การตรวจติดตามในระหว่างไตรมาสที่สองก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับไตรมาสที่หนึ่ง เช่น การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสเพื่อหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจสารบ่งชี้ต่างๆ ในเลือดเพื่อหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เป็นต้น
การตรวจติดตามก่อนคลอดในช่วงไตรมาสที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การตรวจสาร alpha-fetoprotein ในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ (Maternal serum alpha-fetoprotein (MSAFP)) และ multiple marker screening test
การตรวจคัดกรองนี้ถูกแนะนำให้ตรวจในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นกับทารก โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียเกี่ยวกับการตรวจต่างๆ ก่อนเข้ารับการตรวจที่เหมาะสมสำหรับคุณ
การตรวจค่า MSAFP จะเป็นการวัดระดับของสาร alpha-fetoprotein ในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากทารกในครรภ์ หากตรวจพบระดับของ MSAFP ผิดปกติ หมายความว่าทารกในครรภ์มีโอกาสที่จะเป็นโรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) หรือโรคความผิดปกติของหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect) เช่น spina bifida ซึ่งสามารถยืนยันผลได้ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์และการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ (amniocentesis)
เมื่อหญิงตั้งครรภ์ถูกเจาะเลือดไปตรวจหาระดับ MSAFP แล้ว เลือดนั้นจะถูกนำไปตรวจหาระดับฮอร์โมนเอสไตรออล (estriol) และฮอร์โมน hCG ด้วย เราเรียกการตรวจทั้งสามค่านี้ว่า triple test หากการตรวจนั้นมีการเพิ่ม inhibin-A เข้าไปในการตรวจด้วย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ตัวที่สี่ (quad marker) ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการตรวจพบดาวน์ซินโดรมได้ถึง 75-90% และพบภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ได้ถึง 75% (ขึ้นอยู่กับอายุของมารดา) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจด้วยวิธีนี้อาจพบผลบวกลวงได้ (แสดงผลเป็นบวก ทั้งที่จริงๆ แล้วผลเป็นลบ) ประมาณ 3-5% ของหญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจจะพบผลบวกลวงได้ ซึ่งผู้หญิงในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) screening:
การตรวจนี้เป็นการตรวจ free fetal DNA ซึ่งทำได้ทันทีหลังจากตั้งครรภ์ครบ 10 สัปดาห์ โดยจะเจาะเลือดมารดามาตรวจหาปริมาณ free fetal DNA ที่อยู่ในเลือดของมารดา โดยจะสามารถตรวจพบกลุ่มอาการดาวน์ซิมโดรมได้ถึง 99% ของการตั้งครรภ์ที่เป็นดาวน์ซินโดรมทั้งหมด และการตรวจนี้ยังใช้ในการหาความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ ด้วย
การตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasounds)
โดยทั่วไปจะแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวด์ในสัปดาห์ที่ 20 แต่ก็สามารถตรวจได้ทุกช่วงเวลาระหว่างการตั้งครรภ์ โดยการตรวจอัลตราซาวด์จะใช้สำหรับหลายกรณี ได้แก่ การคำนวณวันครบกำหนดคลอด, ตรวจสอบว่าตั้งครรภ์ลูกแฝดหรือไม่, ค้นหาภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) หรือ ทารกมีการเจริญเติบโตช้าหรือไม่ หรือ ใช้เพื่อค้นหาความผิดปกติของทารกแรกเกิด เช่น ปากแหว่ง นอกจากนี้การตรวจด้วยอัลตราซาวด์สามารถพบความผิดปกติบางอย่างที่สังสัยว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วย ซึ่งต้องได้รับการตรวจทางพันธุกรรมเพิ่มเติมต่อไป
ในระหว่างการทำการตรวจอัลตราซาวด์ แพทย์จะใช้อุปกรณ์เคลื่อนผ่านบริเวณต่างๆ ของหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผ่านคลื่นเสียงความถี่สูงลงไป ทำให้มองเห็นเป็นภาพของมดลูกและทารกในครรภ์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ใหม่ที่ถ่ายภาพเป็น 3 มิติ (three-dimensional sonograms) ซึ่งจะได้ภาพของทารกที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่เครื่องนี้ไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล/คลินิก และยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการอัลตราซาวด์แบบภาพ 3 มิติ จะดีกว่าภาพ 2 มิติในการมีส่วนช่วยให้การตั้งครรภ์มีสุขภาพดี
https://www.istockphoto.com/th/photo/ultrasound-examination-in-doctors-office-gm643140234-117371809
คัดกรองระดับน้ำตาลกลูโคส
การตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลกลูโคสมักจะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ เพื่อค้นหาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกตัวใหญ่ คลอดยาก และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับคุณและทารกในครรภ์ ในการตรวจนี้จะเป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานน้ำหวานชนิดพิเศษไปแล้ว 1 ชั่วโมง หากผลการตรวจพบว่าระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ คุณจะได้รับการตรวจเพิ่มเติม เรียกว่า glucose-tolerance test โดยจะให้คุณดื่มสารละลายกลูโคสตอนท้องว่าง และเจาะเลือดมาตรวจหลังจากนั้นทุก 2-3 ชั่วโมง
การเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ (Amniocentesis)
การเจาะน้ำคร่ำไปตรวจจะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 15-18 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการตรวจที่แนะนำให้ทำในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป, มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมมากกว่าผู้อื่น หรือ ผลการตรวจค่า MSAFP, multiple marker, หรือ cell-free DNA แล้วสงสัยว่าทารกเป็นโรคทางพันธุกรรม
กระบวนการทำคือ แพทย์จะเจาะเข็มผ่านหน้าท้องเข้าไปในบริเวณถุงน้ำคร่ำ และดูดน้ำคร่ำออกมา ซึ่งจะประกอบไปด้วยเซลล์ของทารก การตรวจนี้จะตรวจพบความผิดปกติของหลอดประสาทไม่ปิดและความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่นๆ
สำหรับอัตราของการแท้งภายหลังการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจพบว่าขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการเจาะ ซึ่งอยู่ระหว่าง 0.2-0.5% ณ สัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์ แต่การตรวจนี้สามารถพบความผิดปกติของหลอดประสาทได้ถึง 99% และเกือบ 100% ของความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อัลตราซาวด์โดยใช้คลื่นเสียงชนิด Doppler (Fetal Doppler ultrasound)
การตรวจอัลตราซาวด์โดยใช้คลื่นเสียงชนิด Doppler เป็นการตรวจเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือด
การส่องกล้องตรวจดูทารกในครรภ์ (Fetoscopy)
การส่องกล้องเพื่อตรวจดูทารกในครรภ์ จะทำโดยใช้กล้องขนาดเล็ก ซึ่งยืดหยุ่นได้ เรียกว่า fetoscope โดยสามารถตรวจพบความผิดปกติบางโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่ไม่สามารถพบได้จากการตรวจอื่นๆ เช่น การเจาะน้ำคร่ำ, อัลตราซาวด์, หรือการตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling)
แต่อย่างไรก็ตามการส่องกล้องตรวจทารกในครรภ์นี้จะมีความเสี่ยงต่อทารกและมารดา ดังนั้นการตรวจนี้จึงไม่ใช่การตรวจที่ทำในหญิงตั้งครรภ์โดยทั่วไป แต่จะแนะนำให้ทำในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์รายนั้นมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกมีความผิดปกติ