดให้กับเด็กทารกอายุ 1 ปี และเข็มที่สองที่อายุ 3 ปี 4 เดือน
- วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ACWY: จะจัดให้กับวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 14 ปี
ความคาดหวังที่มีต่อภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสจะหายเองและมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว
ผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียส่วนมากที่เข้ารับการรักษาเร็วจะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์ดี แม้ว่าบางรายอาจมีปัญหาสุขภาพระยะยาวหลงเหลืออยู่บ้าง ซึ่งมีดังนี้:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- สูญเสียการได้ยินหรือการมองเห็น ทั้งแบบบางส่วนหรือทั้งหมด
- ปัญหาด้านสมาธิกับความทรงจำ
- ประสบกับภาวะชักบ่อยครั้ง
- มีปัญหาด้านสมดุลกับการประสานงานของอวัยวะ
- สูญเสียอวัยวะ หรือเสียแขนขาไปตามความจำเป็น
โดยรวมแล้วคาดกันว่ามีกรณีผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย 1 ใน 10 กรณีที่เป็นการเจ็บป่วยร้ายแรงมาก
สาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส โดยการติดเชื้อจากไวรัสจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดและเป็นภาวะที่ร้ายแรงน้อยที่สุด ส่วนการติดเชื้อจากแบคทีเรียจะหายากกว่าและจะมีความรุนแรงมากกว่าหากไม่เข้ารับการรักษากับแพทย์
ไวรัสกับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นมีอยู่หลายชนิดดังนี้:
- แบคทีเรียไข้กาฬหลังแอ่น: มีอยู่หลายชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันเช่น A, B, C, W, X, Y, และ Z
- แบคทีเรียปอดอักเสบ
- แบคทีเรีย Haemophilus influenzae type b (Hib)
- เอนเทอโรไวรัส: ไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะที่ไม่รุนแรง
- ไวรัสคางทูม
- ไวรัสโรคเริม: ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริมชนิดมีแผล หรือเริมที่อวัยวะเพศ
มีวัคซีนป้องกันภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบมากมายที่ป้องกันการติดเชื้อหลายชนิดที่จะก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้น
ใครมีความเสี่ยงต่อภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบมากที่สุด?
ทุกคนสามารถป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ แต่ภาวะนี้มักจะเกิดกับ:
- เด็กทารกและเด็กเล็ก
- วัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุน้อย
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่นผู้ป่วย HIV และผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดเคมีอยู่
คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ด้วยการทำวัคซีนตามกำหนด
การรักษาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผู้ป่วยที่คาดว่าเป็นภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะต้องเข้ารับการทดสอบที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและตรวจหาว่าภาวะนี้เกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักจะใช้เวลาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ดังนี้:
- การฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด
- การให้ของเหลวผ่านทางเส้นเลือด
- การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก
สำหรับภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสมักจะหายเองภายใน 7 ถึง 10 วัน และสามารถรักษาได้เองที่บ้าน ผู้ป่วยต้องพักผ่อนร่างกายให้มาก ๆ และทานยาแก้ปวดกับยาต้านอาการป่วยต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการไปจนกว่าจะหายดี
การทดสอบที่โรงพยาบาล
จะมีการทดสอบหลายประเภทที่สามารถยืนยันข้อวินิจฉัยและตรวจหาว่าภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เป็นนั้นเกิดมาจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยมีดังนี้: การตรวจร่างกายเพื่อมองหาอาการของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อนำตัวอย่างของเหลวจากไขสันหลังไปหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
การสแกนคอมพิวเตอร์ (CT สแกน) เพื่อตรวจหาปัญหาที่เกิดกับสมอง อย่างเช่นอาการสมองบวม
เนื่องจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียเป็นภาวะร้ายแรง ทำให้แพทย์จะจัดการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก่อนเริ่มการวินิจฉัยยืนยันโรค และจะยุติการรักษาลงหากว่าผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้น ๆ เกิดมาจากเชื้อไวรัส
การรักษาที่โรงพยาบาล
การรักษาตัวที่โรงยาบาลจะแนะนำกับผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียทุกราย เนื่องจากภาวะจากแบคทีเรียจะมีความร้ายแรงมากกว่าจึงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
ส่วนผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสรุนแรงก็ควรต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเช่นกัน
การรักษามีดังนี้:
- การใช้ยาปฏิชีวนะเข้าทางเส้นเลือด
- การป้อนของเหลวผ่านทางเส้นเลือดโดยตรง
- การสวมหน้ากากออกซิเจนหากผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก
- การใช้ยาสเตียรอยด์เพื่ดลดอาการสมองบวม
ผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่วัน และในบางกรณีอาจต้องจัดการรักษายาวนานหลายสัปดาห์
แม้คุณจะถูกปล่อยตัวกลับบ้าน คุณก็อาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าร่างกายจะกลับมาแข็งแรงดี
อาจมีการรักษาและการช่วยเหลือระยะยาวตามความจำเป็นหากมีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดขึ้น เช่นสูญเสียการได้ยิน
การรักษาที่บ้าน
คุณจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้หากเป็นภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดที่ไม่รุนแรง และการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อนี้เกิดมาจากไวรัส
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบประเภทนี้มักจะหายเองโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา โดยผู้ป่วยส่วนมากจะหายดีภายใน 7-10 วัน
ระหว่างพักฟื้น คุณควร:
- พักผ่อนให้มาก ๆ
- ทานยาแก้ปวดเพื่อจัดการกับอาการปวดศีรษะหรือปวดตามร่างกาย
- ทานยาแก้คลื่นไส้สำหรับจัดการกับอาการอาเจียน
การป้องกันการแพร่เชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ความเสี่ยงที่ผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มอักเสบจะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นมีต่ำมาก แต่หากแพทย์คาดว่าผู้ป่วยมีโอกาสแพร่เชื้อสูง แพทย์อาจจัดยาปฏิชีวนะให้พวกเขาเพื่อป้องกันไว้ก่อน
นี่อาจรวมไปถึงผู้ที่มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ผู้ที่อาศัยในครัวเรือนเดียวกัน นักศึกษาที่อาศัยในหอเดียวกัน แฟน
ส่วนผู้ที่ผู้ป่วยจะสัมผัสหรือใกล้ชิดเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จะไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มอักเสบส่วนมากจะฟื้นจากอาการป่วยได้สมบูรณ์ดี แต่ก็มีบางกรณีที่ประสบกับปัญหาระยะยาวที่สามารถอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันทีที่สงสัยว่าตนเองหรือลูกคุณมีอาการของภาวะเยื่อหุ้มอักเสบ และเช่นนี้เองที่ทำให้การทำวัคซีนภาวะเยื่อหุ้มอักเสบถูกกำหนดให้กับผู้คนบางกลุ่ม
คาดกันว่าผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มอักเสบมากกว่าหนึ่งจากทุก ๆ สองหรือสามคนจะรอดชีวิตจากภาวะเยื่อหุ้มอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โดยบรรดาผู้ที่รอดชีวิตจะประสบกับปัญหาสุขภาพถาวรหนึ่งอย่างหรือมากกว่า
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเยื่อหุ้มอักเสบจากไวรัสจะหายากมาก
ภาวะแทรกซ้อนหลัก
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเยื่อหุ้มอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดคือ:
- สูญเสียการได้ยิน (อาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด): ผู้ที่เคยป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะต้องเข้ารับการทดสอบการได้ยินภายหลังการรักษาไม่กี่สัปดาห์เพื่อตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
- โรคลมชักแบบเป็น ๆ หาย ๆ
- ปัญหาด้านความทรงจำและสมาธิ
- ปัญหาด้านการประสานงานและสมดุลร่างกาย
- ปัญหาด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้
- สูญเสียการมองเห็น (อาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด)
- สูญเสียอวัยวะ: แพทย์อาจต้องทำการตัดแขนขาเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ และเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายออก
- ปัญหากระดูกและข้อต่อ เช่นข้ออักเสบ
- ปัญหาไต
โดยทั่วไปแล้วคาดกันว่าจะมีกรณีผู้ป่วยภาวะเยื่อหุ้มอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่จะประสบกับปัญหาที่เป็นอันตรายถึงชีวิตประมาณ 1 จาก 10 กรณี
การรักษาและช่วยเหลือ
จะมีการรักษาและการช่วยเหลือระยะยาวเพิ่มเติมขึ้นหากคุณหรือลูกของคุณประสบกับภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยกตัวอย่างเช่น:
การฝังคอเลียร์ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยฟังขนาดเล็กเข้าไปในหูเพื่อช่วยการได้ยินในกรณีผู้ที่มีปัญหาการได้ยินรุนแรง
อวัยวะเทียมและการช่วยเหลือฟื้นฟูตามความจำเป็นกับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดอวัยวะออก
การให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือทางจิตเวชหากผู้ป่วยได้รับผลกระทบทางจิตใจจากภาวะเยื่อหุ้มอักเสบ อย่างเช่นผู้ที่นอนไม่หลับ ปัสสาวะราดขณะนอนหลับ หรือกลัวแพทย์และโรงพยาบาล เป็นต้น
การป้องกันภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ภาวะเยื่อหุ้มอักเสบสามารถเกิดมาจากการติดเชื้อหลาย ๆ ประเภท ทำให้มีวัคซีนจำนวนมากที่เป็นทางเลือกป้องกัน
เด็กควรได้รับวัคซีนตามที่กำหนดไว้ โดยคุณควรปรึกษาแพทย์หาไม่มั่นใจว่าคุณหรือลูกคุณได้รับวัคซีนตามกำหนดเวลาหรือไม่
1.วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ B
วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ B เป็นวัคซีนตัวใหม่ที่ใช้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียไข้กาฬหลังอานกลุ่ม B ที่เป็นหนึ่งสาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มอักเสบในเด็กเล็ก
วัคซีนตัวนี้ถูกแนะนำให้กับเด็กทารกอายุ 8 สัปดาห์ ที่ต้องมีการฉีดโดสที่สองในช่วงอายุ 16 สัปดาห์ และต้องทำการฉีดกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งปี
2.วัคซีน 5-in-1
วัคซีน 5-in-1 หรือที่เรียกกันว่าวัคซีน DT aP/IPV/Hib ที่มีไว้เพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ และ Haemophilus influenzae type b (Hib)
Hib จะเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้น โดยวัคซีนตัวนี้จะให้กับเด็ก ณ ช่วงเวลาที่ต่างกันสามช่วงคือช่วงอายุ 8, 12, และ 16 สัปดาห์
3.วัคซีนปอดอักเสบ
วัคซีนปอดอักเสบมีไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อร้ายแรงที่มาจากแบคทีเรียปอดอักเสบ รวมไปถึงภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเช่นกัน
เด็กทารกจะได้รับวัคซีนปอดอักเสบ ณ ช่วงเวลาที่ต่างกันสามช่วงคือช่วงอายุ 8 สัปดาห์ 16 สัปดาห์ และอายุหนึ่งปี
4.วัคซีน Hib/Men C
วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ C มีไว้เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียบางประเภทที่ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้น เช่นแบคทีเรีย meningococcal group C
เด็กทารกจะได้รับวัคซีน Hib/Men C นี้ในช่วงอายุหนึ่งปี
5.วัคซีน MMR
วัคซีน MMR มีเพื่อป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน ซึ่งภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเหล่านี้
วัคซีนนี้มักจะให้แก่เด็กอายุหนึ่งปี โดยจะได้รับโดสที่สองเมื่อพวกเขามีอายุสามปีกับอีกสี่เดือน
6.วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ACWY
วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ACWY มีเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียสี่ประเภทที่สามารถก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นมา คือ meningococcal groups A, C, W และ Y
วัยรุ่นอายุประมาณ 14 ปีถูกแนะนำให้ได้รับวัคซีนประเภทนี้