โรคมะเร็งปอดนั้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสูบบุหรี่ แต่การสูบกัญชาจะก่อให้เกิดมะเร็งปอดด้วยหรือไม่ คงไม่มีคำตอบสั้น ๆ สำหรับเรื่องนี้
ในปี 2006 วงการแพทย์มีการศึกษาพบว่าการสูบกัญชาไม่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น และยังมีข้อเสนอแนะว่าการสูบกัญชายังอาจป้องกันการเกิดมะเร็งปอดได้อีกด้วย แต่ในการศึกษาในปัจจุบันให้ผลในทางตรงกันข้าม คือพบว่าการสูบกัญชาและการเป็นโรคมะเร็งปอดมีความสัมพันธ์กัน แต่ผลยังไม่ชัดเจนมาก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จากการศึกษาพบว่าเพศชายที่สูบกัญชาและสูบบุหรี่ด้วย จะมีจำนวนคนที่เป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้นถึง 2 เท่า และยังมีอีกการศึกษาหนึ่งที่พบว่าการสูบกัญชาเป็นเวลานานจะทำให้เกิดมะเร็งปอดในเพศชายวัยกลางคน (ต่ำกว่า 55ปี) เป็นสัดส่วนกับปริมาณกัญชาที่สูบ
ผลของกัญชาต่อปอด
นักวิจัยกล่าวว่าการสูบกัญชาเป็นประจำ ทำให้เกิดการทำลายทางเดินหายใจซึ่งสามารถเห็นได้จากตาเปล่าและการดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ อีกทั้งมีรายงานถึงอาการของความผิดปกติของการหายใจ เช่น การหายใจเสียงวี้ด, การหายใจเร็ว และการไอ นั่นคือการสูบกัญชาเป็นประจำไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของของการทำงานของปอด รวมทั้งไม่ได้เพิ่มความเสียงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
เนื่องจากกัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จึงทำการทดลองได้ยาก ต่างจากการทำการทดลองกับบุหรี่ ดังนั้นการรู้เกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ของกัญชาจึงจำเป็นมาก
- พบสารก่อมะเร็งและสารที่ร่วมก่อมะเร็งที่อยู่ในควันบุหรี่ ในควันของกัญชาเช่นกัน
- การสูบกัญชาทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะก่อนโรคมะเร็งในเนื้อเยื้อปอด
- การสูบกัญชาทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดมะเร็งในแต่ละคน
ข้อสรุปคือ การสูบกัญชาแม้จะมีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งปอดได้น้อยกว่าการสูบบุหรี่ แต่ก็ควรระมัดระวังไว้ ซึ่งนอกจากมะเร็งปอดแล้ว การสูบกัญชายังสามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกในสมอง และ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในลูกของมารดารที่สูบกัญชาขณะที่ตั้งครรภ์อยู่
ความสัมพันธ์ระหว่างกัญชาและผู้ป่วยมะเร็ง
ความสัมพันธ์ระหว่างกัญชาและมะเร็งยังมีผลที่ไม่ชัดเจน บางการศึกษากล่าวว่าการสูบกัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง แต่อีกส่วนหนึ่งก็กล่าวว่าการสูบกัญชาสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้
สิ่งที่เราพอจะรู้คือการสูบกัญชาอาจมีส่วนช่วยผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้กล่าวว่า cannabinoids อาจมีประโยชน์ในการรักษาผลข้างเคียงมากมายที่เกิดจากมะเร็ง เช่น อาการเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร ปวด และ มีปัญหาในการนอน อีกทั้งจากผลภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกอันเกิดจากมะเร็ง (cancer cachexia) ซึ่งมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเสียมวลกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุการตายจากมะเร็งถึงร้อยละ 20 จึงทำให้ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับ cannabinoids มากขึ้น
การได้รับควันของกัญชาทางอ้อม (Secondhand marijuana smoke)
สำหรับฤทธิ์ของกัญชาต่อผู้ที่ได้รับควันทางอ้อม สามารถอ่านได้เพิ่มเติมในบทความต่อไปนี้ที่มีรายงานล่าสุดเกี่ยวกับผลของการได้รับควันของกัญชาทางอ้อมต่อสุขภาพและการทดลองเกี่ยวกับกัญชา